theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 56

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 56

สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังจะมีกำหนดผ่าคลอดเร็ว ๆ นี้ คงจะเป็นกังวลไปซะหมด และทำตัวไม่ถูกเลยใช่ไหมล่ะคะ ว่าหลังผ่าคลอดจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง เช่น กินอะไรได้บ้าง อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด มีอะไรบ้าง ต้องนอนท่าไหน ออกกำลังกายได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้หรือเปล่า หรือประจำเดือนจะมาตอนไหน ฯลฯ ซึ่งคำถามเหล่านี้เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนจะต้องอยากรู้กันอย่างแน่นอน และเพื่อให้คุณแม่หายกังวลใจ และเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง อยากรู้เรื่องไหนก็ตามมาศึกษากันได้เลย...

สำหรับคุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด อาจจะต้องระวังเรื่องอาหารที่จะทานมากกว่าคุณแม่ที่คลอดเองแบบธรรมชาติ เนื่องจากอาหารบางประเภทจะมีผลถึงแผลผ่าตัด ที่จะทำให้แผลเกิดการอักเสบ หรือ ทำให้บาดแผลไม่เรียบเนียน งั้นมาดูกันดีกว่าค่ะว่า อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด มีอะไรบ้าง เพื่อให้ตัวคุณแม่เองฟื้นตัวจากการผ่าคลอดได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย

ตอนที่ 56 อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด

แผลผ่าคลอดลักษณะเป็นอย่างไร

คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด บาดแผลผ่าคลอดจะมีรูปร่างและลักษณะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น วิธีและวัสดุที่แพทย์ใช้เย็บแผล โดยทั่วไปการผ่าตัดคลอดที่ผ่านการศัลยกรรมจะทำให้เกิดรอยแผลยาว 4-6 นิ้ว ซึ่งจะเป็นแผลลักษณะแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นใน หรือแผลอีกแบบคือแนวตั้งใต้สะดือ ขึ้นอยู่กับตอนผ่าคลอด และผิวชั้นนอกของแผลผ่าคลอดนี้จะเริ่มสมานกันหลังจากสัปดาห์แรกของการผ่าได้ผ่านไป จากนั้นแผลผ่าคลอดจึงปิดจะสนิท และเปลี่ยนลักษณะเป็นสีแดงอมม่วงราว 6 เดือน ก่อนจะจางเป็นสีขาวเรียบไปเรื่อยๆ จนหายดี

แผลผ่าคลอดที่เย็บไว้จะหายดีเมื่อไร?

โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือ 2 - 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บ สิ่งสำคัญคือ ควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี ไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้แผลสมานเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา

ตอนที่ 56 อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด

สารอาหารที่แม่ผ่าคลอดต้องการ

1. น้ำ ช่วงหลังคลอดเป็นช่วงที่ร่างกายแม่ต้องผลิตน้ำนมให้ลูก กระบวนการผลิตน้ำนมนี้นอกจากใช้สารอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ยังต้องการน้ำในปริมาณที่สูงอีกด้วย เพราะในน้ำนมแม่มีน้ำผสมเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญในเลือด ร่างกายที่มีน้ำเพียงพอจะทำให้แผลผ่าตัดได้รับสารอาหารเต็มที่ ทำให้แผลสมานตัวเร็ว

2. โปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่ว หน้าที่หลักของโปรตีนคือช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อและผิวหนังใหม่ ทำให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้น

3. อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ฝั่ง ส้ม มะละกอ บร๊อคโคลี่ เป็นต้น วิตามินซีจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ลดการอักเสบ ลดการติดเชื้อ ทำให้แผลผ่าตัดติดไวและหายเร็วขึ้น

4. อาหารที่มีธาตุสังกะสี ได้แก่ ชีส นม ตับ ไข่ ถั่วเหลือง เป็นต้น สังกะสีจะช่วยให้เซลล์จับกับวิตามินได้ เป็นสารที่เสริมให้แผลหายเร็ว

5. อาหารที่มีกากใย ได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารพรีไบโอติกส์ แม่ตั้งครรภ์จำนวนมากมักประสบกับปัญหาท้องผูก และมีผลต่อเนื่องมาจนถึงหลังคลอด การทานอาหารที่มีกากใยจะช่วยให้แม่ถ่ายง่ายขึ้น ลดแรงเบ่ง ลดการกระทบกระเทือนกับแผลผ่าตัดได้

ตอนที่ 56 อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด

อาหารที่แม่ผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยง

1. อาหารที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด กระตุ้นให้เกิดการขับธาตุสังกะสี ลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ และลดการดูดซึมของสารอาหารประเภทวิตามิน กรดอะมิโน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมร่างกาย การดื่มเหล้าเบียร์จึงทำให้แผลติดกันยากขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และหายช้า

2. อาหารไม่สุก มีสารเคมี สารพิษ และเชื้อโรคสูง ไม่ส่งผลดีกับคนปกติอยู่แล้ว ยิ่งกับคนที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอดมา ร่างกายจะอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าคนปกติ หากกินอาหารไม่สุกเข้าไป หากร่างกายไม่สามารถต้านทานกับ สารเคมี สารพิษ และเชื้อโรคเหล่านั้น ก็จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ง่าย

3. บุหรี่ ทำให้เลือดมาเลี้ยงแผลน้อยลง และยังทำลายเซลล์ที่จะมาซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้าและติดเชื้อได้

4. อาหารที่ผู้ป่วยแพ้ การแพ้อาหารนั้น จะทำให้เกิดอาการคัน หากเกิดอาการคันบริเวณแผลผ่าตัด และใช้มือไปเก่า ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

การหลีกเลี่ยงอาหารสำคัญพอ ๆ กับการกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารเหล่านั้น มาใช้ในการซ่อมแซมและฟื้นฟูแผลผ่าตัดให้หายเป็นปกติ ทั้งนี้การกินหรืองดเว้นอาหารก็ควรที่จะทำควบคู่ไปกับการดูแลแผลผ่าตัดอย่างถูกต้องด้วย โดยเฉพาะการใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ที่ช่วยกระชับหุ่นกระชับหน้าท้อง และลดการกระทบกระเทือนแผลได้ หากแม่ ๆทำทุกอย่างอย่างมีวินัย ก็จะช่วยให้แม่ ๆ กลับมามีร่างกายแข็งแรง พร้อมที่จะเลี้ยงลูก และทำกิจกรรมต่าง ๆ สนุกกับลูกได้ทุกวัน

นอกจากอาหารที่จะต้องรับประทานเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วสำหรับคุณแม่ที่ต้องผ่าคลอดแล้วนั้น ตัวคุณแม่เอง ยังต้องเดินออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผล เพื่อไม่ให้เกิดพังผืดใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแผลคีรอยขึ้นได้ในอนาคต

 

ที่มา :

  1.  https://www.hifamilyclub.com/
  2. https://www.ministryofmama.com/2020/04/21

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

  1. 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 55 อาหารหลังคลอด
  2. 6 เรื่อง หลังผ่าคลอด ที่คุณแม่ควรรู้ หลังผ่าคลอดต้องรู้อะไรบ้าง

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • ผ่าคลอด
  • /
  • อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 56
แชร์ :
•••
  • ท่าออกกำลังหลังผ่าคลอด

    ท่าออกกำลังหลังผ่าคลอด

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

  • แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

    แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

app info
get app banner
  • ท่าออกกำลังหลังผ่าคลอด

    ท่าออกกำลังหลังผ่าคลอด

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

  • แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

    แจกตารางอาหาร สำหรับทารกแรกเกิด - 5 ขวบ ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป