X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแพ้ไข่ ห้ามฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?

บทความ 3 นาที
ลูกแพ้ไข่ ห้ามฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?ลูกแพ้ไข่ ห้ามฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?

น้องโต้ง อายุ 1 ปี มีประวัติแพ้ไข่ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ที่เริ่มทานอาหารเสริม โดยมีผื่นลมพิษขึ้นตามตัว และปากบวม ไปพบคุณหมอเจาะเลือดพบค่าการแพ้ไข่ขึ้นสูง ทั้งไข่ขาว และไข่แดง คุณแม่ต้องการให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แต่มีคนบอกว่าวัคซีนนี้ห้ามฉีดในผู้ที่ไข่ จึงมาปรึกษาหมอค่ะ

การแพ้ไข่เกี่ยวกับวัคซีนอย่างไร?

เนื่องจากวัคซีนบางชนิดมีส่วนผสมของโปรตีนจากไข่ หรือไวรัสที่นำมาทำวัคซีนนั้นเพาะเลี้ยงในเซลล์ตัวอ่อนของไก่ จึงทำให้เกิดอาการแพ้หลังการฉีดวัคซีนได้ในผู้ที่แพ้ไข่ วัคซีนเหล่านี้ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม, วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนไข้เหลือง

การแพ้วัคซีนในผู้ที่แพ้ไข่มีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องบ้าง?

ปฏิกริยาการแพ้วัคซีนดังกล่าวในผู้ที่แพ้ไข่ขึ้นอยู่กับปริมาณของโปรตีนไข่ ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในวัคซีนนั้น ส่วนมากการเกิดปฏิกริยาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) มักเกิดในผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่อย่างรุนแรง หรือแพ้ส่วนประกอบอื่นๆ ที่มิใช่ไข่ ในวัคซีนนั้นๆ แต่ทั้งนี้ก็มีวัคซีนบางชนิดที่มีปริมาณส่วนประกอบของโปรตีนจากไข่อยู่ปริมาณมากจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้ได้

เรามาพิจารณาวัคซีนที่มีส่วนประกอบของโปรตีนจากไข่ ทีละชนิดกันนะคะ

1. วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ในปัจจุบัน วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีส่วนประกอบของโปรตีนจากไข่ที่ทำให้เกิดอาการแพ้น้อยมาก มีการศึกษาวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่แพ้ไข่แบบไม่รุนแรงสามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้โดยปลอดภัย และไม่ต้องทำการทดสอบการแพ้ก่อนฉีด แต่หากมีประวัติแพ้ไข่อย่างรุนแรงแนะนำว่าไม่ควรฉีดค่ะ

บทความแนะนำ วิธีป้องกันและดูอาการไข้หวัดใหญ่ H3N2 ก่อนต้องให้ลูกหยุดเรียนอีกแล้ว

2. วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม

วัคซีนชนิดนี้ในปัจจุบันก็มีปริมาณโปรตีนจากไข่น้อยมาก จนไม่น่าจะทำให้เกิดการแพ้ จึงแนะนำว่าสามารถฉีดได้ตามปกติในผู้ที่แพ้ไข่ แม้ว่าจะมีประวัติการแพ้ไข่อย่างรุนแรงก็ตาม โดยมีการศึกษาพบว่าผู้ที่แพ้วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม มักเกิดจากแพ้ส่วนประกอบอื่นๆที่มิใช่ไข่ ในวัคซีนนั้นๆ เช่น เจลาติน และยาปฏิชีวนะ

3. วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

วัคซีนชนิดนี้ มีการผลิตทั้งที่มี หรือ ไม่มีส่วนผสมของโปรตีนจากไข่ แต่ก็มีปริมาณไม่มากนัก ดังนั้นผู้ที่แพ้ไข่ควรเลือกใช้วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของโปรตีนจากไข่ หรือหากจำเป็นต้องใช้ชนิดที่มีไข่เป็นส่วนผสมก็ควรฉีดอย่างระมัดระวัง ในสถานพยาบาล

4. วัคซีนไข้เหลือง

วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนเชื้อเป็น ทำจากไวรัสที่ทำให้อ่อนฤทธิ์แล้ว โดยไวรัสได้รับการเพาะเลี้ยงในเซลล์ตัวอ่อนของไก่ (chick embryo cell culture) และด้วยกรรมวิธีการผลิต ทำให้วัควีนไข้เหลืองมีส่วนประกอบเป็นโปรตีนจากไข่ในปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดการแพ้ในผู้ที่แพ้ไข่ได้ โดยอาจเกิดปฏิกริยาการแพ้รุนแรงได้

จึงไม่ควรให้วัคซีนไข้เหลืองแก่ผู้ที่แพ้ไข่โดยเด็ดขาด แต่หากผู้ที่แพ้ไข่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศที่ต้องมีหนังสือยืนยันการได้รับวัคซีน (International certificate of vaccination) ก่อนเดินทางเข้าประเทศ เช่น ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ หรือแอฟริกา บางประเทศ ก็สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่ คลินิกนักท่องเที่ยว นะคะ คุณหมอจะออกใบรับรองเพื่อยืนยันถึงข้อห้ามในการฉีดเนื่องจากการแพ้ไข่ให้ค่ะ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งไม่สามารถมีอะไรมาช่วยพยากรณ์ได้แน่นอนว่า จะเกิดอาการแพ้หรือไม่ การฉีดวัคซีนทุกครั้งจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือบุคคลาการทางการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลรักษาอาการแพ้ รวมถึงการแพ้วัคซีนรุนแรง ในสถานพยาบาลเสมอ และควรสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที หลังได้รับวัคซีนทุกครั้งนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกแพ้อาหาร อาจถึงชีวิตได้

คุณแม่แชร์ประสบการณ์ลูกเข้าโรงพยาบาล เพราะแครกเกอร์

 

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกแพ้ไข่ ห้ามฉีดวัคซีนอะไรบ้าง?
แชร์ :
  • ลูกแพ้ไข่ รู้ได้อย่างไร? วิธีสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร อาการมีอย่างไรบ้าง?

    ลูกแพ้ไข่ รู้ได้อย่างไร? วิธีสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร อาการมีอย่างไรบ้าง?

  • วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

    วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • ลูกแพ้ไข่ รู้ได้อย่างไร? วิธีสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร อาการมีอย่างไรบ้าง?

    ลูกแพ้ไข่ รู้ได้อย่างไร? วิธีสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร อาการมีอย่างไรบ้าง?

  • วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

    วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ