X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด คุณแม่อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?

บทความ 3 นาที
คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด คุณแม่อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?

ปัจจุบันนี้วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น จึงทำให้สถิติของหญิงตั้งครรภ์ที่เลือกผ่าคลอดในปัจจุบันมีอัตราที่สูงขึ้น ส่วนการคลอดปกตินั้นก็ยังเป็นความต้องการสำหรับว่าที่คุณแม่ที่อยากจะซึมซับกับบทบาทความเป็น “แม่” ที่เบ่งคลอดลูกด้วยตัวเองแม้จะรู้ว่าต้องเผชิญกับความเจ็บปวดมากเพียงใดก็ตาม

หากว่าที่คุณแม่ยังลังเลเลือกไม่ถูกว่าจะใช้ วิธีคลอดลูก แบบไหนที่เหมาะกับตัวเองดี จะคลอดธรรมชาติหรือเลือกผ่าคลอด แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?

#1 ระยะเวลา

 คลอดธรรมชาติ ผ่าคลอด 
การคลอดปกติจะต้องรอให้มีการเข้าสู่ระยะคลอดธรรมชาติ ไม่สามารถระบุหรือกำหนดวันคลอด หรือเวลาที่แน่นอนได้ รวมถึงระยะเวลาในการรอคลอดท้องแรกและท้องหลังก็มีความแตกต่างกันด้วย แต่สำหรับหลังคลอดแล้วหากในช่วงคลอดเบ่งคลอดง่าย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดคลอด ก็จะฟื้นตัวได้เร็ว มีระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2 วันก็สามารถกลับบ้านได้ การผ่าตัดคลอดต้องมีการยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอนจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์ โดยปกติอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดคลอดอยู่ที่ประมาณ 38 สัปดาห์ คุณแม่สามารถกำหนดวันและเวลาที่ชัดเจนในการคลอดได้โดยไม่ต้องรอให้ปวดท้องคลอดก็สามารถผ่าตัดคลอดได้

#2 อาการปวด

 คลอดธรรมชาติ   ผ่าคลอด
การคลอดธรรมชาติจำเป็นต้องรอให้ถึงระยะเจ็บท้องที่อาจกินระยะการเจ็บยาวนานหลายชั่วโมง มดลูกจะมีการบีบตัวที่แข็งและถี่ขึ้น ทำให้คุณแม่ปวดท้องคลอดมากขึ้นจนแทบทนไม่ไหว ส่วนหลังคลอดนั้นอาจมีอาการปวดตึงแผลฝีเย็บ แผลจะเริ่มดีขึ้นหลังจากผ่านไปประมาณ 7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดการฉีกขาดของแผลที่ช่องคลอด หากปวดมากให้ใช้การประคบเย็นเข้าช่วย  การผ่าตัดคลอด ปัจจุบันมักใช้วิธีบล็อกหลังซึ่งทำให้ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด และรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถได้ยินเสียงร้อง และเห็นหน้าของลูกน้อยทันทีที่คลอด แต่การใช้ยานั้นก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง หลังผ่าคลอดอาจมีอาการปวดหลัง ปวดเมื่อยในช่วงวันแรก ๆ และมีอาการปวดแผลผ่าคลอดซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าแผลจากการผ่าคลอดจะหายดี  จึงมีระยะพักฟื้นร่างกายในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3-4 วันนานกว่าคุณแม่ที่คลอดเองด้วยวิธีธรรมชาติ

#3 ค่าใช้จ่าย

 คลอดธรรมชาติ   ผ่าคลอด
การคลอดเองธรรมชาติจะมีค่าใช้จ่ายการคลอดที่ถูกกว่า การผ่าตัดคลอดที่ต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ วัสดุ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการคลอดปกติ

#4 ภาวะแทรกซ้อน

  คลอดธรรมชาติ   ผ่าคลอด
การคลอดเองนั้นอาจเสี่ยงต่อโอกาสเกิดอันตรายขณะคลอด เช่น การที่ทารกตัวโตมากอาจทำให้เกิดปัญหาการคลอดนาน คลอดยาก ติดอวัยวะบางส่วนที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และทารกได้ เสี่ยงต่อการยืดและฉีกขาดของเนื้อเยื่อในช่องคลอด การคลอดทางช่องคลอดอาจทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกราน มดลูก ผนังช่องคลอดทางด้านหน้าและด้านหลังเกิดอาการหย่อนคลอยได้ แก้ปัญหาวิธีนี้ได้ด้วยการฝึกขมิบช่องคลอด เพื่อบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้กระชับ รวมทั้งปัญหาระบบขับถ่ายและการมีเพศสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว การผ่าตัดคลอดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้จากการบล็อกหลัง ภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดอาจเกิดอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ และหลังผ่าตัด เช่น การติดเชื้อจากแผลผ่าคลอด ลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น มีการเสียเลือดมากกว่าการคลอดปกติ และการผ่าตัดนั้นทำให้มีรอยแผลเป็นบริเวณหน้าท้อง แต่ในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแผลแบบบิกินนี่ ในระยะยาวอาจจะมองไม่เห็นชัดเจนและไม่ค่อยมีผลต่อการทำงานหรือทำกิจกรรมในอนาคต และสำหรับครรภ์ต่อไปอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก ภาวะรกเกาะต่ำ รกติด ตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น

#5 ทารกที่เกิดจากการคลอด

  คลอดธรรมชาติ   ผ่าคลอด
ทารกที่ผ่านการคลอดปกติทางช่องคลอด จะได้รับการไล่น้ำคร่ำที่ค้างอยู่ในปอดเมื่อช่วงอกของทารกได้ผ่านช่องคลอดแม่ ทำให้ไม่มีน้ำคั่งที่ปอด และปอดไม่ชื้นหลังคลอด ซึ่งเป็นผลดีต่อการหายใจ ทำให้ถุงลมในปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าสได้ดี และในระหว่างที่ทารกกำลังผ่านช่องคลอดของแม่ออกมา ทารกจะกลืนเอาสารคัดหลั่งในช่องคลอดที่อุดมไปด้วยแบคทีเรียที่ดีประเภท Probiotic เข้าสู่ลำไส้ ซึ่งเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ ทำให้ทารกไม่เจ็บป่วยบ่อย แต่ข้อเสียสำหรับการคลอดธรรมชาติในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง หรือเบ่งไม่เป็น ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด ก็อาจทำให้ทารกบาดเจ็บได้จากการใช้เครื่องมือได้ ทารกที่ผ่าคลอดนั้นจะไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือ Probiotic ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าในระยะยาว และการไม่ได้ผ่านขบวนการทางช่องคลอดอาจทำให้มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาการหายใจเมื่อแรกคลอด

 

อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณแม่จะตัดสินใจเลือกวิธีคลอดแบบไหน โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้คลอดเองก่อน ซึ่งการผ่าคลอดนั้นควรทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์  เช่น อุ้งเชิงกรานแคบ ทารกมีศีรษะใหญ่ทำให้ไม่สามารถลอดผ่านเชิงกรานแม่ออกมาได้ มีความผิดปกติของรก เช่น รกเกาะต่ำ ขวางทางออกของทารก หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีการตกเลือดก่อนคลอด มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำให้คลอดโดยเร็ว คลอดก่อนกำหนด มีปัญหาการคลอดที่เนิ่นนาน หรือประสบความล้มเหลวจากการชักนำคลอด ทารกอยู่ในท่าขวาง หรือศรีษะไม่กลับหัว หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด เป็นต้น แต่ทั้งนี้ข้อบ่งชี้ในแต่ละโรงพยาบาลอาจแตกต่างกัน หากคุณแม่มีความต้องการคลอดลูกแบบไหนก็สามารถปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์หรือพิจารณาข้อดีข้อเสีย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่คุณแม่ควรเตรียมวางแผนสำหรับการคลอดครั้งนี้ด้วยนะคะ.


ที่มา : https://pregnancy.haijai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เวลามันผ่านไปเร็วมากอ่ะลูก แรกเกิดvsปัจจุบัน โตแล้วหน้าเปลี่ยน กันขนาดไหน

ลูกชายหรือลูกสาวดีกว่ากัน ข้อดีของการมีลูกชาย vs. ลูกสาว

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด คุณแม่อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?
แชร์ :
  • 12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

    12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

  • ราคาแพ็คเกจคลอดโรงพยาบาลในกทม.

    ราคาแพ็คเกจคลอดโรงพยาบาลในกทม.

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • 12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

    12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

  • ราคาแพ็คเกจคลอดโรงพยาบาลในกทม.

    ราคาแพ็คเกจคลอดโรงพยาบาลในกทม.

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ