X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

บทความ 5 นาที
น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

น้ำคร่ำมาก หรือ  น้ำคร่ำน้อย มีความสำคัญต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากช่วยปกป้องตัวอ่อน ป้องกันอันตราย คอยทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก ไม่ให้สายสะดือถูกรั้งหรือกดทับ ทำให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวร่างกายและเจริญเติบโตได้อย่างปลอดภัย

 

น้ำคร่ำ ภายในมดลูกมาจากไหน ?

ปริมาณน้ำคร่ำ แสดงถึงความสมดุลในขบวนการแลกเปลี่ยนสารน้ำระหว่างมารดา ทารกในครรภ์ ซึ่งการทำงานของรก หากว่า น้ำคร่ำน้อย หรือมากเกินไป ก็จะมีผลกระทบต่อภาวะการตั้งครรภ์ของมารดา อีกทั้งปริมาณน้ำคร่ำยังใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อีกด้วย

  • ในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ แหล่งสร้างน้ำคร่ำมาจากตัวทารกเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยที่มาจากมารดา โดยสารน้ำและสารละลายจะซึมผ่านจากผิวหนังทารก เยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มรกเข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ น้ำคร่ำจึงมีส่วนประกอบใกล้เคียงกับน้ำเลือด (พลาสมา) ของทารก เพียงแต่มีปริมาณโปรตีนที่ต่ำกว่า
  • ในช่วงครึ่งหลัง เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น เริ่มมีสารเคอราตินมาสะสมที่ผิวหนังของทารกมากขึ้นจนสารน้ำไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังทารกออกมาได้ ในช่วงนี้น้ำคร่ำเกือบทั้งหมดจึงได้มาจากน้ำปัสสาวะของทารกในครรภ์ที่ฉี่ออกมา น้ำคร่ำในระยะนี้จึงมีส่วนประกอบของยูเรีย กรดยูริก และสารครีเอตินิน(สารบ่งชี้ค่าการทำงานของไต)เพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของไตทารกนั่นเอง ในช่วงครรภ์ครบกำหนดทารกจะสร้างน้ำคร่ำได้เฉลี่ยประมาณ 500-700 มิลลิลิตรต่อวัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์

 

การขจัดน้ำคร่ำ

ทำไมจึงต้องมีการขัดน้ำคร่ำ ในเมื่อมีประโยชน์ช่วยปกป้องทารก เป็นเพราะต้องมีการผลัดเปลี่ยนคล้าย ๆ กับการกรองของเสียภายในร่างกายออก ซึ่งน้ำคร่ำในครรภ์แม่ท้องนั้นสามารถขจัดได้ 3 วิธี คือ

 

1. การกลืนน้ำคร่ำของทารก

การกลืนน้ำคร่ำของทารก เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ ทารกจะมีการกลืนน้ำคร่ำและมีการดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารของทารกเองเพื่อดึงสารน้ำกลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต และส่งกลับไปสู่มารดาผ่านทางรกหรือขับออกมาทางปัสสาวะของทารกต่อไป ในช่วงครรภ์ครบกำหนดทารกจะกลืนน้ำคร่ำได้เฉลี่ย 200-450 มิลลิลิตรต่อวัน

 

วิดีโอจาก : DrNoon Channel

 

2. การขจัดผ่านทางเดินหายใจของทารก

พบว่าขบวนการหายใจเข้าเพื่อสูดน้ำคร่ำเข้าสู่ปอด เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ เมื่อน้ำคร่ำไปถึงถุงลมซึ่งเป็นจุดที่มีหลอดเลือดฝอยจำนวนมากจึงมีการซึมผ่านของสารน้ำเข้าสู่กระแสโลหิตของทารกต่อไป ในช่วงครรภ์ครบกำหนดจะมีปริมาณน้ำคร่ำถูกสูดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจประมาณ 600-800 มิลลิลิตรต่อวัน

 

3. การขจัดผ่านทางเยื่อหุ้มรก

การขจัดผ่านทางเยื่อหุ้มรกและเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ จากการที่น้ำคร่ำมีความเข้มข้นของสารละลายน้อยกว่า จึงมีการซึมผ่านของสารน้ำผ่านเยื่อหุ้มดังกล่าวกลับเข้าสู่เซลล์เยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำได้อีกเล็กน้อย ประมาณ 80 มิลลิลิตรต่อวัน

 

จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำคร่ำสุทธิขึ้นกับสมดุลของการสร้างและการขจัดน้ำคร่ำที่อายุครรภ์นั้น ๆ นั่นเอง ซึ่งทางการแพทย์มีวิธีการตรวจวัดประมาณปริมาณน้ำคร่ำได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อใช้แยกว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีปริมาณน้ำคร่ำปกติ มากไป หรือน้อยไปหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง: อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

 

อาการน้ำคร่ำน้อยเป็นอย่างไร

อาการน้ำคร่ำน้อย คุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่สามารถทราบได้เลย หากไม่ได้รับการตรวจหรือวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าคุณแม่มีอาการถุงน้ำคร่ำแตกจนทำให้น้ำคร่ำน้อยลง คุณแม่สามารถรับรู้ได้จากอาการถุงน้ำคร่ำแตกนั้น มีดังต่อไปนี้

 

  • คุณแม่จะรู้สึกว่ามีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด จนทำให้เกิดอาการเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา
  • หน้าท้องดูเล็กกว่าปกติ (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการตั้งครรภ์)
  • ลูกเคลื่อนไหวได้น้อยลง
  • เกิดจากอาการอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน เป็นต้น

 

น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม

 

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มี น้ำคร่ำน้อย

1. ทารกมีพัฒนาการที่บกพร่อง

เนื่องจากน้ำคร่ำส่วนหนึ่งมาจากการขับปัสสาวะของทารกในครรภ์ หากลูกน้อยมีพัฒนาการที่ไม่ดีเท่าที่ควร จากปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของไต ก็จะทำให้ทารกขับปัสสาวะได้น้อย ทำให้น้ำคร่ำน้อยตามนั่นเอง

 

2. ปัญหาเกี่ยวกับรก

หากเกิดสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับรกของคุณแม่ ที่เปรียบเสมือนท่อลำเลียงอาหารและเลือดสู่ทารกน้อยในครรภ์ เมื่อลูกไม่ได้รับสารอาหารเท่าที่ควรก็จะทำให้พวกเขาขับของเหลวออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร น้ำคร่ำของคุณแม่ก็จะน้อยลง

 

3. ภาวะมดลูกแตก

การฉีกขาดเพียงครั้งเดียวของเยื่อหุ้มเซลล์บางจุด อาจทำให้เกิดของเหลวไหลออกมาจากมดลูกได้ ซึ่งไม่ว่าจะมีการไหลหรือการแตกแบบไหน ก็จะทำให้ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกของคุณแม่ลดลงตาม

 

4. การตั้งครรภ์เกินกำหนด

หากคุณแม่ตั้งครรภ์นานมากกว่า 42 สัปดาห์ ก็จะยิ่งทำให้รกของคุณแม่เสื่อมสภาพลงได้ จึงทำให้ระดับน้ำคร่ำลดน้อยลงตาม เสี่ยงต่อการหยุดหายใจของลูกน้อยอีกด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น

5. เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์

อาการต่าง ๆ ของคนท้อง อาจทำให้ปริมาณน้ำคร่ำลดน้อยลง ซึ่งอาการนั้นได้แก่ โรคเรื้อรังต่าง ๆ อย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะขาดน้ำ ครรภ์เป็นพิษ และภาวะขาดออกซิเจนเฉียบพลัน

 

6. ท้องลูกแฝด

เมื่อคุณแม่ท้องลูกแฝดจะยิ่งเสี่ยงให้ระดับน้ำคร่ำลดน้อยลง เนื่องจากลูก ๆ จะเกิดการใช้รกร่วมกัน ทำให้สารอาหาร และเลือดที่ได้เกิดการแบ่งให้ลูกทั้งสอง การขับของเสียอาจทำได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร

 

น้ำคร่ำน้อย 2

 

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม อย่าลืมว่า น้ำคร่ำถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นกับลูกน้อยในท้องมาก โดยจะเริ่มสร้างขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 12 วัน เนื่องจากระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของเด็ก แขน ขา และพัฒนาการต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ของเหลวจากน้ำคร่ำกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ลูกน้อยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีอิสระภายในท้องด้วยคะ ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 ลูกน้อยในท้องจะกลืนเอาน้ำคร่ำเข้าไปและใช้ในการหายใจค่ะ

 

น้ำคร่ำน้อย ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

  • เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • เสี่ยงต่อการสำลักขี้เทาของทารก
  • แพทย์อาจจะวินิจฉัยให้ผ่าตัดคลอด
  • ทารกอาจเสียชีวิตขณะคลอด
  • การพัฒนาการของปอดทารกช้าหรือหยุดการทำงาน เนื่องจากไม่มีน้ำคร่ำที่ทำหน้าที่ถ่างขยายถุงลมและหลอดลม

 

ภาวะปริมาณน้ำคร่ำมากเกิน (ครรภ์แฝดน้ำ)

เมื่อสูติแพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำคร่ำมากเกิน อันดับแรกจำเป็นต้องหาสาเหตุ ซึ่งมีทั้งที่สามารถรักษาแก้ไขได้ระหว่างการตั้งครรภ์ และบางกรณีก็ไม่สามารถแก้ไขได้ หลังจากนั้นต้องติดตามเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และประคับประคองการตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งคลอด ภาวะน้ำคร่ำมากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวาน และครรภ์แฝดมีภาวะหมู่เลือดไม่เข้ากัน
  • เกิดเนื้องอกในรกที่ทำหน้าที่ส่งสารอาหารเลี้ยงดูทารก และรกทำงานผิดปกติ
  • ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหารอุดตัน) ระบบประสาท และระบบทางเดินหายใจ

 

ทั้งนี้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำเดินก่อนกำหนด ภาวะสายสะดือย้อย เด็กทารกอยู่ผิดท่า การคลอดยาก เพิ่มโอกาสผ่าตัดคลอดบุตร เพิ่มโอกาสทารกสำลักน้ำคร่ำ มารดามีอาการอึดอัดกระสับกระส่ายจากหน้าท้องที่มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถนอนราบได้ มารดาจึงต้องเฝ้าระวังอาการของโรคต่าง ๆ ดังกล่าว

 

วิธีป้องกันน้ำคร่ำน้อย

  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • พยายามรับประทานอาหารทานอาหารที่มีประโยชน์ รักษาสมดุลของอาหารให้ดี
  • ไม่ควรสูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ให้ร่างกายชุ่มชื่นอยู่เสมอ
  • ปรึกษาคุณหมอหากมีการทานวิตามินหรือยาชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม

 

สรุปแล้ว น้ำคร่ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการตั้งครรภ์ปกติ คุณแม่จึงควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรก เพื่อกำหนดอายุครรภ์ให้ชัดเจน สูติแพทย์จะมีการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวัดปริมาณน้ำคร่ำเป็นระยะ เพื่อประเมินสุขภาวะของทารกในครรภ์ต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

น้ำคร่ำ คืออะไร ? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี ? อันตรายต่อลูกในท้องไหม ?

น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร มีอาการแบบไหน ใกล้คลอดหรือยังแบบนี้

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการน้ำคร่ำมาก น้ำคร่ำน้อย ได้ที่นี่ !

น้ำคร่ำ มาก ผิดปกติไหมคะ ปล่อยไว้อันตรายไหมคะ

น้ำคร่ำ น้อย เกิดจากอะไรคะ อันตรายกับลูกหรือเปล่าคะแบบนี้

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร
แชร์ :
  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

  • อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

    อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

  • 50 ชื่อลูกจากธนาคารทั่วโลก เสริมมงคล เรียกทรัพย์รัว ๆ

    50 ชื่อลูกจากธนาคารทั่วโลก เสริมมงคล เรียกทรัพย์รัว ๆ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

  • อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

    อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

  • 50 ชื่อลูกจากธนาคารทั่วโลก เสริมมงคล เรียกทรัพย์รัว ๆ

    50 ชื่อลูกจากธนาคารทั่วโลก เสริมมงคล เรียกทรัพย์รัว ๆ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ