X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สังเกตุให้ดี!! 8 อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด ที่แม่ท้องก่อน 37 สัปดาห์ต้องระวัง

บทความ 5 นาที
สังเกตุให้ดี!! 8 อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด ที่แม่ท้องก่อน 37 สัปดาห์ต้องระวัง

คลอดก่อนกำหนด เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงทำให้ลูกคลอดก่อนกำหนด หรือแม่ที่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาแล้ว รวมถึงมีโรคประจำตัว และสาเหตุอื่น ๆ

สัญญาณอันตราย! 8 อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด ลักษณะการคลอดก่อนกำหนดถือเป็นการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ดังนั้นตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์คุณแม่ควรใส่ใจดูแลทั้งตัวเองและลูกน้อย และสังเกตุ!! อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด อาการคลอดก่อนกำหนด เหล่านี้ให้ดี หากมีอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ควรจะพาตัวเองไปพบแพทย์โดยด่วนนะคะ!

อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด

1.รู้สึกมีอาการเจ็บครรภ์เองโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน

2.มีการหดรัดของมดลูก  สังเกตุดูว่า ในอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไปนั้น มดลูกหดรัดตัวบ่อยมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหรือเปล่า โดยช่วงเวลาที่เกิดบ่อยนั้นมักอยู่ในช่วงกลางดึก ประมาณ 4 ทุ่ม และ ตี 2 ซึ่งคุณแม่อาจจะรู้สึกปวดหรือไม่ปวดก็ได้ อาจเป็นเพราะมดลูกมีการหดรัดตัวไม่แรง

3.มีอาการปวดหน่วง ๆ บริเวณบั้นเอว ต้นขาอาจเป็นๆ หายๆหรือปวดตลอดเวลา

4.มีอาการปวดท้องหรือปวดบริเวณหัวหน่าวคล้ายกับตอนปวดประจำเดือน อาจปวดเป็นช่วงๆ หรือปวดตลอดเวลา

5.ปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการท้องเสีย

6.มีมูก มูกเลือดหรือน้ำใส ๆ ออกทางช่องคลอด อาจมีเลือดปนออกมาด้วยเป็นสีแดงจาง ๆ สีชมพู หรือสีน้ำตาลปนเลือด หรือมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมา

อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด

7.มีความรู้สึกว่าทารกดิ้นผิดปกติ หรือรู้สึกได้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย

8.ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกก่อนกำหนด

หากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ แม้เพียงอาการใดอาการหนึ่ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนนะคะ

อาการใกล้คลอด อาการคลอดก่อนกำหนด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา

คุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดคงตื่นเต้นกับลูกน้อยที่จะลืมตาดูโลกในไม่ช้า กำหนดคลอดพอจะช่วยให้มีเวลาเตรียมตัวได้อย่างคร่าว ๆ แต่อาการใกล้คลอดแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนให้ไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพราะหลายคนก็มีอาการใกล้คลอดแตกต่างกันออกไป โดยคุณแม่อาจลองสังเกตได้จากสัญญาณเตือนสำคัญเหล่านี้

มีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด

คุณแม่สามารถพบมูกเลือดไหลออกทางช่องคลอดภายในไม่กี่นาที เป็นชั่วโมง หรือบางรายเป็นวันก่อนการคลอด โดยมูกที่พบมีอยู่หลายลักษณะ ตั้งแต่มูกใส สีน้ำตาล สีออกชมพู หรือแม้แต่สีแดงสดเหมือนเลือด มีความหนืดและข้นคล้ายตกขาว

มูกนี้เป็นกลไกในการป้องกันแบคทีเรีย เชื้อโรค และสิ่งสกปรกทั้งหลายไม่ให้เข้าสู่มดลูก โดยร่างกายจะมีการสร้างชั้นเมือกหนาปกคลุมบริเวณปากมดลูกในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ แต่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมในการคลอดจะทำให้เกิดการสลายเมือกเหล่านั้นออกมาทางช่องคลอด แต่ในบางรายก็อาจมีมูกเลือดออกมาในปริมาณที่น้อย

น้ำเดินหรือน้ำคร่ำเดิน

เป็นอีกอาการที่ค่อนข้างชัดเจนว่าใกล้คลอดแล้ว คุณแม่จะมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอดเช่นเดียวกับมูกเลือด ส่วนมากจะไหลออกมาในปริมาณไม่เยอะแล้วหายไป แต่บางรายอาจมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดในปริมาณมาก โดยพบได้ 1 ใน 10 ของหญิงตั้งครรภ์

อาการเหล่านี้เกิดจากถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวเด็กเกิดฉีกขาดหรือแตก เพื่อเตรียมตัวให้เด็กคลอดออกจากท้องแม่ แต่อาจทำให้หลายคนมักสับสนระหว่างน้ำปัสสาวะและน้ำจากถุงน้ำคร่ำ ซึ่งโดยทั่วไปของเหลวจากอาการน้ำเดินจะเป็นของเหลวใสและไม่มีกลิ่น

เจ็บท้องคลอด

ในช่วงที่เกิดการเจ็บท้องคลอดจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บ มีอาการตึง ๆ หรือบีบรัดที่ครรภ์ หลายคนมักจะเรียกอาการนี้ว่าท้องแข็ง มีอาการปวดตื้อ ๆ บริเวณหลังและท้องช่วงล่าง โดยเริ่มปวดไล่มาตั้งแต่มดลูกลงไปยังก้นอย่างสม่ำเสมอหรือไล่จากล่างขึ้นบนสลับกัน ปวดเป็นจังหวะ และมีรูปแบบในการปวดที่คาดเดาได้ เช่น มีอาการปวดทุก ๆ 8 นาที ปวดอยู่นานประมาณ 30-70 วินาที ซึ่งอาการปวดจะเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปวดนานและถี่ขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการคลอด เนื่องจากมดลูกบีบตัวและหดรัด อีกทั้งการหยุดทำกิจกรรมหรือเปลี่ยนท่าทางจะไม่ช่วยให้อาการปวดดีขึ้น มักพบว่ามีอาการปวดร่วมกับน้ำเดินและมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด

สังเกตุให้ดี!! 8 อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด ที่แม่ท้องก่อน 37 สัปดาห์ต้องระวัง

แม้อาการเจ็บท้องจะเป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายกับอาการปวดเตือนที่เป็นการเจ็บท้องหลอก (False Labor) ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มือใหม่สับสนได้อยู่บ้าง โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจดูอีกครั้งว่าสภาพร่างกายของแม่มีความพร้อมและปากมดลูกเปิดกว้างมากพอหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณเตือนอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงอาการใกล้คลอดเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นอาการเล็กน้อย เปลี่ยนแปลงไม่มาก หรืออาจเป็นอาการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างได้มากนัก ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยต่างกันหรือในบางรายก็อาจไม่มี เช่น

  • ตำแหน่งของท้องเคลื่อนต่ำลง ทารกเริ่มมีการเคลื่อนตัวลงมาใกล้บริเวณกระดูกเชิงกรานมากขึ้น จึงทำให้เห็นได้ว่าตำแหน่งครรภ์ในช่วงใกล้คลอดอยู่ต่ำมากกว่าในช่วงตั้งครรภ์แก่ แต่ยังไม่คลอด ระยะนี้คุณแม่อาจจะหายใจได้สะดวกขึ้น เพราะแรงกดที่กระบังลมลดลง และอาจมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • อาการท้องเสียหรือถ่ายเหลว ในช่วงเข้าสู่ระยะใกล้คลอด คุณแม่อาจพบอาการถ่ายเหลวหรือท้องเสีย เพราะร่างกายมีการสร้างสารคล้ายฮอร์โมนที่ชื่อ โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเตรียมพร้อมกับการคลอด ทำให้มดลูกหดตัวและช่วยขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้น แต่ก็กระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายมากด้วยเช่นกัน
  • ปวดหลัง หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะพบอาการปวดหลังได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากหลังของเราอยู่ในลักษณะโค้งเป็นเวลานานหลายเดือน เพื่อรองรับทารกในครรภ์ และเด็กทารกอาจจะเคลื่อนตัวต่ำลงมาจนศีรษะอยู่ใกล้หรือชนกับกระดูกสันหลังแม่ ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น
  • นอนไม่หลับหรือหลับยาก
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด

ปวดจริงหรือปวดหลอก สัญญาณแบบไหนที่บอกว่าคลอดจริง

จวนเจียนจะคลอดก็ต้องพบอาการปวดอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่อาการปวดท้องก็มีทั้งแบบปวดท้องคลอด (True Labor Contractions) ที่เป็นอาการปวดจะคลอดออกมาจริงในเวลาอันใกล้ และอาการปวดท้องหลอก ซึ่งเป็นอาการปวดที่ช่วยย้ำว่าระยะเวลาการจะคลอดเริ่มใกล้เข้ามา จึงทำให้หลายคนเรียกว่าเป็นอาการปวดเตือน (False Labor/Braxton Hicks Contractions) อาการปวดทั้ง 2 แบบสามารถสร้างความสับสนให้คุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการคลอดมากนัก ซึ่งอาการปวดท้องเตือนจะแตกต่างกับปวดท้องจริงตามลักษณะที่สังเกตได้จาก

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
  • เป็นอาการไม่สบายตัว อึดอัดบริเวณช่วงหน้าท้องด้านหน้าหรือกระดูกเชิงกราน
  • อาการปวดไม่รุนแรง หลายคนอธิบายว่ามีลักษณะคล้ายอาการปวดประจำเดือน
  • ปวดเป็นช่วง ๆ แล้วหายไป ไม่ปวดถี่ติดกัน
  • อาการมักหายไปเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ
  • เกิดได้ตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หรือในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

หากคุณแม่เริ่มมีอาการปวดท้องในลักษณะนี้ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไป แต่ควรระมัดระวังในการเดิน เมื่อมีอาการลองเปลี่ยนท่าทางหรือขยับร่างกาย งีบหลับระหว่างวัน แช่ตัวในน้ำอุ่น หรือฟังเพลงเพื่อความผ่อนคลายก็อาจทำให้อาการหายไป

เตรียมความพร้อมเมื่อใกล้คลอด

กำหนดคลอดเข้ามาใกล้เรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่กระตือรือร้นในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ควรมีการดูแลตนเองหลายเรื่อง ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รับฝากครรภ์ หรือแม้แต่เทคนิคคนรุ่นก่อนที่ช่วยให้คลอดได้ง่ายมากขึ้น แต่ควรเลือกในสิ่งที่เหมาะสมและพอดี รวมไปถึงไม่ควรวิตกกังวลในการคลอดมากจนเกินไป

นอกจากนี้ก็ต้องไม่ลืมเตรียมตัวหลังการคลอดให้พร้อมเช่นกัน ประเด็นที่ควรคำนึงอาจเป็นเรื่องการปรึกษากับคู่ครองและครอบครัว ศึกษาเส้นทางในการเดินทาง ระยะทางในการไปโรงพยาบาล ผู้ดูแลในระหว่างการคลอด หรือระยะเวลาในการพักฟื้นร่างกาย รวมไปถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ของตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในระหว่างอยู่โรงพยาบาลและหลังคลอด เช่น เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว เพื่อให้มั่นใจว่าเตรียมการทุกอย่างที่ต้องทำไว้เรียบร้อยล่วงหน้าก่อนคลอด และมีแผนสำรองอยู่เสมอในกรณีฉุกเฉิน เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ไม่มีอะไรต้องให้กังวล

รับมือกับอาการใกล้คลอดเมื่ออยู่โรงพยาบาล

แพทย์จะมีการประเมินความพร้อมในการคลอดของคุณแม่ โดยมีการตรวจดูปากมดลูกเป็นระยะว่าเปิดกว้างแค่ไหน หากเปิดกว้างถึง 10 เซนติเมตรก็จะสามารถคลอดได้ แต่ในบางรายที่ถุงน้ำคร่ำไม่แตก แพทย์อาจจะต้องมีการเจาะถุงน้ำคร่ำ หรืออาจมีการให้ยาเร่งคลอด เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการคลอดได้ง่ายขึ้น

เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บท้องคลอดมากขึ้นในระหว่างนี้ อาจลองฝึกการหายใจยาวเพื่อเบ่งคลอด โดยให้ผู้ดูแลทำไปพร้อม ๆ กันเป็นจังหวะ เพื่อช่วยให้เบ่งคลอดได้ง่ายมากขึ้น หรือให้ช่วยลูบหลังเบา ๆ ก็อาจบรรเทาอาการปวดระหว่างรอคลอดได้

 


ที่มา :

www.thaihealthlife.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ต้องรู้! การดิ้นของทารกในครรภ์ 8 เดือน มีผลทำให้ท้องแข็งและคลอดก่อนกำหนดได้

คลอดก่อนกําหนดเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

parenttown

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • สังเกตุให้ดี!! 8 อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด ที่แม่ท้องก่อน 37 สัปดาห์ต้องระวัง
แชร์ :
  • วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

    วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

  • 8 ข้อต้องทำ แนวทาง การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

    8 ข้อต้องทำ แนวทาง การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

    วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

  • 8 ข้อต้องทำ แนวทาง การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

    8 ข้อต้องทำ แนวทาง การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ