theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

รักษาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่นั้นสำคัญที่สุด

บทความ 3 นาที
•••
รักษาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่นั้นสำคัญที่สุดรักษาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่นั้นสำคัญที่สุด

30-50% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากโรคนี้และสามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องใช้ยาเมื่อผ่านช่วงวัยรุ่น การทำความเข้าใจลูก ปรับวิธีการเลี้ยงดู และใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมที่ถูกต้อง คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยรักษาลูกได้

โรคสมาธิสั้น

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ชาญวิทย์ พลนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกสมาธิสั้น ไว้ดังนี้

  1. ปรับทัศนคติต่อเด็กสมาธิสั้นให้เป็นบวก คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า โรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติของการทำงานของสมอง พฤติกรรมที่ก่อปัญหาของลูกกไม่ได้เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะก่อกวนให้เกิดปัญหา แต่เกิดขึ้นเนื่องจากเขาไม่สามารถควบคุมตนเองได้
  2. เทคนิคปรับพฤติกรรมที่ใช้ต้องไม่ทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของลูกให้ลดลง
  3. จัดทำตารางเวลาให้ชัดเจนว่า กิจกรรมในแต่ละวันที่ลูกต้องทำมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน
  4. จัดหาสถานที่ที่ลูกสามารถใช้ทำงาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครรบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เขาเสียสมาธิ เช่น ทีวี เกม โทรศัพท์มือถือ หรือของเล่นอยู่ใกล้ๆ
  5. ถ้าลูกวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นที่ต้องนั่งประกบอยู่ด้วย ระหว่างทำงาน หรือทำการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย
  6. คุณพ่อคุณแม่ และทุกคนในบ้าน ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ อย่าตวาด ตำหนิเด็ก หรือลงโทษทางกายที่รุนแรงเมื่อลูกทำผิด โดยควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อลูกทำผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง หากยิ่งใช้ความรุนแรงกับเด็กสมาธิสั้น ยิ่งทำให้เขามีโอกาสเติบโตมาเป็นเด็กก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
  7. การลงโทษควรใช้วิธีจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน หักค่าขนม เป็นต้น
  8. คุณพ่อคุณแม่ควรให้คำชม รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เวลาที่ลูกทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป
  9. ทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับลูก เช่น ในเรื่องความมีระเบียบ รู้จักรอคอย ความสุภาพ รู้จักกาละเทศะ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงต่างๆ
  10. เวลาสั่งให้ลูกทำงานอะไร ควรให้ลูกพูดทวนคำสั่งที่คุณพ่อคุณแม่เพิ่งสั่งไปทันที เพื่อให้มั่นใจว่าลูกฟังคำสั่งและเข้าใจว่า พ่อแม่ต้องการให้เขาทำอะไร
  11. พยายามสั่งทีละคำสั่ง ทีละขั้นตอน ใช้คำสั่งที่สั้น กระชับ และตรงไปตรงมา
  12. ไม่ควรบ่นจู้จี้จุกจิก ถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีในอดีตของลูก
  13. หากลูกทำผิด พ่อแม่ควรเด็ดขาด เอาจริง คำไหนคำนั้น ลงโทษลูกตามที่ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ใจอ่อน มีความคงเส้นคงวาในการปรับพฤติกรรม
  14. พยายามมองหาข้อดี จุดเด่นของลูก และพูดย้ำให้ลูกเห็นข้อดีของตัวเอง เพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจที่จะประพฤติตัวดี และเกิดความรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง
  15. พยายามสอนให้ลูกคิดก่อนทำ เช่น ให้ลูก “นับ 1 ถึง 5” ก่อนที่จะทำอะไรลงไป “หยุด..คิดก่อนทำนะจ๊ะ” พูดให้ลูกรู้ตัว รู้จักคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำของเขา สอนให้เขารู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก่อนที่จะทำอะไรลงไป
  16. หากลูกมีพฤติกรรมดื้อ ไม่เชื่อฟัง หลีกเลี่ยงการบังคับหรือออกคำสั่งตรงๆ กับเด็ก แต่ใช้วิธีบอกกับเด็กว่า เขามีทางเลือกอะไรบ้าง โดยทางเลือกทั้งสองทางนั้น เป็นทางเลือกที่คุณพ่อคุณแม่กำหนดขึ้น เช่น หากต้องการให้ลูกเริ่มต้นทำการบ้าน แทนที่จะสั่งให้ลูกทำการบ้านตรงๆ อาจพูดว่า “เอาละได้เวลาทำการบ้านแล้ว หนูจะทำภาษาไทยก่อน หรือว่าจะทำเลขก่อนดีจ๊ะ”
  17. กำหนดช่วงเวลาในแต่ละวัน ที่จะให้ลูกฝึกทำอะไรเงียบๆ ที่ตัวเองชอบอย่าง “จดจ่อและมีสมาธิ” โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาห้อง หรือมุมใดมุมหนึ่งในบ้านที่สงบ ไม่มีสิ่งเร้ามากนัก ให้ลูกได้เข้าไปทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิคนเดียวเงียบๆ โดยในวันแรกๆ อาจเริ่มที่ 15 นาทีก่อน แล้วค่อยเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเรื่อยๆ พร้อมให้คำชม และรางวัลเมื่อลูกทำได้สำเร็จ

หากคุณแม่เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์อย่าลืมแชร์บทความนี้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นท่านอื่นๆ ด้วยนะคะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เด็กสมาธิสั้นกับเด็กไฮเปอร์แตกต่างกันอย่างไร?

ปักหมุด! วิธีสอนลูกวัย 2-3 ปี จัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รักษาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่นั้นสำคัญที่สุด
แชร์ :
•••
  • ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

    ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

  • โรคสมาธิสั้นของลูกเรื่องยาวของแม่

    โรคสมาธิสั้นของลูกเรื่องยาวของแม่

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

app info
get app banner
  • ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

    ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

  • โรคสมาธิสั้นของลูกเรื่องยาวของแม่

    โรคสมาธิสั้นของลูกเรื่องยาวของแม่

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป