X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องเช็กด่วน! ถ้าไม่อยากต้องเสียลูก

บทความ 5 นาที
10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องเช็กด่วน! ถ้าไม่อยากต้องเสียลูก

คุณแม่ท้องทราบหรือไม่ว่า ภาวะคลอดก่อนกำหนดมีอันตรายอย่างไร เรามาดู 10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ไตรมาสสุดท้ายควรระวังและหมั่นสังเกตร่างกายให้ดี ว่ากำลังตกอยู่ในภาวะดังกล่าวหรือไม่ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

 

10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม

ภาวะคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor)  ส่วนใหญ่จะเกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์หรือท้องได้ประมาณ 9 เดือนเศษ ระยะนี้อวัยวะต่าง ๆ ของทารกน้อยครบแล้ว จึงมีคำถามว่า ถ้าอวัยวะครบแล้ว ทำไมการท้องครบ 9 เดือนจึงเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดอีก เราจะเห็นได้ว่า มาคุณแม่หลายท่านที่คลอดตอน 7 เดือนบ้าง 8 เดือนบ้าง หรือแม้แต่ 36 สัปดาห์ก็ยังเรียกว่าคลอดก่อนกำหนด นั่นเป็นเพราะ อวัยวะที่ครบสมบูรณ์ยังทำงานไม่ดีพอ ซึ่งภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด สามารถสังเกตได้จากสัญญาณดังต่อไปนี้

 

1. ภาวะของมดลูกยืดขยายตัวมากเกินไป

คุณแม่คงทราบดีอยู่ว่า “มดลูก” เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งในร่างกายของผู้หญิง เวลาที่มดลูกยืดตัวออก จะทำให้เกิดการหดตัว และอาการเกร็ง บีบรัด ของมดลูกทำงานผิดปกติ ซึ่งสาเหตุนี้อาจทำให้มดลูกเปิดและเสี่ยงต่อคลอดลูกก่อนกำหนดได้ โดยปัจจัยที่ทำให้มดลูกเกิดการหดตัวนั้นมีหลายสาเหตุ ได้แก่ น้ำคร่ำ ที่มีมากเกินไป เนื้องอกในผนังมดลูก และขนาดของทารกในครรภ์ที่ใหญ่เกินไป

 

2. บริเวณปากมดลูกสั้น

ภาวะปาดมลลูกสั้น ๆ หมายถึง บริเวณปาดมดลูกมีหูรูดน้อย มีขนาดความยาวของปากหูรูดประมาณ 2 – 2.5 เซนติเมตร อาจทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่มีหูรูดยาว ความกระชับยืดหยุดจะรับน้ำหนักประโอบอุ้มทารกได้ดีกว่า ซึ่งหากอยากทราบว่า หูรูดยาวหรือสั้น คุณหมอสามารถบอกได้จากการอัลตราซาวนด์ตรวจครรภ์ตามปกติ

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

3. รูปร่างของมดลูกผิดปกติ

การที่มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดลูกก่อนกำหนดได้ เช่น รูปทรงของมดลูกผิดปกติเป็นทรงคล้ายหัวใจ หรือมดลูกพิการตั้งแต่กำเนิดจนมีภาวะโพรงมดลูกและเนื้อเยื่อผิดปกติ กั้นให้เกิดมีโพรงมดลูก 2 โพรง อีกทั้งเนื้องอกภายใน อาจทำให้มีผนังกั้นกลางโพรงมดลูกหรือจนทารกมีความเจริญเติบโตอยู่ข้างเดียว เป็นต้น

 

4. การตั้งครรภ์ติดต่อกัน

การตั้งครรภ์ติดต่อกัน หมายถึง การที่คุณแม่เพิ่งคลอดลูกได้ไม่นานก็ตั้งท้องลูกคนต่อไปแทบจะทันที ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดได้ แต่ทั้งนี้การมีลูกหัวปีท้ายปี ก็ใช่ว่าจะเสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดทุกคน ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพและความแข็งแรงของมดลูก เพียงแค่คุณแม่ที่ท้องติดต่อกันแบบไม่ได้พักมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าคุณแม่ที่ทิ้งระยะตั้งท้องลูกคนต่อมา

5. เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนด

หากคุณแม่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์ เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ยิ่งมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนเวลาอันควรสูงมาก เนื่องจาก ภาวะมดลูกภายในร่างกายอาจไม่แข็งแรง หากคุณหมอพบว่า มารดาเคยมีประวัติดังกล่าว ก็จะทำการฉีดยาเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดให้ค่ะ

 

6. มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์

ภาวะเลือดออก หรือมูกเลือดออกขณะตั้งครรภ์มีหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสัญญาณอันตรายจากการติดเชื้อภายใน ดังนั้น หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะการที่มีเลือดออก โดยที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด หมายถึงร่างกายเกิดการกระตุ้นการทำงานของมดลูกมากเกินไป จนมดลูกบีบรัดตัว เร่งให้คลอดลูกก่อนกำหนดได้

 

7. สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์

การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมาก เพราะเหมือนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ทั้งยังส่งผลเสียต่อทารกที่อาจเกิดมาพิการ หรือเสียชีวิตในครรภ์

 

10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด 10

 

8. เกิดการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์จะทราบดีว่าร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นทางทันตกรรม หรือทางเดินปัสสาวะ หรือติดเชื้อในกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการคลอดลูกก่อนกำหนดได้ ดังนั้น การฝากครรภ์ การตรวจครรภ์ หรือแม้แต่การตรวจสุขภาพช่องปาก เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจให้มาก ๆ

 

9. น้ำหนักตัวน้อยเกินไป

น้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ น้ำหนักคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นควรอยู่ที่ 10-15 กิโลกรัม เช่น น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์อยู่ที่ 50 กิโลกรัม น้ำหนักคุณแม่รวมทุกไตรมาสแล้วควรอยู่ที่ประมาณ 60-65 กิโลกรัม ไม่ควรน้อยกว่านี้ หากก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวที่น้อยเกินไป อาจเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น

 

10. การตั้งครรภ์โดยวิธีวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันคู่สมรสที่มีบุตรยาก มักจะพึ่งพาการใช้วิทยาศาสตร์ในการมีลูก ซึ่งมีความเสี่ยงคลอดก่อน ครบอายุการ ตั้งครรภ์ เพราะจากการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือใช้วิธีทางการแพทย์ จะยิ่งมีแนวโน้มที่ทำให้คุณแม่มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น และอาจไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้

บทความที่เกี่ยวข้อง: เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อันตรายต่อโอกาสรอดของลูก

 

การคลอดกำหนดเป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนคงเป็นกังวล เพราะหากคลอดทารกในช่วงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28-37 สัปดาห์ นั้นหมายความว่า คุณแม่ต้องเสี่ยงแท้งลูกอย่างแน่นอน เนื่องจากในทางการแพทย์ถือว่าเด็กมีโอกาสน้อยมากและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แต่ถ้าคุณแม่คลอดก่อนกำหนดในช่วงอายุครรภ์ที่มากขึ้น โอกาสที่ทารกจะรอดชีวิตก็มากขึ้นตาม ซึ่งมีรายละเอียดตามอายุครรภ์ ดังต่อไปนี้

 

  • 22-23 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 17%
  • 24-25 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 40-50%
  • 26-28 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 80-90%
  • 29-31 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 90-95%
  • 32-33 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 95%
  • 34 สัปดาห์ขึ้นไป : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 95-98%

 

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

อันตรายของทารกคลอดก่อนกำหนด

  • ปอดมีปัญหาเรื่องขาดสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เกิดภาวะถุงลมแฟบ เด็กจะหายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อยง่าย เสี่ยงต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • เกิดภาวะเส้นเลือดแดงที่ส่งออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายกับเลี้ยงปอดนั้นถูกเปิด ทำให้ปอดทำงานหนักเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
  • สมองเล็กกว่าเด็กปกติ มีน้ำหนักตัวเพียง 1,500 กรัม หรือเด็กบางคนไม่ถึง 1,000 กรัม เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดเปราะบาง
  • ลำไส้มีความบกพร่องในการดูดซึมอาหาร คุณแม่อาจต้องให้นมทีละน้อย บางรายอาจจะต้องพึ่งการต่อท่ออาหารทางเส้นเลือดดำ
  • ทารกอาจมีจอประสาทตาที่ไม่สมบูรณ์ เสี่ยงต่อการตาบอดได้ รวมไปถึง หู ที่เสี่ยงต่อการหูหนวกอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าทารกทั่วไปที่เกิดมาปกติ เนื่องจากภูมิคุ้มกันไม่อยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์นัก ทั้งนี้อยากให้คุณแม่คอยสังเกตอาการตัวเองและรักษาตัวให้ดีค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มีลูกคนต่อไปเมื่อไหร่ดี พี่-น้อง ควรมีอายุห่างกันกี่ปีถึงจะดีที่สุด?

ความเชื่อคนท้อง จริงหรือมั่วกันแน่? ไขข้อสงสัยเรื่องอาหารที่คุณแม่ห้ามทานตอนท้อง

เชื้อราในช่องคลอด อันตรายกับลูกในท้องไหม ตกขาวมีแบบไหนบ้าง

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด ได้ที่นี่ !

คลอดก่อนกำหนด อาการแบบไหนที่บ่งบอกบ้างคะ ว่ากำลังจะคลอดก่อนกำหนด

ที่มา : 1, 2, 3 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • 10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องเช็กด่วน! ถ้าไม่อยากต้องเสียลูก
แชร์ :
  • 8 วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรได้บ้าง? ให้ลูกปลอดภัย

    8 วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรได้บ้าง? ให้ลูกปลอดภัย

  • วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

    วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • 8 วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรได้บ้าง? ให้ลูกปลอดภัย

    8 วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรได้บ้าง? ให้ลูกปลอดภัย

  • วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

    วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว