theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก

บทความ 3 นาที
แชร์ :
•••
โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก

โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม และอันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก และเราจะลดความพิการของลูกน้อย ให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงได้อย่างไร

โฟลิก คืออะไร? ต่างกับโฟเลตอย่างไร

โฟลิก เป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามินบี ที่ละลายได้ในน้ำ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนท้องและลูกในครรภ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้หญิงก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ ควรเตรียมความพร้อมของร่างกายด้วยการกินอาหารที่มีโฟลิก เป็นเวลาอย่างน้อย 1 – 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ บางครั้งเราจะได้ยินคำว่า โฟเลต ซึ่ง กรดโฟลิก และโฟเลต นั้นคือวิตามินตัวเดียวกัน (วิตามินบี9) แตกต่างกันตรงที่ กรดโฟลิก คือชื่อเรียกของวิตามินบี9 ที่ได้มาจากการที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น แต่ โฟเลต คือชื่อเรียกของวิตามินบี9 ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาตินั่นเองครับ

ประโยชน์ของกรดโฟลิก

การรับประทาน โฟเลต หรือ กรดโฟลิก จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของความพิการแต่กำเนิดได้ร้อยละ 20-50 เช่น

  • ลดโอกาสการเกิด และการเกิดซ้ำความพิการแต่กำเนิดของหลอดประสาท ได้ร้อยละ 70
  • ลดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ได้ร้อยละ 25-50
  • ลดความผิดปกติของแขน ขา ได้ร้อยละ 50
  • ลดความพิการของระบบทางเดินปัสสาวะและโรคไม่มีรูทวารหนัก ได้ประมาณ 1 ใน 3
  • ลดโอกาสการเกิดปากแหว่ง ได้ประมาณ 1 ใน 3

และนอกจากนั้นยังช่วยลดการเกิดภาวะทารกในครรภ์โตช้า และโรคออทิสติก (autism) ได้อีกด้วยนะครับ

โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม

โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม

โฟลิก ควรกินเยอะแค่ไหน

ทั้งโฟเลต และ กรดโฟลิก เมื่อถูกรับประทานเข้าร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นสาร tetrahydrofolate ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้าง DNA และเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ในคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไปแนะนำให้รับประทานโฟเลตหรือกรดโฟลิกในปริมาณ 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 – 3 เดือนและทานต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ แต่ในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูงบางรายอาจต้องการในปริมาณที่มากขึ้นถึง 4 มิลลิกรัมต่อวัน

อันตรายเมื่อแม่ท้องขาด โฟลิก

สำหรับแม่ท้อง หากขาดกรดโฟลิก หรือโฟเลต จะมีอาการเช่น รู้สึกสับสน ความจำไม่ดี ซึมเศร้า มีโอกาสเกิดแผลในช่องปากหรือแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย ปวดศีรษะ และใจสั่น เป็นต้น นอกจากนั้นยังกระทบต่อการสร้างเซลล์ประสาทของทารกในครรภ์ เกิดความพิการทางสมอง ภาวะรุนแรงที่สุด คือทารกไม่มีกะโหลกและสมอง สมองทั้งหมดขาดหายไป (Anencephaly) ที่พบบ่อยที่สุด คือกระดูกสันหลังไม่ยื่นมาเชื่อมเป็นวงแหวนเพื่อโอบล้อมไขสันหลัง ทำให้ของเหลวในไขสันหลังดันช่องกระดูกสันหลังที่ปิดไม่สนิทนี้โป่งออกมา เรียกว่า Spina Bifida ซึ่งความพิการทางสมองนี้ เกิดจากการขาดกรดโฟลิก ในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ครับ

กรดโฟลิก หรือโฟเลต หาได้จากไหน

นอกจาก กรดโฟลิก ที่หมอให้แล้ว ในบ้านเรามีอาหารที่มีกรดโฟลิก หรือ โฟเลต ให้เลือกกินมากมาย เพราะ กรดโฟลิก หรือโฟเลต นั้น มีอยู่ในผักใบเขียวเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า ปวยเล้ง กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตา นอกจากนั้นยังมีแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย กรดโฟลิก หรือ โฟเลต อีกมากมายอย่างเช่น ปลา นมสด ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ และผลไม้ตระกูลส้ม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผักสดและผลไม้จะมีปริมาณโฟลิกสูง แต่ถ้าเก็บไว้นานหรืออยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้คุณค่าของสารอาหารลดลง รวมถึงการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนนาน ๆ หรืออาหารที่ปรุงไว้นานแล้ว จะทำให้ กรดโฟลิก สูญสลายได้ง่าย ดังนั้นจึงควรกินแบบสด ๆ หรือกินทันทีที่ปรุงเสร็จใหม่ หรือใช้เวลาในการปรุงสั้น ที่สำคัญลองปรึกษาคุณหมอ เพื่อวางแผนหรือเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้ได้ครรภ์คุณภาพและมีความแข็งแรงทั้งคุณแม่และลูกน้อยจะดีที่สุดนะครับ


ที่มา redcross, ppat.or.th, haamor.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง ช่วยคุณแม่รับมืออาการผิดปกติช่วงตั้งครรภ์แบบได้ผล

อาการคนท้องระยะแรก เกิดอะไรขึ้นบ้าง เดือนแรกที่ตั้งครรภ์อาการเป็นอย่างไร

ไตรเฟอร์ดีน 150 (Triferdine 150) คือยาอะไร ทำไมต้องกินตอนตั้งครรภ์

parenttown

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก
แชร์ :
•••
  • ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

    ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

  • โฟเลต คืออะไร ทำไมคนท้องถึงควรกิน อาหารที่มีโฟเลตสูง มีอะไรบ้าง

    โฟเลต คืออะไร ทำไมคนท้องถึงควรกิน อาหารที่มีโฟเลตสูง มีอะไรบ้าง

  • นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

    นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

app info
get app banner
  • ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

    ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

  • โฟเลต คืออะไร ทำไมคนท้องถึงควรกิน อาหารที่มีโฟเลตสูง มีอะไรบ้าง

    โฟเลต คืออะไร ทำไมคนท้องถึงควรกิน อาหารที่มีโฟเลตสูง มีอะไรบ้าง

  • นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

    นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป