X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก ทำไมเด็ก 1-2 เดือนแรกจึงไม่ควรดูดนมจากขวด?

บทความ 3 นาที
เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก ทำไมเด็ก 1-2 เดือนแรกจึงไม่ควรดูดนมจากขวด?เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก ทำไมเด็ก 1-2 เดือนแรกจึงไม่ควรดูดนมจากขวด?

นมแม่เป็นอาหารทิพย์ที่ดีที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิด เด็กทารกควรได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึง 6 เดือนเป็นอย่างน้อย แต่ถ้าช่วง เดือนแรกแม่มีน้ำนมน้อย ต้องให้นมเสริมจะทำอย่างไร ควรให้ลูกดูดนมจากขวดหรือไม่ เพราะอะไรถึงบอกกันจังว่าเด็ก 1-2 เดือนแรกไม่ควรให้ดูดนมจากขวด เรามีคำตอบค่ะ

เพราะช่วงเวลาที่ลูกได้ดูดนมจากเต้าแม่เป็นช่วงเวลามีค่าที่เด็กได้รับการไออุ่นจากการอุ้มและกอดจากอ้อมอกแม่ ขณะดูดนมได้สัมผัส สบตาและสานสายใยรักระหว่างแม่และลูก ทำให้ลูกได้รู้สึกถึงความรัก ความอ่อนโยนและการปลอบประโลมจากสัมผัสที่มั่นคงของแม่ และน้ำนมจากเต้าแม่ยังอุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์ที่เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยที่สำคัญยังอุดมไปด้วยภูมิต้านทานโรค สะอาด และประหยัดที่สุด เพื่อมอบแต่สิ่งดีๆให้กับลูกปัญหาเอาลูกเข้าเต้าไม่ได้จึงเป็นสิ่งที่ต้องรีบจัดการ เทคนิค ดูดนมเด็ก

 

เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก เพราะอะไรเด็ก 1-2 เดือนแรกคลอดจึงไม่ควรดูดนมจากขวด

เพราะระยะแรกเกิด 1-2 เดือนแรกเป็นช่วงเวลาที่เด็กกำลังเรียนรู้และหัดดูดนม ตามธรรมชาติของเด็กหากดูดจากแหล่งใดง่ายก็จะติดการดูดจากแหล่งนั้น ซึ่งกลไกการดูดนมจากจุกนมยางต่างจากการดูดจากเต้าแม่ จากการศึกษาพบว่าประมาณ 50 % ของเด็กแรกเกิดที่ได้ดูดนมจากจุกยางในระยะนี้มีโอกาสไม่ยอมดูดนมแม่ เซ็งเต้าแม่เร็วขึ้น เพราะหัวนมแม่มีความยืดหยุ่นดีกว่าจุกนมยางทำให้เด็กต้องใช้กล้ามเนื้อหลายมัดในการดูด น้ำนมแม่จะไหลออกมาเมื่อลูกออกแรงดูดถ้าหยุดดูดนมแม่ก็จะหยุดไหล

ดูดนมเด็ก ลักษณะของหัวนมแม่ทำให้ลูกดูดแล้วน้ำนมจะพุ่งเข้าในปากได้ลึกกว่าและพุ่งลงสู่ทางเดินอาหารได้ทันทีต่างจาก การดูดนมจากจุกยางที่น้ำนมไหลออกเร็วตลอดเวลาทำให้ลูกดูดนมได้เร็วกว่าเต้าแม่ หากมาเข้าเต้าแม่ลูกจะสับสนจนไม่ยอมดูดนมจากเต้า และถ้าลูกเจอขวดเร็วเกินไปเข้าจะเกลียดเต้า จะรู้สึกหงุดหงิดเพราะน้ำนมจากเต้าแม่ไหลไม่เร็วทันใจเหมือนดูดจากขวด ช่วงระยะหลังคลอดจนถึง 1 เดือนแรกจึงควรฝึกให้ลูกดูดเต้าแม่ให้เก่งเสียก่อน โดยเอาลูกเข้าเต้าทุกครั้งที่ลูกต้องการประมาณ 8-12 ครั้งต่อวัน

 

เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก

เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก ให้ลูกดูดขวดตั้งแต่เกิด

 

เทคนิค ดูดนมเด็ก ถ้าแม่ไม่มีน้ำนมต้องให้นมเสริมจะทำอย่างไร

ในกรณีที่แม่มีน้ำนมน้อยหรือ แม่อยู่ในภาวะจำเป็นต้องให้นมเสริมเช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ   น้ำหนักลดลงเกิน 10% ก็ต้องไม่นำขวดนมมาป้อนให้ลูก แต่ใช้วิธีป้อนนมเสริมจากแก้ว,ใช้ช้อนตักป้อนนมให้ลูก, ใช้หลอดหยอดที่เต้าให้ลูกดูด หรือต่อสายพลาสติกมาจ่อที่หัวนมให้ลูกดูดแทนการให้ดูดจากจุกยางและใช้น้ำนมแม่ที่ปั๊มเก็บไว้ให้ลูกกินแทนนมผง

 

เมื่อลูกครบ 1เดือนแล้วอยากฝึกให้ชินกับการดูดนมจากขวดทำอย่างไร

หากคุณแม่อยากให้ลูกฝึกกินนมจากขวดเพราะแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านก็ทำได้ โดยใช้จุกเบอร์ S หรือ SS ห้ามใช้เบอร์ M หรือ L แม้ลูกจะโตขึ้นก็ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ลูกไม่ติดความเร็วจากการดูดนมจากขวดจะได้ไม่หงุดหงิดเมื่อกลับมาดูดเต้าแม่ เวลาป้อนนมจากขวดควรถือขวดให้ขนาดกับพื้นราบ จับลำตัวลูกให้ตั้งขึ้น อย่าให้เด็กนอนราบแล้วถือขวดนมตั้งขึ้นเพราะจะทำให้เด็กสำลักนมได้ง่ายและลูกจะติดความเร็วจากการไหลของน้ำนมจากขวด การถือขวดในแนวราบจะทำให้เด็กดูดนมได้ช้าลงและไม่สำลัก กลับมาดูดนมจากเต้าแม่จะได้ไม่สับสนและไม่หงุดหงิดหากน้ำนมจากเต้าแม่ไหลไม่ทันใจ

 

นอกจากนี้การให้ลูกดูดนมจากเต้าแม่ตั้งแต่แรกคลอดก็เป็นการช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นไปในตัวด้วยจะได้มีน้ำนมในปริมาณที่มากพอให้ลูกกินไปจนถึง 6 เดือน หรือจนถึง 2 ขวบ การให้ลูกกินนมจากเต้าแม่ช่วงแรกๆอาจเหนื่อยไปนิด อดนอนไปบ้างก็ขอให้คุณแม่อดทนนะคะ พอผ่านช่วง 3 เดือนไปแล้วทุกอย่างจะลงตัวมากขึ้น คุณแม่จะรู้สบายขึ้นเองค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :

คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ

ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ กินนมแม่อย่างเดียวจะเพียงพอสำหรับลูกหรือไม่

สาวชาวม้ง วัย 17 คลอด ลูกชายแฝด 3 แม่ไม่มีน้ำนม เด็กต้องกินนมผง ขอรับบริจาคช่วยเหลือเรื่องนม

แหล่งข้อมูล

บทความจากพันธมิตร
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ

https://www.breastfeedingthai.com/ลูกไม่ดูดนมเพราะอะไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

daawchonlada

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก ทำไมเด็ก 1-2 เดือนแรกจึงไม่ควรดูดนมจากขวด?
แชร์ :
  • น้ำนมน้อย ลูกไม่พอกิน เพราะคุณแม่ลืมใส่ใจเรื่องเหล่านี้!

    น้ำนมน้อย ลูกไม่พอกิน เพราะคุณแม่ลืมใส่ใจเรื่องเหล่านี้!

  • ทำไมต้องให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

    ทำไมต้องให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • น้ำนมน้อย ลูกไม่พอกิน เพราะคุณแม่ลืมใส่ใจเรื่องเหล่านี้!

    น้ำนมน้อย ลูกไม่พอกิน เพราะคุณแม่ลืมใส่ใจเรื่องเหล่านี้!

  • ทำไมต้องให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

    ทำไมต้องให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ