วัคซีนสำหรับทารก ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย 2562 ลูกต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน

วัคซีนสำหรับทารกต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย 2562 วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน
วัคซีนสำหรับทารก
วัคซีนสำหรับทารก ลูกต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย 2562 วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน
ชื่อวัคซีนสำคัญสำหรับทารก ตั้งแต่แรกเกิด
วัยแรกเกิด : ฉีดวัคซีนทารกแรกเกิด
- วัคซีนวัณโรค (BCG)
- วัคซีนตับอักเสบบี (HBV)
อายุ 2 เดือน : ฉีดวัคซีนทารก 2 เดือน
- วัคซีนคอตีบบาดทะยักไอกรนและตับอักเสบบีเข็มที่หนึ่ง (DTwP-HB1)
- วัคซีนโปลิโอชนิดหยดครั้งที่หนึ่ง (OPV1)
อายุ 4 เดือน : ฉีดวัคซีน 4 เดือน กี่เข็ม
- วัคซีนคอตีบบาดทะยักไอกรนและตับอักเสบบีเข็มที่สอง (DTwP-HB2)
- วัคซีนโปลิโอชนิดหยดครั้งที่สองร่วมกับชนิดฉีด (OPV2+IPV)
อายุ 6 เดือน : ฉีดวัคซีน6เดือนกี่เข็ม
- วัคซีนคอตีบบาดทะยักไอกรนและตับอักเสบบีเข็มที่สาม (DTwP-HB3)
- วัคซีนโปลิโอครั้งที่สาม (OPV3)
ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย 2562
วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน
- ผื่นขึ้น หลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรค เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ควรให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากผื่นที่ขึ้นไม่หาย อาจไม่ใช่สาเหตุจากการฉีดวัคซีน เพราะอาการมักหายไปเองภายใน 2-3 วัน
- ปวด บวม แดง หากลูกมีอาการบวมหรือแสดงอาการปวด (ร้องโยเยมาก) ให้คุณแม่ประคบด้วยน้ำแข็ง อาการนี้จะหายไปภายใน 1-3 วัน แต่หากบริเวณที่บวมแดง เป็นไตหรือเป็นแผล ลูกขยับแขนข้างที่ฉีดวัคซีนได้น้อยลงหรือไม่ขยับแขน อาจเกิดการติดเชื้อจนเป็นตุ่มหนอง ต้องพาลูกไปพบคุณหมอ
- มีไข้ ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดพอหมาด ๆ เช็ดตัวลดไข้ บริเวณซอกคอ ข้อพับต่าง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย อาการไข้ก็จะดีขึ้นและหายไปภายใน 2-3 วัน ถ้าไข้ยังสูง ไม่ยอมลด ต้องพบแพทย์
- โยเย เวลาที่เจ้าตัวเล็กงอแง ร้องไห้ แม่ต้องใจเย็น ใช้วิธีปลอบโยนลูก เช่น เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการพาไปเดินเล่น ร้องเพลง หรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี การโอบกอดอุ้มลูกโยกตัวไปมาเบา ๆ เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่น สบายใจ
- ชัก ถ้าลูกมีไข้สูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการชัก แม่ควรปฏิบัติดังนี้ * จับลูกนอนตะแคงหน้า เพื่อป้องกันการสำลักหรือลิ้นไปอุดทางเดินหายใจ *ไม่นำของแข็ง เช่น นิ้วมือ ช้อน ฯลฯ ใส่ปากลูก เพราะจะทำให้สำลักมากขึ้น และรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที * ระหว่างเดินทางถ้าลูกมีไข้ ตัวร้อน ควรเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนให้มากที่สุด
- ฝี มีลักษณะเป็น ๆ ยุบ ๆ อยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะหายไปไม่จำเป็นต้องใส่ยา หรือทายาปิดแผล หากฝีเกิดแตกเอง สามารถใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดทาเช้า-เย็น จนกว่าฝีจะแห้ง และควรระวังไม่บีบ ไม่กด หรือทำอะไรกับฝี เพราะอาจเกิดการติดเชื้อ หากเกิดติดเชื้อ ฝีอักเสบ ต้องรีบไปพบคุณหมอ

วัคซีนสำหรับทารกต้องฉีดตัวไหนบ้าง
วัคซีนสำหรับทารกตัวไหนมักมีอาการข้างเคียง
- วัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) อาจมีตุ่มนูน เป็นหนองขนาดเล็ก บริเวณที่ฉีดหลังฉีดประมาณ 2-3 สัปดาห์
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน มีไข้ และอาจเกิดอาการชัก มักเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง หลังรับวัคซีน
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ อาจมีอาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพาต แต่พบได้น้อยมากและหายเองได้
- วัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม มีไข้ และผื่นบวมแดงบริเวณที่ฉีด หลังได้รับวัคซีน 5-7 วัน
- วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส มีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีดและอาจมีผื่นขึ้น
- วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดบริเวณที่ฉีดและอาจมีผื่นขึ้น
วัคซีนสำหรับทารกเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณหมอนัดมาฉีดวัคซีน พยายามมาให้ตรงตามวันนัด แต่ถ้ามาไม่ได้ ให้ปรึกษาคุณหมออีกครั้ง
ที่มา : http://www.gj.mahidol.ac.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด
ทารกเดินทางไกล นั่งคาร์ซีท พาลูกนั่งรถไกล ๆ ทารกต้องนั่งคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง
อุ้มลูกเข้าเต้า ลูกดูดนมแม่ ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนให้ลูกคลายหนาว
10 เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่แม่ให้นมอยากรู้มากที่สุด แม่ให้นมอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง?