theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

สัญลักษณ์ ตามถนนที่ลูกควรรู้ พ่อแม่ต้องสอน เพื่อความปลอดภัยของลูก

บทความ 5 นาที
•••
สัญลักษณ์ ตามถนนที่ลูกควรรู้ พ่อแม่ต้องสอน เพื่อความปลอดภัยของลูกสัญลักษณ์ ตามถนนที่ลูกควรรู้ พ่อแม่ต้องสอน เพื่อความปลอดภัยของลูก

สัญลักษณ์ ที่ลูกควรรู้ เพื่อความปลอดภัยของลูก และคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกสังเกตได้ เราไปดูกันเลยค่ะ ว่ามี สัญลักษณ์อะไรบ้าง ที่ลูก ๆ ควรรู้

เครื่องหมายจราจรและความหมาย

เครื่องหมายจราจร เป็นเรื่องที่ถือว่าใกล้ตัวเรามากที่สุดเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ เพราะทุกวันนี้ต้องใช้รถ ใช้ถนน ในการเดินทางไปไหนมาไหน ดังนั้นแล้ว การให้ลูกศึกษาเรื่อง เครื่องหมายจราจรทางบก จึงเป็นเรื่องที่ควรจะทำ เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่และลูก ใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น ก็ควรจะสอนให้ลูกเรียนรู้ เกี่ยวกับสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร

  • เครื่องหมายจราจร (Traffic Sign)

หมายถึง สัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ในการควบคุมการจราจร มักเป็นสัญญาณแสงหรือป้าย มักมีจุดประสงค์เพื่อ กำหนดบังคับการเคลื่อนตัวของจราจร การจอด หรืออาจเป็นการเตือน หรือแนะนำทางจราจร ดังนี้

  • สัญญาณไฟจราจร

สัญญาณไฟจราจร โดยทั่วไปประกอบด้วยสัญญาณไฟสามสี ติดตั้งตามทางแยกต่าง ๆ เพื่อควบคุมการจราจรตามทางแยก โดยทั้งสามสี ได้แก่ สีแดงให้รถหยุด สีเหลืองให้รถระวัง เตรียมหยุด และสีเขียวคือให้รถไปได้ สำหรับสัญญาณไฟจราจรพิเศษอาจมีสีเหลืองเพียงสีเดียวจะกะพริบอยู่ ใช้สำหรับทางแยกที่ไม่พลุกพล่าน หมายถึง ให้ระมัดระวังว่ามีทางแยก และดูความเหมาะสมในการออกรถได้เอง หรือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน หรือ สัญญาณไฟจราจรไว้สำหรับเปลี่ยนเลน เป็นต้น

  • ป้ายจราจร 

ป้ายจราจร เป็นป้ายทางการควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็นสามประเภท

    • ป้ายบังคับ มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา
    • ป้ายเตือน มักจะมีพื้นสีเหลือง ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า
    • ป้ายแนะนำ เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่าง ๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น

สัญลักษณ์ ที่เด็ก ๆ ควรรู้

ป้ายบังคับ 

  • ป้ายหยุด 

ป้ายสัญลักษณ์

รถทุกชนิดต้องหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว ให้เคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง

  • ห้ามเข้า 

ป้ายสัญลักษณ์

ห้ามไปในพื้นที่ ที่มีป้ายห้ามเข้า

  • ห้ามแซง 

ป้ายสัญลักษณ์

ห้ามไม่ให้ขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

  • ห้ามเลี้ยวซ้าย

ป้ายสัญลักษณ์3

ห้ามไม่ให้รถเลี้ยวไปทางซ้าย

  • ห้ามเลี้ยวขวา 

ป้ายสัญลักษณ์3

ห้ามไม่ให้รถเลี้ยวไปทางขวา

  • ห้ามคน 

ป้ายสัญลักษณ์

ห้ามคนผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

  • จำกัดความเร็ว 

ป้ายสัญลักษณ์

ห้ามไม่ให้ผู้ขับรถทุกชนิด ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด เป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลข ในแผ่นป้ายนั้น ๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย จนกว่าจะพ้นที่สุดระยะ ที่จำกัดความเร็วนั้น

  • ให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า 

ป้ายสัญลักษณ์

ขับรถตรงไปตามทิศทางที่ป้ายกำหนด

  • ทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย

ป้ายสัญลักษณ์

ให้ขับรถไปทางซ้ายแต่ทางเดียว

  • ทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา

ป้ายสัญลักษณ์

ให้ขับรถไปทางขวาแต่ทางเดียว

ป้ายเตือน 

  • วงเวียนข้างหน้า

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้าจะเป็นทางแยกมีวงเวียน ให้ขับรถให้ช้าลง และเดินรถด้วยความระมัดระวัง

  • ทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน และไม่มีเครื่องกั้นทาง ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และสังเกตดูรถไฟทั้งทางขวาและทางซ้าย ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอคอยจนกว่ารถไฟนั้นผ่านพ้นไปและปลอดภัยแล้ว จึงเคลื่อนรถต่อไปได้ ห้ามมิให้ขับรถตัดหน้ารถไฟในระยะที่อาจจะเกิดอันตรายได้เป็นอันขาด

  • ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง

ป้ายสัญลักษณ์

ทางรถไฟที่หน้าที่ได้กั้นทาง หรือมีเครื่องกั้นทางปิดกั้น ถ้ามีรถข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อน ก็ให้หยุดรถถัดต่อมาตามลำดับ เมื่อเปิดเครื่องกั้นทางแล้วให้รถที่หยุดรอเคลื่อนที่ตามกันได้

  • สัญญาณจราจร

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจร ให้ขับรถช้าลง และพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร

  • ระวังสัตว์ 

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้า อาจมีสัตว์ข้ามทาง ให้ขับรถให้ช้าลง และระมัดระวังอันตรายเป็นพิเศษ

  • ระวังอันตราย

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้ามีอันตราย เช่น เกิดอุบัติเหตุ ทางทรุด เป็นต้น ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังอันตรายเป็นพิเศษ

  • หยุดข้างหน้า

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้ามีเครื่องหมายหยุดติดตั้งอยู่ ให้ผู้ขับรถเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันที เมื่อขับรถถึงป้ายหยุด

  • ทางลื่น

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้าลื่น เมื่อผิวทางเปียกอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังการลื่นไถล อย่าใช้ห้ามล้อโดยแรงและทันที การหยุดรถ การเบารถ หรือเลี้ยวรถในทางลื่นต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

  • ผิวทางร่วน

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้ามีวัสดุผิวทางหลุดกระเด็นเมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงให้ขับรถให้ ช้าลง และระมัดระวังอันตราย อันอาจเกิดจากวัสดุผิวทาง

  • ระวังคนข้ามถนน

ป้ายสัญลักษณ์

ทางข้างหน้า มีทางสำหรับคนข้ามถนน หรือมีหมู่บ้านราษฎรอยู่ข้างทาง ซึ่งมีคนเดินข้ามไปมาอยู่เสมอ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและ ระมัดระวังคนข้ามถนน ถ้ามีคนกำลังเดินข้ามถนน ให้หยุดรถให้คนเดินข้ามถนนไปได้โดยปลอดภัย

ป้ายแนะนำ

  • ป้ายแสดงโรงพยาบาล
ป้ายสัญลักษณ์

ป้ายสัญลักษณ์

  • ป้ายแสดงทางข้าม 

สัญลักษณ์ ตามถนนที่ลูกควรรู้ พ่อแม่ต้องสอน เพื่อความปลอดภัยของลูก

  • ป้ายแสดงจุดกลับรถ
สัญลักษณ์

สัญลักษณ์

  • ป้ายแนะนำชื่อทางแยก
สัญลักษณ์

สัญลักษณ์

  • ป้ายทางตัน 
สัญลักษณ์

สัญลักษณ์

  • ป้ายแนะนำที่พักริมทาง 

สัญลักษณ์

  • ป้ายเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย

ป้ายบอกทาง

  • ป้ายเดินรถทางเดียวไปทางขวา

สัญลักษณ์ ตามถนนที่ลูกควรรู้ พ่อแม่ต้องสอน เพื่อความปลอดภัยของลูก

  • ป้ายชี้ทางไปสถานีขนส่ง

ป้ายบอกทาง

  • ป้ายชี้ทางไปสถานีรถไฟ
สัญลักษณ์บอกทาง

สัญลักษณ์บอกทาง

สอนลูกอย่างไร ให้ลูกเรียนรู้ง่ายและเข้าใจ 

  • สอนเนื้อหาที่สมวัย

ก่อนที่จะสอนเรื่องอะไร พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจถึงช่วงวัย และพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกเสียก่อน เพราะสมองของลูกจะจัดเก็บข้อมูล โดยเรียงจากง่ายไปหายาก เรียงจากสิ่งที่คุ้นเคยไปหาสิ่งที่มีความท้าทายมากขึ้น ดังนั้นหากพ่อแม่สอนในเรื่องที่ลูกยังไม่เกิดความเข้าใจ คงเป็นไปได้ยากที่ลูกจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ และจดจำในเรื่องเรื่องนั้นได้ เช่น ถ้าจะสอนลูกนับเลข ควรต้องรู้ว่าลูกรู้จักตัวเลขต่าง ๆ ดีหรือยัง หรือถ้าจะสอนลูกแต่งประโยค ควรดูว่าลูกมีความพร้อมในการสะกดคำต่าง ๆ แล้วหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกเขียนภาษาไทย คำไทยยาก ๆ ก-ฮ เขียนคำไทยให้ถูกต้อง

  • สอนวันละเรื่อง

ในการสอนบทเรียนต่าง ๆ ให้ลูกนั้น พ่อแม่ควรให้เวลาลูกในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจ ต่อบทเรียนแต่ละเรื่องให้ดีเสียก่อน โดยแบ่งแยกเรื่องราวที่ต้องเรียนเป็นเรื่อง ๆ เพื่อไม่ให้ลูกเกิดความสับสน และค่อย ๆ สอนเพิ่มขึ้น เมื่อลูกเกิดความเข้าใจในเรื่องที่ได้สอนไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดประสิทธิภาพในการจดจำและนำไปใช้ได้มากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเรียนรู้และการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กวัยหัดเดินมีความสำคัญอย่างไร

  • ไล่เนื้อหาจากง่ายไปยาก

เพราะความเข้าใจคือสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น พ่อแม่จึงควรสังเกตว่าลูกมีความเข้าใจในบทเรียนเรื่องใดแล้ว และพยายามสอนต่อยอดจากเรื่องนั้นไปสู่บทเรียนที่ยากขึ้น การสอนเรื่องที่มีความยากเกินไป นอกจากไม่ทำให้ลูกเกิดความเข้าใจแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนกำลังใจ และทำให้ลูกเบื่อหน่ายในการเรียนอีกด้วย

  • สอนซ้ำ ย้ำ ทวน

เมื่อลูกเรียนรู้บทเรียนใดแล้วนั้น พ่อแม่ควรให้ความสำคัญ โดยการหมั่นให้ลูกทบทวนในบทเรียนเดิม โดยการอ่านหรือทำกิจกรรมฝึกทักษะในเรื่องนั้น ๆ อยู่เสมอ การทำซ้ำ ย้ำ ทวน จะช่วยให้สมองเกิดความจดจำและนำไปใช้ จนสร้างเป็นความเข้าใจ และเป็นฐานในการเรียนรู้เรื่องที่ยากขึ้นได้เป็นอย่างดี

  • ยกตัวอย่างประกอบจากเรื่องใกล้ตัว

การที่จะให้ลูกเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีนั้น พ่อแม่อาจหากิจกรรมใกล้ตัว ที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในการเรียนได้ง่ายขึ้น เช่น พ่อแม่อาจสอนลูกนับเลขได้ จากการแบ่งเค้กในวันเกิด หรือสอนลูกสะกดคำผ่านการอาจป้ายต่าง ๆ เวลานั่งรถ ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ลูกเกิดความสนุก และซึมซับทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : สัญลักษณ์ที่เด็กควรรู้ ความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

ที่มา : (1),(2)

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • สัญลักษณ์ ตามถนนที่ลูกควรรู้ พ่อแม่ต้องสอน เพื่อความปลอดภัยของลูก
แชร์ :
•••
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • สัญลักษณ์ที่เด็กควรรู้ ความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

    สัญลักษณ์ที่เด็กควรรู้ ความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

  • สอนลูกพูดต้องเริ่มยังไง 100 คำที่เด็กควรรู้ ภาษาไทยพื้นฐาน พ่อแม่ควรสอนลูก

    สอนลูกพูดต้องเริ่มยังไง 100 คำที่เด็กควรรู้ ภาษาไทยพื้นฐาน พ่อแม่ควรสอนลูก

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

app info
get app banner
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • สัญลักษณ์ที่เด็กควรรู้ ความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

    สัญลักษณ์ที่เด็กควรรู้ ความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

  • สอนลูกพูดต้องเริ่มยังไง 100 คำที่เด็กควรรู้ ภาษาไทยพื้นฐาน พ่อแม่ควรสอนลูก

    สอนลูกพูดต้องเริ่มยังไง 100 คำที่เด็กควรรู้ ภาษาไทยพื้นฐาน พ่อแม่ควรสอนลูก

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป