theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16

บทความ 5 นาที
•••
อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16

theAsianparent พามาดู อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16 ท้อง 2 เดือน ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงยังไง อาการเป็นแบบไหน?

คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่จะตื่นเต้นกับพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ และ แม่ท้องคนไหนมีความกังวล หรือ ความสงสัยว่าตัวเองจะท้องหรือเปล่า วันนี้ theAsianparent Thailand นำบทความ อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16 มีเรื่องไหนที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่แม่ท้องจะต้องรู้สำหรับคนท้อง มาดูกัน

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16

ประจำเดือนขาด

โดยปกติแล้วประจำเดือนของผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุระหว่าง 15-49 ปี จะมีระยะเวลา 21-35 วัน และจะมาใกล้เคียงกันทุกเดือน แต่หากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 10 วันก็สามารถเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า “กำลังตั้งครรภ์” เนื่องจากไข่กับตัวอุสจินั้นมีการปฏิสนธิกัน โดยร่างกายจะผลิต ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จำนวนมากออกมา นั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผนังมดลูกหลุดออกมาเป็นประจำเดือน อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาด บางครั้งอาจจะเกิดจาก ความผิดปกติ ของฮอร์โมน หรือ ภายในมดลูกได้ ดังนั้นควรทำการตรวจเพื่อความแน่ใจอีกครั้งจะดีที่สุด เพราะบางครั้งการขาดประจำเดือนก็อาจจะหมายถึงมีโรคบางอย่าง เช่น โรคของระบบต่อมไร้ท่อ เบาหวาน โรคเกี่ยวกับรังไข่

คัดเต้านม

โดยทั่วไปแล้วเวลาจะมีประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีการคัดเต้านมเล็กน้อย ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ก็เช่นกัน แต่การคัดเต้านมของคนท้องนั้นจะคัดตึงและนานกว่า เพราะร่างกายกำลังเตรียมสร้างน้ำนมให้ลูกน้อย ขยายใหญ่ขึ้น แต่ไม่นานก็จะหายไปเอง โดยผู้หญิงบางคนอาจจะรู้สึกเจ็บเต้านมและหัวนมด้วย ในช่วงตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น จะทำให้หน้าอกอ่อนนุ่ม เพื่อรองรับการให้นมลูกในอนาคต อีกทั้งบริเวณหัวนมจะเริ่มมีสีคล้ำขึ้น หน้าอกจะเริ่มขยาย และ ไวต่อการสัมผัส รวมถึงบางครั้งอาจจะมีอาการเจ็บตึงด้วย

ปัสสาวะบ่อย

ช่วงตั้งครรภ์ใหม่ๆ ในช่วง 1-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไตจะทำงานหนักกว่าปกติ เพราะปริมาณเลือดในร่างกายจะเพิ่มขึ้น (มดลูกโตขึ้นจากการตั้งครรภ์ เลือดเลยต้องไปเลี้ยงมดลูกกว่าปกติ) ร่างกายจึงปรับตัวให้มีเลือดเพิ่มมากขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น มีเลือดผ่านไตมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ไตกลั่นเอาปัสสาวะมามากขึ้น ในขณะเดียวกันมดลูกที่อยู่ติดกับด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เบียดและกดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้แม่ท้องปัสสาวะบ่อยมากขึ้น แต่เมื่อถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์มดลูกจะอยู่สูงขึ้น

กรดไหลย้อน

อาการคนท้อง 2 เดือน

อาการคนท้อง 2 เดือน

คนท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ทานอาหารเสร็จแล้วแล้วนอนเลย เนื่องจากว่ากรดในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารทำให้เกิดอาการแน่น จุกเสียดท้อง วิธีป้องกัน คือ คุณแม่ต้องแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว ช็อคโกแลต และอาหารที่มีรสเผ็ด

อาการแพ้ท้อง

แม่ท้องส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ บางคนรู้สึกหวิวๆ ใจส่น บางคนหน้ามืด ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า “อาการแพ้ท้อง” หรือ Morning Sickness อาการแพ้ท้อง มีสาเหตุมาจากอะไรนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเป็นผลมาจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนเอชซีจี (HCG – Human chorionic gonadotropin) ที่สูงขึ้น จากการทำงานของรก คนท้องส่วนใหญ่จะรู้สึกแพ้ท้องมาก หลังจากตื่นนอนตอนเช้า และจะยิ่งเป็นหนักขึ้น ถ้าหากท้องว่างมากเป็นพิเศษ แม่ท้องแต่ละคนมีอาการแพ้ท้องที่แตกต่างกัน บางคนรู้สึกพะอืดพะอม บางคนอาเจียนร่วมด้วย

  • วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือความดันโลหิตลดลงก็อาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ แต่การรับประทานอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยป้องกันอาการเหล่านี้ได้
  • ไวต่อกลิ่น เมื่อเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ มีมีอาการที่จมูก ของแม่ท้องจะไวต่อกลิ่นทุกชนิดมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Super Smell เป็นพิเศษ บางครั้งก็อาจทำให้แม่ท้องรู้สึก เหม็น หรือจู่ ๆ ก็ไม่ชอบกลิ่นที่คุ้นเคย จนเกิด อาการคลื่นไส้อาเจียนได้ บางครั้งก็เหม็นน้ำหอม เหม็นอาการ เหม็นตัวสามี ก็เป็นได้
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงแรกของ การตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจมีการรับรู้ รสชาติอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป จนอาจทำให้รู้สึกว่า ทานอะไรก็ไม่อร่อย บางทีก็อยากทานของแปลก ๆ อย่างเช่นอาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือ อาหารที่แม่ท้องอาจไม่ได้รู้สึก ว่าอยากกินมาก่อน

ปวดหลัง

ปวดหลังตอนท้อง เป็นอาการที่แม่ท้องส่วนใหญ่ต้องเผชิญ ซึ่งการปวดหลังตอนท้องนั้น จะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยส่วนใหญ่จะมาจากการขยายตัวของกล้ามเนื้อส่วนกลาง ที่เป็นผลมาจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับทารกตัวน้อยที่กำลังเติบโตภายในร่างกาย รวมถึงอาจจะมีอาการตะคริวร่วมด้วย โดยอาการเหล่านี้นับว่าเป็นอาการปกติของคนท้อง และอาการปวดหลังสามารถเกิดได้ตลอดเวลาในการตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ศูนย์กลางของการทรงตัวเปลี่ยนไป วิธีการรับมือคือปรับเปลี่ยนด้วยท่านอน เป็นตะแคง ใช้หมอนข้างสำหรับวางขา เลือกที่นอนที่แข็งพอดี และไม่นุ่มจนเกินไป

มีตกขาวมากผิดปกติ

ในช่วงการตั้งครรภ์ สีรระและฮอร์โมนในร่างกายจะมีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีการตกขาว ในปริมาณที่มากขึ้นกว่าปกติ แต่อย่าเพิ่งตกใจถ้าลักษณะของการตกขาวเป็นมูกเหลวสีขาวขุ่นหรือครีมเพราะนั้นก็ถือเป็นสภาวะปกติไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เนื่องจากบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดจะมีการสร้างของเหลวออกมาเพื่อหล่อลื่นบริเวณปากช่องคลอด แต่ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ก็ควรดูแลรักษาทำความสะอาดช่องคลอด เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น

มีลมในกระเพาะมากขึ้น

โดยแม่้ทองจะรู้สึกว่าท้องตัวเองป่องมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากฮอร์โมนโปสโจสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร เลยทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณแม่ทำงานได้ช้าลง เกิดอาการท้องผูกได้อีกด้วย

สีของเยื่อบุช่องคลอด

 

อาการคนท้อง 2 เดือน

อาการคนท้อง 2 เดือน

แม่ท้องอาจจะรู้สึกว่าอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานบวมน้ำ เยื่อบุช่องคลอดคล้ำขึ้นเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำเงิน บางครั้งก็เกิดจากการอักเสบบริเวณช่องคลอดได้

อารมณ์แปรปรวน

สาเหตุที่คนท้องมักมีอารมณ์แปรปรวนนั้นมาจากการที่ร่างกายเกิดความอ่อนเพลียของร่างกาย จากความเครียดสะสม และจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลต่อระดับสารส่งผ่านประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์จากสมอง จึงทำให้คนท้องอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย

มีอาการอ่อนเพลีย

แม่ท้องจะรู้สึกเหนื่อย และอยากนอนตลอดเวลา เนื่องจาก ฮอร์โมนโปสเจสเตอโรนสูงขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายคลายตัวเหมือนยากล่อมประสาท ภายในร่ากงายมีการเผาไหม้อาหารหรือใช้พลังงานอย่างมากในการพัฒนาลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงและสูญเสียพลังงานมากขึ้น โดยทำให้แม่ท้องมีอาการเหนื่อยง่าย

ร่างกายมีอุณหภมูิที่สูงขึ้น

ในช่วงท้องร่างกายแม่ท้องจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ และมีความรู้สึกร้อนง่าย จากไม่ชอบพัดลม หรือแอร์ ก็จะชอบที่จะอยู่หน้าพัดลม หรือ หน้าแอร์ นั้นเป็นเพราะร่างกายใช้พลังงานมากขึ้น

ปวดหัวบ่อยขึ้น

ระหว่างการตั้งครรภ์ แม่ท้องหลายคนมักมีอาการปวดหัวอยู่บ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ด้วยระดับฮอร์โมน ความดัน โดยเฉพาะคนท้องไตรมาสแรก ที่ทำให้แม่ท้องรู้สึกปวดหัว ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่คนท้องปวดหัวบ่อย ๆ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ทั้งยังสามารถเป็นต่อเนื่องไปตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์

ปวดเกร็งในช่องท้อง

โดยการปวดเกร็งในช่องท้องนั้นมาจากการปวดประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ ใน่ชวงแรกอาจจะบอกได้ยาก แต่ถ้าแม่ท้องรู้สึกปวดหน่วงๆ ก็อาจจะเป็นได้ว่ามีการยืดขยายของมดลูกที่พร้อมสำหรับการมีลูก หรือ แปลว่ากำลังตั้งครรภ์นั้นเอง

หายใจถี่

เมื่อรู้สึกมีอาการหายใจถี่ เหนื่อยง่ายในขณะทำงานที่ต้องใช้แรงงาน เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ มีความต้องการออกซิเจนจากคุณแม่ และเมื่อทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตมากขึ้นจะมีแรงกดดันต่อปอดและกระบังลม ส่งผลทำให้แม่ท้องมีอาการหายใจถี่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ตลอดการตั้งครรภ์

มีเลือดซึมออกมาจากช่องคลอด

หากแม่เห็นเลือดซึมออกมาจากช่องคลอด แต่ไม่ใช่ประจำเดือนอย่าเพิ่งตกใจ เพราะนั้นอาจจะเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ในระยะแรก เนื่องจากร่างกายอยู่ในสภาวะปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิภายในมดลูก ในช่วง 11-12 วันหลังปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะฝังในเยื่อบุโพรงมดลูก อาจทำให้คุณแม่บางคนมีเลือดสีแดงจางๆ หรือ ชมพู ปริมาณไม่มาไหลออกมาจากช่องคลอดได้ และเลือดนี้จะหยุดไหลไปเองใน 1-2 วัน หากไม่มีอาการปวดเกร็งก็ไม่น่าเป็นห่วง แต่หากเลือดไหลไม่หยุดและมีอาการปวดเกร็งท้องร่วมด้วยควรไปพบแพทย์ทันที

มีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง

ในช่วงตั้งครรภ์นั้นร่างกายจะสร้าง Pigmentation ของผิวหนังมากขึ้น ทำให้บริเวณใบหน้า คอ รักแร้ อวัยวะเพศ มีสีคล้ำขึ้น ไม่ขาวผ่อง นอกจากนี้เส้นกลางท้องที่คล้ำอาจจะเด่นขึ้น หรือที่เรียกว่า Striae

 

Source : Medthai

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

ตื่นเช้าพร้อมเริ่มต้นวันใหม่ๆ กับ บทสวดมนต์เช้า พร้อมแผ่เมตตา บทสวดมนต์ตอนเช้า

100 เมนู ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มนี้ไม่เกิน 200 แคล ชื่อเมนู: 3 เมนู ยำแซ่บ

100 แคปชั่นเที่ยวทะเล คําคมทะเล แคปชั่นทะเล ไปทะเลต้องโพสต์แคปชั่นยังไง? 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

bossblink

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16
แชร์ :
•••
  • อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

    อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 22 อาการคนตั้งครรภ์ 8 เดือน การตั้งครรภ์เดือนที่ 8

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 22 อาการคนตั้งครรภ์ 8 เดือน การตั้งครรภ์เดือนที่ 8

  • บล็อกหลังคลอดลูก ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

    บล็อกหลังคลอดลูก ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

app info
get app banner
  • อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

    อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 22 อาการคนตั้งครรภ์ 8 เดือน การตั้งครรภ์เดือนที่ 8

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 22 อาการคนตั้งครรภ์ 8 เดือน การตั้งครรภ์เดือนที่ 8

  • บล็อกหลังคลอดลูก ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

    บล็อกหลังคลอดลูก ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป