100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 13 อุ้มลูกอย่างไร
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 13 อุ้มลูกอย่างไร
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่ชิน เพราะไม่รู้ว่าจะต้อง อุ้มลูกอย่างไร ถึงจะถูกวิธีและปลอดภัย แล้ว อุ้มลูกอย่างไร เสี่ยงอันตรายแก่ลูก
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นชินกับการอุ้มเจ้าตัวน้อย และท่าอุ้มก็มีหลากหลายท่า ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับใช้ได้ตามความถนัด ในการอุ้มช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องระวังนิดนึงนะคะ เพราะลูกยังบอบบาง รวมถึงในช่วงแรก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องระมัดระวังในการอุ้มเป็นพิเศษ
ขั้นตอนในการอุ้มลูก
- ล้างมือให้สะอาดก่อนอุ้มลูก เพราะระบบคุ้มกันของเด็กยังน้อยอยู่ เชื้อโรคที่อยู่ในมือคุณพ่อคุณแม่ อาจจะทำให้เด็กป่วยได้
- ไม่ต้องเกร็ง คุณพ่อคุณแม่ พยายามอุ้มท่าที่สบายที่สุด เพราะถ้าจัดท่าที่ไม่สบาย จะทำให้ไม่มั่นใจเวลาอุ้ม
- ประคองคอเด็กตอนอุ้ม เวลาที่คุณพ่อคุณแม่อุ้มต้องประคองศีรษะของเด็กไว้ เพราะศีรษะของทารกเด็กแรกเกิดจะมีน้ำหนักมากที่สุด และ บอบบางกว่าส่วนอื่น ๆ
- หาท่าอุ้มที่ถนัด เพราะท่าอุ้มเด็กไม่ตายตัว คุณพ่อคุณแม่ สามารถอุ้มท่าไหนก็ได้ที่รู้สึกว่าสบายและไม่เกร็ง และจะต้องประคองคอและศีรษะอยู่เสมอ
ท่าอุ้มเด็ก
- ท่าอุ้มไกวเปล
ท่าอุ้มลูกไกวเปล เป็นท่าที่นิยมใช้ และเป็นท่าที่ใช้ให้นม และกล่อมลูกให้หลับ
วิธีอุ้มท่านี้ ลูกนอนอยู่ให้ใช้มือข้างหนึ่งช้อนจับคอลูก แล้วสอดแขนอีกข้างให้ศีรษะของลูกอยู่ตรงข้อศอก ส่วนมือข้างที่จับคอให้เอามารองก้นและสะโพกของลูกเอาไว้ ท่าอุ้มลูกนี้จะทำให้ลูกหลับสบาย และยังสร้างสายสัมพันธ์ผ่านการสบตากับลูกได้อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : อุ้มลูกให้ถูกท่า ทำอย่างไร / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 62
- ท่าอุ้มพาดบ่า
ถือเป็นท่าที่สบายกับลูกที่สุด และยังสร้างความอบอุ่นให้ลูกได้ เพราะลูกจะสัมผัสเสียงหัวใจของคุณแม่
วิธีอุ้มท่านี้ ให้ศีรษะของลูกน้อยพาดพอดีกับไหล่ โดยหันหน้าออกจากตัวแม่ มือข้างหนึ่งให้ประคองก้นลูก ส่วนอีกข้างประคองศีรษะเอาไว้ คุณแม่จะอุ้มลูกไป ร้องเพลงกล่อมไปก็ได้บรรยากาศที่ดีไปอีกแบบ
- ท่าอุ้มนอนคว่ำ
เป็นท่าที่วางลูกคว่ำบนแขน เหมาะกับพ่อแม่ที่แข็งแรง หากคุณพ่อคุณแม่แขนเล็กเกินไป อาจจะทำให้ไม่เหมาะกับการใช้ท่าอุ้มท่านี้ เพราะจะทำให้ลูกนอนทับกระดูก อาจจะทำให้ลูกเจ็บหรือไม่สบายตัว
วิธีอุ้มท่านี้ ให้เอาลูกพาดลงบนแขน โดยให้ศีรษะอยู่ใกล้ ๆ ข้อพับศอก แขนและขาให้ห้อยลง ส่วนมืออีกข้างของคุณพ่อคุณแม่ให้จับที่หลัง เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย การอุ้มลูกในท่านี้ จะช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย และผ่อนคลายมากขึ้น และยังช่วยให้ลูกเรอ ระบายลมในท้องได้ดีอีกด้วย
- ท่าอุ้มวางตัก
เป็นท่าที่เหมาะแก่การคุยเล่นกับลูก
วิธีอุ้มท่านี้ ให้พ่อแม่วางลูกบนหน้าขาที่ชิดกัน แล้วเอามือขนาบข้างลำตัวของลูกไว้ เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย อาจจะต้องระวังเป็นพิเศษถ้าลูกดิ้นแรงเวลาหัวเราะ แต่ข้อดี ของท่านี้ก็ช่วยให้เขาได้เห็นหน้าพ่อกับแม่ พ่อแม่ก็จะได้พูดคุยเล่นกับลูกน้อย เพื่อสานสัมพันธ์รัก นอกจากนี้ ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้ว่า ใครคือคนที่จะทำให้เขารู้สึกปลอดภัยอีกด้วย
- ท่าอุ้มเข้าเอว
ถือเป็นท่าฮิตที่คุณแม่ชอบอุ้ม แต่การอุ้มท่านี้ลูกจะต้องคอแข็งแล้วนะคะ ท่านี้จะเหมาะกับลูกที่อายุประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ จะต้องสังเกตร่างกายของลูกก่อน
วิธีอุ้มท่านี้ ให้ขาทั้งสองข้างของลูก ขนาบกับสะโพกของคุณพ่อคุณแม่ ส่วนมืออีกข้างจับหลังของลูกไว้ เพื่อไม่ให้หงายหลัง
- ท่านั่งเก้าอี้
ท่านี้จะเหมาะแก่การอุ้มไปเดินเล่น เพราะจะช่วยให้ลูกได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เป็นการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นได้เป็นอย่างดี ท่านี้จะเหมาะกับลูกที่อายุประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไปเช่นกันค่ะ
วิธีอุ้มท่านี้ ให้พ่อแม่ใช้มือหนึ่งประคองก้น ส่วนอีกมือโอบรัดตัวลูกไว้ แต่จะบอกไว้ก่อนว่าท่าอุ้มลูกแบบนี้อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เมื่อยได้ แนะนำว่าให้เปลี่ยนท่าอุ้มบ่อย ๆ
เคล็ดลับการอุ้มลูก
- การอุ้มแบบเนื้อแนบเนื้อ เป็นวิธีสานสัมพันธ์ ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูก อีกทั้งยังช่วยให้เด็กรู้สึกถึงความอบอุ่น
- หากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่มั่นใจ ให้ลองเริ่มจากการอุ้มบนตัก หรือ ขณะนั่งก่อน ท่านี้จะเหมาะกับคนที่ไม่มีแรงอุ้มมากเท่าไหร่นัก
- สามารถใช้เป้อุ้มเด็ก ในการช่วยอุ้มได้ เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่ สามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วยได้ หรือใช้หมอนรองคอเวลาอุ้มเพื่อช่วยลดอาการเมื่อยลงได้
- ไม่ทำอาหาร หรือกินของร้อนเวลาที่อุ้มลูกอยู่ด้วย
- เมื่อลงบัดไดต้องอุ้มลูกด้วยสองมือเสมอ
- ห้ามเขย่าตัวเด็ก เพราะจะทำให้เกิดเลือดออกในสมอง หรืออาจะทำให้เสียชีวิตได้
ท่าอุ้มไหน อันตรายต่อลูก
- อุ้มไม่ได้ประคองคอและหลัง ในวัย 0-3 เดือน เนื่องจาก เด็กยังมีกล้ามเนื้อคอและหลังที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ การที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ประคองคอ อาจจะทำให้กล้ามเนื้อคอของลูกอักเสบได้
- อุ้มไม่ประคองหลัง ในวัย 3-6 เดือน เด็กวัยนี้ถึงจะชันคอได้ แต่กล้ามเนื้อหลังยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้กล้ามเนื้อหลังของลูกอักเสบได้
- ไม่อุ้มเขย่าหรืออุ้มโยน เพราะจะทำให้เลือดออกในสมองของลูกได้
- อุ้มท่าที่คอพับ หรือหงายเกินไป การที่อุ้มแบบนี้ จะทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก ควรสังเกตว่า คอลูกพับลงมาติดกับหน้าอกหรือเปล่า หรือว่าอุ้มแล้วแหงนหน้าจนเกินไป
- อุ้มเข้าเอวเป็นเวลานาน การที่คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกท่านี้บ่อย ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณพ่อคุณแม่อักเสบได้ และลูกก็จะเห็นมุมสภาพแวดล้อม แค่มุมเดิน ๆ ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของลูก
บทความที่เกี่ยวข้อง : เป้อุ้มเด็ก เลือกอย่างไรดี? แบบไหนดี? ตัวช่วยคุณแม่ในการอุ้มลูก
ที่มา : (online)