แจ้งเกิดลูก แจ้งย้ายที่ที่อยู่ลูก พ่อแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

แจ้งเกิดลูก สำหรับคุณแม่เพิ่งคลอด คือหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติสำหรับเด็กแรกเกิด โดยสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา พร้อมแฟ้มเอกสารเพื่อที่ทางโรงพยาบาลมอบหนังสือรับรองการเกิด ก็สามารถเห็บใส่แฟ้มเตรียมไปสำนักงานเขตได้เลย ทั้งนี้ โรงพยาบาลแทบทุกแห่ง เปิดบริการแจ้งเกิดลูกอย่างสะดวกสบาย แต่หากจะต้องดำเนิดการเอง คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวล เพียงแต่ต้องยื่นเรื่องให้ทันภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้นเอง

 

 

แจ้งเกิดลูก

แจ้งเกิดลูก ผู้ปกครองควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

 

หากเด็กเกิดในบ้าน

การ แจ้งเกิดลูก ในกรณีที่พ่อแม่มีอาคาร ที่มีบ้านเลขที่ รวมถึงสถานพยาบาล ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิด หรือสำนักทะเบียนที่บิดามารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด มิฉะนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจ้งเกิดลูกโดยไม่มีพ่อ มีปัญหาในอนาคตมั้ย?

 

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด
  • หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (กรณีเด็กในสถานพยาบาล)

 

หากเด็กเกิดนอกบ้าน

การ แจ้งเกิดลูก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่ได้รับหมอบหมายจาก บิดาหรือมารดา แจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิดหรือสำนักทะเบียนที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด มิฉะนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง และของบิดา มารดา
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด

ขั้นตอนการติดต่อการ แจ้งเกิดลูก

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียน
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนและลงรายการในสูติบัตรทั้ง 3 ตอน แล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับผู้แจ้ง

 

หากคุณพ่อคุณแม่แจ้งการเกิดลูก เกินกำหนด

ให้บิดา มารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่เกิดหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นอื่นที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เกิด มิฉะนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจ้งเกิดอย่างไร หากท้องไม่มีพ่อ ต้องระบุชื่อผู้ชายในใบเกิดไหม

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งและของบิดา มารดา
  • สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีชื่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็ก (ถ้ามี
  • รูปถ่ายเด็กขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  • หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด

 

ขั้นตอนการติดต่อการแจ้งเกิดเกินกำหนด

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียน
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดี ความผิด และสอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา ให้ทราบสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่บิดามารดาไม่อาจมาให้ถอยคำในการสอบสวนได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลหรือกรณีใด นายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้

 

 

แจ้งเกิดลูก

กรณีการแจ้งย้ายที่อยู่

การย้ายเข้า ผู้ปกครองจำเป็นต้องแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันแจ้งย้ายออก

 

กรณีเจ้าบ้านมาเอง

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000บาท

 

กรณีมอบหมายและผู้รับมอบหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
  • ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
  • ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”

 

กรณีเจ้าบ้านมอบหมายและผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่2
  • ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”
  • หนังสือมอบหมายให้มาดำเนินการแจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้าน

 

ขั้นตอนการติดต่อการแจ้งย้ายเข้า

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักต่อนายทะเบียนท้องที่ ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน และมอบสำเนาทะเบียนบ้าน และ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องต้องรู้ รวมเทคนิคคนคลอดลูกง่าย แม่ท้องอยากคลอดลูกง่ายทำไงดี?

กรณีการแจ้งย้ายออก

หากบุคคลใด ย้ายออกจากบ้านหรืออาคารที่มีบ้านเลขที่ ให้เจ้าบ้านนั้นแจ้งย้ายผู้นั้นออกภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

กรณีเจ้าบ้านมาเอง

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

 

กรณีเจ้าบ้านมอบหมายให้กระทำ

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะที่ได้รับมอบหมาย
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน

 

กรณีเจ้าบ้านมอบหมายและผู้รับมอบหมายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะได้รับมอบหมาย
  • หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน

 

แจ้งเกิดลูก

การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

หากผู้ประสงค์จะย้ายที่อยู่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการแจ้งย้ายออกจากสำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่อาจติดต่อแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนที่จะย้ายเข้าไปโดยให้ผู้ประสงค์แจ้งด้วยตนเอง

 

หลักฐานที่ใช้

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน (กรณีเจ้าบ้านไม่ได้มาด้วยตนเอง)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้ายและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
  • การย้ายที่อยู่ของคนต่างด้าวต้องมีการแจ้งย้ายที่อยู่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ (สน.) ด้วย ทั้งกรณีย้ายเข้าและย้ายออก

 

การแจ้งย้ายบุคคลเข้าทะเบียนกลางของสำนักทะเบียน

บุคคลใดออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินกว่า 180 วัน ถ้าไม่ทราบว่าบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่ใดหรือเป็นใคร ให้เจ้าบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้าน โดยนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน แจ้งย้ายชื่อบุคคลไปเข้าทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

 

การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง

ให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายออกด้วยตนเอง กรณีที่ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้แจ้งย้ายออกแทน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานแสดงตัวของผู้แจ้ง สูติบัตร
  • คำสั่งศาล หรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีแจ้งย้ายให้ผู้เยาว์)
  • พยานหรือบุคคลที่เชื่อถือได้

 

 

บทความที่น่าสนใจ :

เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไร? ฝากครรภ์ที่ไหนดี?

ฤกษ์คลอด 2564 ฤกษ์ดีผ่าคลอด ฤกษ์คลอดบุตร ปีนี้คลอดวันไหนถึงจะดี? มาดูกัน!

500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2564 ชื่อเล่นเพราะๆ ไม่ซ้ำใคร

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเกิดลูก ได้ที่นี่!

แจ้งเกิดลูก ต้องไปที่ไหน และใช้เอกสารอะไรบ้างคะ

ที่มา : 1 , 2

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!