theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

นวดฝ่าเท้าทารกกระตุ้นพัฒนาการสมอง

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
นวดฝ่าเท้าทารกกระตุ้นพัฒนาการสมอง

การนวดเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ไม่เฉพาะแต่ผู้ใหญ่อย่างเรานะคะที่ชื่นชอบการนวด แม้แต่ทารกน้อยก็ชอบเช่นกันค่ะ เชื่อไหมคะว่า การนวดเท้าสามารถกระตุ้นพัฒนาการสมองของทารกได้ อยากทราบแล้วใช่ไหมคะว่าจะกระตุ้นอย่างไร และมีวิธีการนวดอย่างไร ติดตามอ่าน นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

การนวด คือ  การผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ  ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตในร่างกายไหลเวียนได้สะดวกขึ้น   ทารกน้อยก็ชื่นชอบการนวดสัมผัสเช่นกันค่ะ เพราะทำให้เจ้าหนูรู้สึกสบายเนื้อสบายตัว  ที่สำคัญการนวดยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกได้อีกด้วย

นวดฝ่าเท้าทารกกระตุ้นการพัฒนาการสมองอย่างไร

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

1. "เท้า" เป็นอวัยวะที่รวมของเส้นประสาทมากมาย และเส้นประสาทจากฝ่าเท้ายังเชื่อมโยงประสานไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เรียกว่าตั้งแต่ปฏิสนธิการพัฒนาเส้นประสาทถูกพัฒนามาจากกลุ่มเซลล์ชั้นนอกของตัวอ่อนที่มีต้นตอเดียวกันกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย   ดังนั้น  การนวดเท้าจึงเป็นการกระตุ้นระบบประสาทในร่างกายนั่นเอง

2. การนวดกดจุดฝ่าเท้าถือเป็นศาสตร์ในการบำบัดและรักษาอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายในระดับเบื้องต้น  การนวดเท้ามีความสัมพันธ์โดยตรงต่อระบบประสาทและสมอง  เป็นจุดที่ช่วยให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตในสมองหมุนเวียนได้ดี  โดยเฉพาะเด็กทารกจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองได้ดีเยี่ยม

3. หากคุณพ่อคุณแม่นวดฝ่าเท้าเป็นประจำก่อนเด็กอายุ 6 ขวบจะดีมาก เพราะเซลล์สมองของมนุษย์จะพัฒนาเต็มที่ถึงอายุ 6 ขวบ ถ้าโดยนวดเบา ๆ ทุกวัน วันละ 5 นาที ก่อนนอน จะทำให้ลูกพัฒนาสมองได้อย่างดีมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ต่อยอดต่อไป

บทความแนะนำ  โอกาสทอง!!!เพิ่มเซลล์สมองให้ลูกก่อนสายเกินไป

4. การนวดยังช่วยกระตุ้นระบบประสาทในสมองที่ควบคุมการดูดซึมอาหาร ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักเพิ่มตามพัฒนาการ ช่วยลดฮอร์โมนที่สร้างความตึงเครียดให้กับทารก

5. สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด หลับยาก หรือร้องกวน การนวดจะช่วยให้ทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้ทารกหลับได้ง่ายขึ้น

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

นวดฝ่าเท้าทารก : ท่าที่ 1 

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

1.  ท่านี้เรียกว่า ท่ารำพัด เป็นท่าสำหรับบริหารส่วนข้อเท้า  จับเท้าทั้งสองของลูกยกขึ้น จับเท้าลูกให้อยู่ในท่าพัด

2. ใช้นิ้วหัวแม่มือของคุณแม่มีพยุงและกดเบา ๆ ไปตรงกลางของฝ่าเท้าของลูก  ให้ค่อนไปด้านบน จากนั้นหมุนเท้าทั้งสองข้าง   เข้า  –  ออก  10 ครั้ง

3. ท่ารำพัดนี้ ช่วยบริหารกระดูกและข้อให้เเข็งแรง ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเดิน และการทรงตัวให้มั่นคงสมวัย

บทความแนะนำ  ทารกทรงตัวดีส่งสัญญาณว่าสมองทำงานดี

นวดฝ่าเท้าทารก : ท่าที่ 2

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

1. ท่านวดทั่วฝ่าเท้า  ท่านวดฝ่าเท้าท่านี้เป็นการนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อและระบบเส้นประสาททุกจุดของฝ่าเท้าทั้งสองข้าง

2. วิธีการ คือ  ให้คุณแม่วางนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างบนฝ่าเท้าของทารกข้างที่ต้องการนวด  ใช้นิ้วหัวเเม่มือกดที่เท้าของทารกเบา ๆ พร้อมกัน ห้ามใช้ปลายนิ้วกดนะคะ เพราะแรงกดจะทำให้ลูกเจ็บ  จากนั้นเปลี่ยนตำเเหน่งนวดจนทั่วฝ่าเท้าและด้านข้างฝ่าเท้าด้วย 3 รอบ แล้วเปลี่ยนข้าง

3.  นวดฝ่าเท้าแบบท่าลูกกลิ้ง คือ  ให้คุณแม่ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกลิ้งขาลูกไปมา โดยเริ่มจากหัวเข่าไปยังข้อเท้า แล้วกลิ้งลง ทำข้างละประมาณ  5 ครั้ง  เสร็จแล้วทำอีกข้างเช่นเดียวกัน

นวดฝ่าเท้าทารก : ท่าที่ 3

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

1. ท่านวดนิ้วเท้าทั้ง 10 วิธีการนวดของท่านี้  โดยการให้คุณแม่จับนิ้วเท้าลูกทีละข้างยกขึ้นทำการนวดไปทีละนิ้ว    โดยจับที่นิ้วด้านบนแล้วนวดเป็นวงกลมไล่ลงไปจนถึงโคนนิ้ว นวดขึ้นแล้วนวดลงจนครบทั้ง 10 นิ้ว

2. หากเป็นทารกแรกเกิดอาจทำได้เฉพาะปลายนิ้วเพราะนิ้วลูกนั้นยังเล็กและสั้น

3. ท่าคลึงฝ่าเท้า ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดฝ่าเท้าของทารกจากส้นเท้าขึ้นมาที่นิ้วเท้าทุกนิ้ว ทีละนิ้ว จากนั้นลูบบนฝ่าเท้าลูกเข้าหาตัวคุณแม่

4. ท่านวดนิ้วเท้าทั้ง 10 มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบประสาท  พัฒนาการการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดี  บางครั้งลูกอาจมี รีเฟล็กซ์ ซึ่งเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ  คือ  เจ้าหนูจะมีอาการจั๊กกะจี๋ดึงเท้าออกแล้วหัวเราะชอบใจ ทำให้การนวดครั้งนี้เต็มไปด้วยความสนุกสนานและเสียงหัวเราะนั่นเอง

ประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้าทารก

นวดฝ่าเท้าทารก กระตุ้นพัฒนาการสมอง

1. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในสมองและร่างกายไหวเวียนได้สะดวก นำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆของร่างกาย

2. เพิ่มสมรรถภาพให้แก่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย พัฒนาศักยภาพด้านการเคลื่อนไหว  ข้อต่อ    เส้นเอ็น  เส้นประสาทให้แข็งแรงมีประสิทธิภาพ  กระตุ้นพัฒนาการด้านการทรงตัวได้ดี

3. กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท  เพิ่มพลังสมอง  พัฒนาด้านความจำและเรียนรู้

4. ช่วยให้ทารกเกิดการผ่อนคลาย  ส่งผลให้ลูกมีอารมณ์ดี นอนหลับง่ายและหลับได้นานขึ้น

5. ปรับสมดุลของเนื้อเยื่อต่าง ๆ กระตุ้นเซลล์ผิวหนังส่งผลให้ผิวพรรณสดใส

ได้ทราบวิธีการนวดฝ่าเท้าให้ลูกน้อยกันแล้วนะคะ  อย่ารอช้า!!!  มาเริ่มปฏิบัติกันเลยค่ะ   ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://thaitutorsquare.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นวดสัมผัสเสริมสร้างพัฒนาการของทารก

เคล็ดลับนวดลูกน้อยจากเป้ย ปานวาด และเอ๋ พรทิพย์

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • นวดฝ่าเท้าทารกกระตุ้นพัฒนาการสมอง
แชร์ :
•••
  • นวดฝ่าเท้าเบา ๆ ก็ทำลูกเราฉลาดได้นะแม่ ๆ นวดฝ่าเท้าเท่ากับกระตุ้นสมอง

    นวดฝ่าเท้าเบา ๆ ก็ทำลูกเราฉลาดได้นะแม่ ๆ นวดฝ่าเท้าเท่ากับกระตุ้นสมอง

  • นวดกดจุดฝ่าเท้าทารกตรงไหน หมายถึงอะไร

    นวดกดจุดฝ่าเท้าทารกตรงไหน หมายถึงอะไร

  • พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

    พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

  • นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

    นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

app info
get app banner
  • นวดฝ่าเท้าเบา ๆ ก็ทำลูกเราฉลาดได้นะแม่ ๆ นวดฝ่าเท้าเท่ากับกระตุ้นสมอง

    นวดฝ่าเท้าเบา ๆ ก็ทำลูกเราฉลาดได้นะแม่ ๆ นวดฝ่าเท้าเท่ากับกระตุ้นสมอง

  • นวดกดจุดฝ่าเท้าทารกตรงไหน หมายถึงอะไร

    นวดกดจุดฝ่าเท้าทารกตรงไหน หมายถึงอะไร

  • พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

    พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

  • นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

    นมแม่สารพัดประโยชน์ ไม่ได้จบที่แค่ให้ลูกดูดอย่างเดียว

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป