theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

ยากันยุง เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย แต่เป็นอันตรายต่อยุง

บทความ 5 นาที
•••
ยากันยุง เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย  แต่เป็นอันตรายต่อยุงยากันยุง เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย  แต่เป็นอันตรายต่อยุง

พูดได้ว่า ยุงในบ้านเรานั้น ชุกชุมทุกฤดูกาล แถมยังชอบกัดเด็กเล็ก และเป็นพาหะนำโรคที่อันตราย สำหรับลูกน้อยอย่างมากค่ะ โดยเฉพาะ โรคไข้เลือดออก เพราะอย่างนี้คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน จึงนิยมใช้ ยากันยุง ยี่ห้อต่าง ๆ เพื่อป้องกันยุง ให้ลูกน้อย แต่เพราะ ยากันยุง มีมากมาย หลากยี่ห้อ หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นครีม โลชั่น สเปรย์ แป้ง และแผ่นแปะ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องเลือกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกนะคะ

 

ก่อนอื่น เรามารู้กันก่อนว่า ยุงกัดเรา เพราะก๊าชคาร์บอนไดออกไซต์ ที่เราหายใจและระเหยออกจากผิวหนัง เป็นตัวดึงดูดยุง ดังนั้น ยากันยุงที่เราฉีดหรือทา ไปบนผิวหนังจึงทำหน้าที่ปิดประสาทการรับรู้ของยุง ทำให้ยุงไม่กัด ซึ่งยากันยุงเหล่านี้ อาจเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ สารเคมีสังเคราะห์ หรือมีส่วนผสมของสารทั้ง 2 ชนิดรวมกัน ดังนั้นเราจึงควรเลือกที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของลูก

 

โดยทั่วไป ประสิทธิภาพในการป้องกันของยากันยุงแต่ละประเภท จะต่างกันไปตามชนิด และระดับความเข้มข้นของสารที่เป็นส่วนประกอบค่ะ คุณพ่อคุณแม่ จึงควรทำความเข้าใจสารประกอบ ในยากันยุงก่อนทาให้ลูกน้อยนะคะ

  1. DEET หรือ diethyl-3-methylbenzamide เป็นสารที่มีประสิทธิภาพกันยุงได้ดี มีหลายความเข้มข้นให้เลือกค่ะ โดยหากเข้มข้นน้อยกว่า 10 เปอร์เซนต์ สามารถกันยุงได้ 1-3 ชั่วโมง และความเข้มข้น 10-30 เปอร์เซนต์ สามารถกันยุงได้ 4-6 ชั่วโมง
  2. 2. ตะไคร้หอม หรือ Citronella oil, Geraniol เป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติ แต่ป้องกันยุงได้เพียง 20-30 นาที ในการฉีดหรือทาหนึ่งครั้งค่ะ
  3. น้ำมันยูคาลิปตัส หรือ Lemon eucalyptus oil เป็นอีกหนึ่งสารสกัดจากธรรมชาติ ป้องกันยุงได้ 2-5 ชั่วโมง
  4. Permethrin ยากันยุงที่มีส่วนผสมของ Permethrin นิยมใช้ในการฉีดพ่นข้าวของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า มุ้ง เพื่อป้องกันยุง
  5. Picaridin เป็นสารมีประสิทธิภาพสูง โดยสามารถป้องกันยุงได้ 3-8 ชั่วโมง

รู้จักสารแต่ละชนิดกันแล้ว อย่าลืมอ่านฉลากทุกครั้งก่อนซื้อยากันยุงให้ลูกนะคะ เพื่อความปลอดภัยที่สุดต่อลูกน้อยค่ะ

 

การใช้ยากันยุงให้ปลอดภัยต่อลูกน้อยที่สุด

  1. ห้ามใช้ ยากันยุงแบบจุด สเปรย์ฆ่าแมลง และยากันยุงแบบไฟฟ้า สำหรับเด็กโดยเด็ดขาดค่ะ
  2. ควรใช้ ยากันยุงสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เนื่องจาก ยากันยุงทั่วไป อาจจะมีสารเคมีที่อันตรายต่อร่างกายเด็ก
  3. ในผลิตภัณฑ์กันยุงสำหรับเด็ก มีการแบ่งสำหรับเด็กโต และสำหรับเด็กทารก ไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ ควรอ่านฉลากอย่างละเอียด ก่อนเลือกซื้อ
  4. หากเป็นไปได้ควรเลือกผลิตภัณฑ์กันยุงที่ผลิตจากธรรมชาติ ซึ่งเหมาะและปลอดภัยกับเด็กทุกวัย
  5. ควรใช้ยากันยุงเฉพาะบริเวณผิวหนังที่อยู่นอกร่มผ้า หรือบริเวณที่เสี่ยงต่อการถูกยุงกัดเท่านั้น และควรล้างทำความสะอาด ผิวของลูกน้อยบริเวณที่ใช้ยากันยุง ด้วยสบู่ และน้ำสะอาดทันที เมื่อไม่จำเป็นต้องป้องกันยุงแล้วค่ะ เพื่อล้างเอาสารไล่ยุงที่เคลือบผิวอยู่ออกไป
  6. ห้ามพ่นยากันยุงแบบสเปรย์ ที่ใบหน้าของลูกน้อยโดยตรง แต่ให้ฉีดใส่มือในปริมาณเล็กน้อยก่อนนำไปทา บริเวณใบหน้า หรือทา ตามส่วนอื่นของร่างกาย ที่สำคัญ ต้องไม่ทายากันยุงบริเวณรอบดวงตา หรือปากของลูกโดยเด็ดขาด นะคะ

 

จริง ๆ แล้ว วิธีป้องกันยุงที่ดีที่สุดคือ ให้ลูกน้อยอยู่ในบริเวณ ที่ปลอดจากยุง แต่หากเลี่ยงไม่ได้ และจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์กันยุง ให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเท่านั้นนะคะ โดยการใช้ยากันยุง สามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 2 เดือน ค่ะ โดยควรเริ่มส่วนผสม ที่มีความเข้มข้นต่ำก่อน เช่น DEET 10% ค่ะ

inside

Mosquito repellent

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตาม การตั้งครรภ์ให้คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอด ที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรงเพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไข้เลือดออก โรคร้ายประจำหน้าฝน ที่คุณแม่สามารถช่วยปกป้องลูกรักให้ห่างไกลได้

ลูกแพ้ยุง ทำไงดี ทำอย่างไรเมื่อลูกแพ้ยุง มีอาการ และ รักษาได้อย่างไร?

โรคจากยุง การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย อาการโรค วิธีป้องกันโรคร้ายจากยุง

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ยากันยุง เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย แต่เป็นอันตรายต่อยุง
แชร์ :
•••
  • ไข้เลือดออก 2561 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตาย 18 คน เป็นทารก 1 คน

    ไข้เลือดออก 2561 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตาย 18 คน เป็นทารก 1 คน

  • ลูกแพ้ยุง ทำไงดี ทำอย่างไรเมื่อลูกแพ้ยุง มีอาการ และ รักษาได้อย่างไร?

    ลูกแพ้ยุง ทำไงดี ทำอย่างไรเมื่อลูกแพ้ยุง มีอาการ และ รักษาได้อย่างไร?

  • ลูกชายโดนจระเข้เขมือบ พ่อใจสลาย รีบลงไปช่วยหวังลูกจะรอด

    ลูกชายโดนจระเข้เขมือบ พ่อใจสลาย รีบลงไปช่วยหวังลูกจะรอด

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

app info
get app banner
  • ไข้เลือดออก 2561 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตาย 18 คน เป็นทารก 1 คน

    ไข้เลือดออก 2561 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตาย 18 คน เป็นทารก 1 คน

  • ลูกแพ้ยุง ทำไงดี ทำอย่างไรเมื่อลูกแพ้ยุง มีอาการ และ รักษาได้อย่างไร?

    ลูกแพ้ยุง ทำไงดี ทำอย่างไรเมื่อลูกแพ้ยุง มีอาการ และ รักษาได้อย่างไร?

  • ลูกชายโดนจระเข้เขมือบ พ่อใจสลาย รีบลงไปช่วยหวังลูกจะรอด

    ลูกชายโดนจระเข้เขมือบ พ่อใจสลาย รีบลงไปช่วยหวังลูกจะรอด

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป