X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์

บทความ 3 นาที
วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์

คุณแม่ท้องจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักขณะตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงของโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด ที่อาจทำให้ทารกพิการทางสมอง หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักระหว่างตั้งครรภ์

โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด มักเกิดจากการตัดสายสะดือด้วยอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด ซึ่งพบบ่อยในชนบท เช่น การใช้ไม้ไผ่ หรือมีดทำครัวตัดสายสะดือ รวมถึงการพอกสะดือด้วยยาพื้นบ้าน หรือใช้ยาผงโรย ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนเชื้อบาดทะยัก ทำให้เชื้อเข้าสู่แผลรอยตัดสายสะดือ และเข้าสู่กระแสเลือดของทารกแรกเกิดได้

แม้ในปัจจุบัน คุณแม่ส่วนใหญ่จะทำคลอดในโรงพยายาลซึ่งใช้เครื่องมือปลอดเชื้อร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เพื่อป้องกันกรณีคุณแม่คลอดฉุกเฉิน ที่บ้าน หรือระหว่างทางไปโรงพยาบาล หากอุปกรณ์ที่ใช้ตัดสายสะดือไม่สะอาด ลูกอาจติดเชื้อบาดทะยักได้

หรือแม้แต่คุณแม่คลอดในโรงพยาบาลด้วยเครื่องมือที่สะอาดปลอดภัยแล้ว แต่กลับบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ นำมายาพื้นบ้านหรือยาใดๆ มาโรยสะดือลูกก็อาจติดเชื้อบาดทะยักได้เช่นกัน

เพื่อเป็นการป้องกันสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อบาดทะยักให้กับลูกน้อย จึงคุณแม่ท้องจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ

อาการของโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด

โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดอาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 3-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้คือ ลูกดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ต่อมาลูกจะดูดไม่ได้เลย หน้ายิ้มแสยะ อาจร้องครางต่อมาจะมีมือ แขน และขาเกร็ง หลังแข็งและแอ่น ถ้าเป็นมากจะมีอาการชักกระตุกและหน้าเขียว อาการเกร็งหลังแข็งและหลังแอ่นนี้จะเป็นมากขึ้น ถ้ามีเสียงดังหรือเมื่อจับต้องตัวลูก อาการเกร็งชักกระตุกถ้าเป็นถี่ๆ มากขึ้น จะทำให้หน้าเขียวมากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้เพราะขาดออกซิเจน แต่หากไม่เสียชีวิตก็อาจพิการทางสมอง หรือปัญญาทึบในภายหลังได้

ทำอย่างไรหากลูกมีอาการดังกล่าว

การปฏิบัติก่อนที่จะนำไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตว่าลูกไม่ดูดนมและไม่อ้าปากแสดงว่ามีขากรรไกรแข็ง อย่าพยายามฝืนหรือกรอกนม เพราะอาจจะทำให้สำลักนมเข้าทางเดินหายใจ ทำให้ขัดขวางทางเดินหายใจอาจถึงตายได้ทันที หรืออาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับต้องตัวโดยไม่จำเป็น และอย่าให้มีเสียงดังรบกวนเพราะจะทำให้ชักเกร็งมากขึ้นได้

บทความแนะนำ สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายที่คาดไม่ถึง

การป้องกันบาดทะยักในทารกแรกเกิด

  1. การคลอดและตัดสายสะดือโดยถูกต้อง สะอาด ด้วยกรรไกร หรือมีดที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างดี โดยการต้มในน้ำเดือดปุด ๆ 20 นาที
  2. รักษาความสะอาดของสะดือโดยการเช็ดด้วย alcohol 70 % เช็ดวันละ 1-2 ครั้ง ห้ามใช้แป้งหรือผงยาต่างๆ โรยสะดือ ไม่ควรห่อหุ้มพันท้อง หรือปิดสะดือ
  3. การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักขณะตั้งครรภ์ จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน

เข็มที่ 1 ฉีดในระยะตั้งครรภ์เดือนไหนก็ได้

เข็มที่ 2 ฉีดก่อนคลอดอย่างน้อย 1 เดือน

เมื่อฉีดวัคซีนให้แม่นั้น ร่างกายของแม่ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้นในกระแสเลือดและส่งให้ลูกทางสายสะดือ ลูกก็จะได้รับภูมิคุ้มกันนี้มาอยู่ในตัวนานถึง 3 ปี  แต่เพื่อให้แน่ใจว่าระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงและอยู่นาน ในปัจจุบันจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักเข็มที่ 3 ด้วย

เข็มที่ 3 ฉีดหลังจากเข็มที่สอง 6-12 เดือน

การได้รับวัคซีนสามครั้ง จะทำให้ระยะภูมิคุ้มกันอยู่ได้นาน 5-10 ปี

ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง คุณหมอจะดูประวัติการรับวัคซีนของคุณแม่ก่อน หากคุณแม่ได้รับวัคซีนบาดทะยักครบสองเข็มในท้องแรกแล้ว คุณแม่อาจได้รับวัคซีนกระตุ้นภูมิเพียงเข็มเดียวในท้องที่สอง แต่หากท้องสองห่างจากท้องแรกนานมากๆ คุณหมออาจให้คุณแม่ฉีดวัคซีนทั้งสองเข็มอีกรอบหนึ่งค่ะ

ที่มา www.boe.moph.go.th, www.doctor.or.th

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

วัคซีนที่จำเป็นสำหรับแม่ตั้งครรภ์

ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์กันไว้ดีกว่าแก้

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์
แชร์ :
  • วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ฉีด VS ไม่ฉีด มาไขข้อข้องใจกัน!

    วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ฉีด VS ไม่ฉีด มาไขข้อข้องใจกัน!

app info
get app banner
  • วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ฉีด VS ไม่ฉีด มาไขข้อข้องใจกัน!

    วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ฉีด VS ไม่ฉีด มาไขข้อข้องใจกัน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ