theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

ป้องกันลูกเป็นเริม ห้ามคนอื่น "จูบลูก" อย่างเดียวคงไม่พอ

บทความ 3 นาที
แชร์ :
•••
ป้องกันลูกเป็นเริม ห้ามคนอื่น "จูบลูก" อย่างเดียวคงไม่พอ

จากกรณีที่คุณแม่ชาวอังกฤษโพสต์เตือนพ่อแม่ว่า อย่าปล่อยให้ใคร "จูบ" ลูกน้อย เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อเริม เหมือนกับที่ลูกของเธอเกือบเสียชีวิตด้วยโรคนี้มาแล้ว  ทราบไหมคะว่า โรคเริมในเด็กไม่ได้ติดต่อด้วยการ "จูบ" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ลูกน้อยสามารถติดเริมได้จากทางอื่นๆ อีก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังและป้องกันไว้ค่ะ

ลูกเป็นเริม

โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงโรคเริมเรามักคิดถึงโรคของผิวหนังและเยื่อบุที่พบเห็นได้บ่อยๆ ในผู้ใหญ่ ไม่มีอาการรุนแรงอะไรใช่ไหมคะ แต่คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า หากลูกเล็กเป็นเริมขึ้นมาอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคเริมเกิดจากอะไร?

โรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ (Herpes simplex virus หรือ HSV) มี 2 ชนิด คือ ชนิด HSV-1 และ HSV-2 โดย HSV-1 มักก่อให้เกิดการติดเชื้อในช่องปากและริมฝีปาก HSV-2 มักก่อให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ ระบบประสาท และ โรคเริมชนิดแพร่กระจายทั่วร่างกายในทารกแรกเกิด แต่ทั้งนี้ HSV ทั้งสองชนิดอาจเป็นสาเหตุติดเชื้อกับเนื้อเยื่อส่วนไหนก็ได้เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลง เช่น ที่เยื่อหุ้มสมอง สมอง ตา เป็นต้น

เด็กๆ ติดโรคเริมได้อย่างไร?

โรคเริมในเด็กแรกเกิดอาจติดจากคุณแม่ได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ แต่มีรายงานการเกิดน้อยมาก ทารกจะมีอาการผื่นหรือแผลเริม ตาอักเสบ และขนาดหัวเล็กกว่าปกติ ส่วนมากโรคเริมในเด็กแรกเกิดมักเกิดจากการติดเชื้อในช่วงระหว่างการคลอดทางช่องคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ

โรคเริมในเด็กที่โตกว่าวัยทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่มักติดโรคเริมจากการสัมผัสกับแผลที่เป็นโรค, น้ำลาย, หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย จึงเกิดเมื่อสัมผัสใกล้ชิด ใช้ของใช้หรือทานอาหารด้วยภาชนะร่วมกัน การจูบ การกิน ทางเพศสัมพันธ์ โดยเชื้อจะแทรกเข้าทางเยื่อบุหรือผิวหนังที่ถลอกเป็นแผล

อาการของโรคเริมมีอะไรบ้าง?

อาการของโรคเริมมีได้หลายแบบ ทั้งโรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัว และโรคเริมในระบบประสาท เป็นต้น เมื่อเป็นโรคเริมครั้งแรกจะมีอาการรุนแรง แตกต่างจากอาการที่เป็นซ้ำครั้งต่อๆ มา ที่มักเป็นเพียงรอยอักเสบหรือถลอกเล็กน้อย และหายเร็วกว่า โดยเมื่อเป็นครั้งแรกแล้วเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในปมประสาท และเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เชื้อจะออกมาตามเส้นประสาทและเกิดโรคซ้ำที่ผิวหนังหรือเยื่อบุผิว
สำหรับบทความนี้จะเน้นที่โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก และโรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัว ซึ่งพบในเด็กนะคะ

โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปากในเด็กมีอาการอย่างไร?

โรคเริมที่ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปากในเด็กมักจะเป็นครั้งแรกจึงมีอาการมากคือ มีรอยบวมแดงบริเวณที่มีการติดเชื้อ ได้แก่ ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก เกิดเป็นตุ่มน้ำใสเป็นกลุ่มๆ อย่างรวดเร็ว แตกเป็นแผล ปวด อาจมีต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้รอยโรคอักเสบและโตขึ้น บางคนอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว นำมาก่อน

โรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัวมีอาการอย่างไร?

โรคเริมแบบแพร่กระจายทั่วตัวจะมีการติดเชื้อโรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกาย เช่น ตับ ปอด และสมอง ทำให้มีอาการตับโต ตาเหลืองตัวเหลือง ปอดอักเสบ ซึม ชัก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่เสียชีวิตก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทและสมองอย่างรุนแรงได้ มักพบในทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อโรคเริมซึ่งจะมีผื่นที่ผิวหนังและเยื่อบุ ตาอักเสบ และมีการติดเชื้อในระบบประสาท ร่วมด้วย
การติดเชื้อโรคเริมแบบแพร่กระจายนี้อาจเป็นได้ในเด็กวัยที่โตกว่าทารกแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัวหรือมีภาวะที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้เช่นกัน

คุณหมอวินิจฉัยโรคเริมได้อย่างไร?

คุณหมอวินิจฉัยโรคเริมได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย ซึ่งเข้าได้กับอาการดังกล่าวข้างต้น และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อไวรัสจากสารคัดหลั่ง หรือ เนื้อเยื่อที่มีกาติดเชื้อ หรือเจาะเลือดเพื่อภูมิต้านทานต่อโรคนี้

การรักษาโรคเริมในเด็กทำได้อย่างไร?

คุณหมอรักษาโรคเริมในเด็กได้ด้วยการให้ยาต้านไวรัสเริม ซึ่งมียาหลายตัว และหลายรูปแบบ โดยคุณหมอจะพิจารณาให้ตามข้อบ่งชี้ในการรักษาและความรุนแรงของอาการที่เป็นค่ะ

การป้องกันโรคเริมในเด็กทำได้อย่างไร มีวัคซีนหรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเริม ดังนั้นการป้องกันโรคเริมจึงทำได้โดย การไม่ให้เด็กสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรค และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หากเคยเป็นโรคเริมมาก่อน หรือมีอาการของโรคอยู่ ควรแจ้งให้คุณหมอที่ดูแลทราบด้วยนะคะ

ภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ค Claire Henderson

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ 

วิดิโอวงดนตรีทารกสุดเจ๋ง

11 สัญญาณที่พ่อแม่ต้องรู้ว่าทารกกำลังสื่อสารอะไร

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ป้องกันลูกเป็นเริม ห้ามคนอื่น "จูบลูก" อย่างเดียวคงไม่พอ
แชร์ :
•••
  • 5 สิ่งเติมเต็มชีวิตคู่ เพราะรักอย่างเดียวคงไม่พอ

    5 สิ่งเติมเต็มชีวิตคู่ เพราะรักอย่างเดียวคงไม่พอ

  • คลิปเตือนใจพ่อแม่ อย่าปล่อยให้ลูกคลาดสายตา!!

    คลิปเตือนใจพ่อแม่ อย่าปล่อยให้ลูกคลาดสายตา!!

  • ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

    ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

app info
get app banner
  • 5 สิ่งเติมเต็มชีวิตคู่ เพราะรักอย่างเดียวคงไม่พอ

    5 สิ่งเติมเต็มชีวิตคู่ เพราะรักอย่างเดียวคงไม่พอ

  • คลิปเตือนใจพ่อแม่ อย่าปล่อยให้ลูกคลาดสายตา!!

    คลิปเตือนใจพ่อแม่ อย่าปล่อยให้ลูกคลาดสายตา!!

  • ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

    ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป