theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

แพทย์เตือน! อาหารเสริมทารกที่ควรหลีกเลี่ยง

บทความ 3 นาที
แชร์ :
•••
แพทย์เตือน! อาหารเสริมทารกที่ควรหลีกเลี่ยง

เมื่อเจ้าตัวน้อยเข้าสู่วัยเริ่มหม่ำอาหารเสริม มาดูกันว่าอาหารอะไรบ้างที่เหมาะกับทารกและอาหารแบบไหนที่แพทย์ไม่แนะนำ

อะโวคาโด

อโวคาโด

ภาพประกอบ: pixabay

พ่อแม่หันมาเลือกอะโวคาโดเป็นอาหารเสริมสำหรับวัยทารกมากขึ้น เมื่อได้รู้ว่าอะโวคาโดเป็นซูเปอร์ฟู้ดที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากมาย ไม่เฉพาะแต่เบบี๋เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ใหญ่ด้วย เนื่องจากอะโวคาโดอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ไฟเบอร์ ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และยังดีต่อหัวใจอีกด้วย

อะโวคาโดสามารถนำมาบดให้ละเอียดด้วยส้อม หรือหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าสำหรับทารกในวัย 8-9 เดือน เพื่อให้ลูกน้อยสนุกกับการเรียนรู้ที่จะหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเอง ก็เป็นความคิดที่ดีเช่นกัน

คุณหมอ Altmann ยังแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมกล้องถ่ายรูปให้พร้อม เพื่อเก็บภาพปฏิกิริยาเมื่อเจ้าตัวน้อยลิ้มลองอาหารเป็นครั้งแรกเอาไว้ดูตอนโตด้วยนะคะ

เนยถั่ว

เนยถั่ว

ข้าวโอ๊ต กล้วย และเนยถั่ว (ภาพประกอบ: pixabay)

คุณหมอ Altmann แนะนำว่า หากคนในครอบครัวไม่มีประวัติแพ้ถั่ว สามารถให้เจ้าตัวน้อยเริ่มกินถั่วได้เมื่ออายุ 6-7 เดือน

เนยถั่ว ไม่ใช่แค่อร่อยและสะดวก แต่ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะเนยถั่วอุดมไปด้วยโปรตีนจากพืช ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และวิตามินอี

คุณแม่อาจเริ่มให้ลูกกินเนยถั่วโดยละลายเนยถั่วหนึ่งช้อนชาลงในข้าวโอ๊ต ธัญพืชสำหรับทารกหนึ่งออนซ์

เมื่อเจ้าตัวน้อยอายุมากกว่า 8 เดือนจึงเริ่มให้ทาเนยถั่วลงบนขนมปัง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเนยถั่วจะมีเนื้อเนียน นุ่ม แต่ก็ฝืดคอและกลืนยากสำหรับเด็กเล็ก ดังนั้นควรทาแต่น้อย เพื่อป้องกันการติดคอค่ะ

ปลา

อาหารเสริม ปลา

ปลาแซลมอลปั่นกับบร็อคโคลี (ภาพประกอบ: pixabay)

เด็กจำนวนมากที่ไม่ได้เริ่มกินปลาตั้งแต่แรก ๆ มักลงเอยด้วยการไม่ชอบกินปลาเมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างมาก เพราะปลานั้นเป็นอาหารที่ดีต่อร่างกายจริง ๆ

ปลานั้นอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมองและตา คุณหมอ Altmann แนะนำว่า ปลาแซลมอนมีประโยชน์ต่อทารกที่สุด เพราะปลาแซลมอนเป็นแหล่งโปรตีน วิตามินดี และโอเม้กา-3 นอกจากนี้ ปลาแซลมอนยังมีปริมาณสารปรอทน้อยเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ

แต่คุณหมอกำชับว่า ในขั้นตอนการเตรียมอาหารที่ทำจากปลาแซลมอนนั้น  ต้องสะอาดและปรุงสุกเสมอ

สามารถนำปลาแซลมอนมาบดให้ละเอียดด้วยส้อม หรือเติมน้ำ เติมนมแม่ หรือน้ำซุปผัก เพื่อให้กลืนง่ายขึ้นก็ได้

คุณหมอ Altmann เล่าว่า ลูกชายของเธอในวัย 7 เดือนชอบกินปลาแซลมอนบดกับมันฝรั่งมาก คุณแม่อาจลองผสมผักสีเขียวอย่างบร็อคโคลีลงไปก็ได้เช่นกัน

อยากรู้แล้วใช่ไหมว่า แล้วอาหารอะไรที่ทารกควรหลีกเลี่ยง 

คุณอาจแปลกใจที่ได้รู้ว่าอาหารที่ใคร ๆ ก็ซื้อให้ลูกกิน จะเป็นอันตรายต่อเจ้าตัวน้อย คุณหมอ Altmann เตือนพ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหาร 2 ชนิด ต่อไปนี้

ซีเรียลที่ทำมาจากข้าวขาว

ซีเรียล

Dr. Altmann แนะนำให้เลือก ข้าวกล้อง หรือ ควินัวแทน (ภาพประกอบ: Daily Mom)

คุณแม่อาจแปลกใจว่าซีเรียลนั้นเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่คุณแม่มักจะซื้อหามาป้อนให้เจ้าตัวน้อย เพื่อเสริมให้ลูกได้คุณค่าอาหารที่ครบถ้วน แล้วทำไมคุณหมอถึงไม่แนะนำ

เพราะคุณหมอเชื่อว่ามันเป็นตัวเลือกที่แย่ เพราะนอกเหนือจากความจริงที่ว่ามันไม่มีสารอาหารหรือรสชาติใด ๆ การบริโภคซีเรียลยังเป็นการเริ่มต้นนิสัยการรับประทานที่ไม่ดีให้แก่ทารกอีกด้วย และแม้ว่ามันจะมีทั้งเหล็กและสังกะสี แต่มันก็ยังคงไม่มีคุณค่าทางโภชนาการมากเท่ากับการบริโภคเนื้อสัตว์อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังเชื่อว่า ซีเรียลควรจะเป็นอาหารเสริมอย่างแรกของลูกน้อยแล้วละก็ ขอให้เลือกเป็นข้าวกล้องแทนข้าวขาวค่ะ

ข้าวกล้องไม่ได้แค่มีสารอาหารมากกว่า แต่การเริ่มต้นด้วยข้าวกล้อง (หรือควินัว) ยังทำให้ทารกคุ้นเคยกับรสชาติอาหารเพื่อสุขภาพเมื่อโตขึ้นอีกด้วย

บทความแนะนำ เมนูอร่อยจาก “ควินัว” ซุปเปอร์ฟู้ดสำหรับลูกรัก

ทั้งนี้ ทารกบางคนอาจท้องเสียเมื่อรับประทานข้าวกล้อง ดังนั้นคุณแม่ควรสังเกตปฏิกิริยาทางร่างกายของลูกที่มีต่ออาหารแต่ละชนิด โดยดูจากการขับถ่ายของลูก เป็นต้น

น้ำผลไม้

น้ำผลไม้

ภาพประกอบ: dreamstime

คำถามที่คุณหมอมักพบเป็นประจำคือ เมื่อไหร่ถึงจะให้ลูกกินน้ำผลไม้ได้?

คำตอบของคุณหมอคือ “ไม่ควรกินเลย”

คำตอบข้างต้นอาจทำให้คุณแม่แปลกใจอีกแล้วใช่ไหมคะ เนื่องจากคุณหมอเชื่อว่า การให้เจ้าตัวน้อยทานน้ำผลไม้เป็นการสร้างนิสัยการกินที่ไม่ดีต่อทารก เพราะอาจทำให้เจ้าตัวน้อยติดหวานได้ แม้น้ำผลไม้คั้นสดจะไม่ได้ผสมน้ำตาล แต่ก็มีน้ำตาลธรรมชาติอยู่ในตัวเองจำนวนมาก

การกินผลไม้เป็นลูก ๆ นั้นจะได้ไฟเบอร์ ซึ่งช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ต่างจากน้ำผลไม้ไม่มีกากใยที่ให้ไฟเบอร์ จึงเท่ากับว่าเจ้าตัวน้อยกินน้ำตาลเข้าไปเต็ม ๆ เมื่อเทียบกับการกินผลไม้เป็นลูกจะได้รับน้ำตาลน้อยกว่า

ถ้าอย่างนั้น ทารกควรดื่มอะไร?

คำตอบคือ น้ำเปล่าค่ะ

คุณหมอ Altmann แนะนำให้ทารกเริ่มดื่มน้ำเปล่าหลังอายุ 6 เดือน การดื่มน้ำมาก ๆ เป็นการฝึกนิสัยที่ดีต่อสุขภาพก่อนที่เจ้าตัวน้อยได้ตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่วัย 1 ขวบ

คุณแม่เริ่มอาหารเสริมให้ลูกน้อยอย่างไรบ้าง แบ่งปันประสบการณ์ให้แก่คุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

วิธีเลือกผลไม้สำหรับวัยเริ่มอาหารเสริม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • แพทย์เตือน! อาหารเสริมทารกที่ควรหลีกเลี่ยง
แชร์ :
•••
  • ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 10 คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ชีวิตรักแย่ลง!

    10 คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ชีวิตรักแย่ลง!

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

app info
get app banner
  • ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 10 คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ชีวิตรักแย่ลง!

    10 คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ชีวิตรักแย่ลง!

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป