theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

ดูเหมือนว่าโลกทั้งใบตอนนี้เป็น “เบ้าหลอมทางวัฒนธรรม” ไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองไทยของเรา ถึงตอนนี้ไม่จำเป็นอีกต่อไปที่จะแบ่งแยกสัญชาติ ทั้งอาชีพที่เราเลือก เป้าหมายในชีวิต รวมถึงคนที่เรารักล้วนเป็นเหตุผลทำให้เราได้ไปใช้ชีวิตต่างบ้านต่างเมือง และทำให้เราพบว่าการเลี้ยงลูกให้เป็น เด็กสองภาษา (ให้ได้ในระดับหนึ่ง) กลายเป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมากกว่าที่เคย

เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

ในปัจจุบันการเรียนภาษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับ เด็กๆยุคใหม่ เพราะ การรู้ภาษาต่างประเทศ ( Foreign Language ) มากกว่าภาษาแม่  ( Mother tongue , Native language)   เป็นการพาลูกๆ สู่ประตูแห่งโอกาส และ อนาคตที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้น คุณพ่อ และ คุณแม่ยุคใหม่ควรใส่ใจกับเรื่อง  ภาษาไม่แพ้กับการเรียนวิชาอื่นๆเหมือนกัน วันนี้ทีมแอดมิน TheAsianparent  จะพาคุณพ่อ คุณแม่มาเรียนรู้วิธีการสอนลูกให้เป็น เด็กสองภาษา กันค่ะ

ทำไม การเรียนสองภาษา จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น ?

เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

ความจำเป็นในการเลี้ยงลูกให้เป็น เด็กสองภาษา ( อย่างน้อยให้สื่อสารได้ในระดับหนึ่ง ) มาจากเหตุผลต่อไปนี้

  • คุณ และ คู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ และ มีภาษาแม่คนละภาษากัน
  • คุณต้องการให้ลูกสามารถสื่อสารกับญาติ ๆ ของฝ่ายคู่สมรสซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศอื่นได้ และ ให้ลูกพูดได้อีกภาษาหนึ่ง
  • คุณอยู่ในประเทศที่พูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของคุณ ( เข้าทำนอง เข้าเมืองตาหลิ่ว ให้หลิ่วตาตาม )
  • คุณ และ ครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับชาวต่างชาติ
  • คุณอยากให้ลูกพูดมีภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส จีน หรือ ญี่ปุ่น เพื่ออนาคตทางการงานที่ดีขึ้นของลูก

วิธีการสอนภาษาที่สอง

เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

ถ้าบ้านคุณเป็นบ้านที่พูดสองภาษาอยู่แล้ว ลูกน้อยจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น และ รู้โดยอัตโนมัติ ขณะที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาความสามารถด้านการพูด และ คำศัพท์อยู่ คุณ และ คู่สมรสมักจะตั้งใจสอนลูกฝึกพูดด้วยวิธีการที่เป็นธรรมชาติ แต่ ถ้าที่บ้านของคุณไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยังมีอีกหลากหลายโปรแกรมนำเสนอวิธีการสอนลูกให้พูดภาษาที่สอง หลักสูตรสองภาษาเหล่านี้มักจะใช้รูปภาพ เสียง และ การใช้คำซ้ำ ๆ เป็นหลักเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจแนวคิดที่ว่า เราสามารถพูดคำว่า “ แม่ ” หรือ “ สวัสดี ” ได้มากกว่าหนึ่งแบบหรือหนึ่งภาษา รวมทั้งวิธีการพูดภาษาอื่นด้วย อย่างไรก็ดี

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการนำเสนอผลการวิจัยว่า เมื่อใด ที่เด็กจะมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาที่สอง งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสามารถของเด็กทารกในการเรียนรู้ภาษาที่สองเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่เด็กจะพูดได้เสียอีก งานวิจัยนี้ศึกษาจากกลุ่มเด็กทารกอายุประมาณ 7 เดือน รายงานระบุว่า เด็กทารกฟังเสียงภาษาต่างๆ ตามความยาวของเสียงคำ และ ระดับเสียงสูงต่ำของคำ ทารกยังบอกถึงความแตกต่างของภาษาที่พูดได้จากความยาว และ เสียงสูงต่ำที่ได้ยิน

การรู้สองภาษามาจากการฟัง การพูด และ การมีปฏิสัมพันธ์ ทารกสามารถจดจำเสียงยาวได้ก่อนอายุเจ็ดเดือน แต่ หากจะให้เป็นทารกสองภาษาอย่างแท้จริง เด็กจะต้องเข้าใจว่า “ลูกอม” คืออะไรก่อนที่จะเข้าใจว่า “ลูกอม” กับ “candy” คือสิ่งเดียวกัน แต่ใช้ภาษาเรียกคนละภาษา

ข้อได้เปรียบของการเป็นเด็กสองภาษา

เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

happy father using tablet pc with little girls

เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่

1 . ประโยชน์ต่อสมองและฝึกทักษะทางด้านการเรียนรู้ 
การฝึกให้ลูกได้รู้จักกับภาษาที่สอง ถือเป็นวิธีการฝึกสมองที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะสมองจะถูกกระตุ้นให้เรียนรู้คำศัพท์ และ ไวยากรณ์ของทั้งสองภาษา รวมทั้ง เด็กสองภาษาไม่เพียงแต่รู้คำศัพท์ของภาษาที่สองเท่านั้น แต่ยังสามารถเปรียบเทียบ แปล ผสมคำ ในแต่ละภาษา และ เข้าใจความหมายของคำเหล่านั้นด้วย การใช้สมองในเรื่องภาษา จึงเป็นแบบฝึกหัดอันซับซ้อนที่เข้ามาในชีวิตของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ การเรียนสองภาษา จะทำให้เด็กมีความสามารถในการคิด และ การแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดี

2.  ประโยชน์ทางวิชาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ 
จากมุมมองทางวิชาการ เด็กสองภาษามีข้อได้เปรียบมากมาย งานวิจัยบอกว่า เมื่อถึงเวลาตอบข้อสอบ เด็กสองภาษาจะมีความคิดสร้างสรรค์และตอบได้ละเอียดมากกว่าเด็กที่รู้แค่ภาษาเดียว อาจเป็นเพราะรู้คำศัพท์ในหลายภาษาจึงทำให้เกิดความคิดพลิกแพลง และ ยืดหยุ่นกว่า ซึ่ง เรามักจะพบความครีเอทของเด็กกลุ่มนี้มากกว่าเด็กที่พูดได้เพียงภาษาเดียว

3.ประโยชน์ทางด้านครอบครัว และ สังคม
การรู้สองภาษาไม่ใช่แค่เรียนรู้คำในสองภาษาเท่านั้น แต่เป็นการเชื่อมโยงสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน แม้เด็กจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่ ก็อาศัยอยู่ในครอบครัว ชุมชน และ โลกใบนี้ด้วย การเป็นเด็กสองภาษาจึงทำให้เด็กๆ มีทักษะที่ดีกว่าในเรื่องของการสื่อสาร การเข้าใจโลกรอบตัว รับรู้ความต่างทางวัฒนธรรม และ เข้าใจบทบาทอันหลากหลายของตัวเองในโลก ทั้งนี้เด็กสองภาษายังสามารถปรับตัว และ เข้าใจบริบทสังคมได้มากกว่า

Source : 1

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?

10 วิธี การเลี้ยงลูกให้ฉลาด อยากให้ลูกฉลาดเติบโตเป็นคนเก่ง ต้องอ่าน!!

วิธีการเลี้ยงลูกให้โตไปประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งผลอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่
แชร์ :
•••
  • 3 เหตุผลหลัก ที่ควรฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษา

    3 เหตุผลหลัก ที่ควรฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษา

  • สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?

    สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

app info
get app banner
  • 3 เหตุผลหลัก ที่ควรฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษา

    3 เหตุผลหลัก ที่ควรฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษา

  • สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?

    สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป