theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

3 พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวังก่อนจะสาย

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
3 พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวังก่อนจะสาย

เชื่อว่าแม่ทุกคนย่อมคาดหวังว่าอยากให้ลูกคลอดออกมาสมองดี ฉลาด สดใส แต่หลายคนก็มักจะละเลยหรือไม่ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่ทำซ้ำๆ บ่อยๆ จนกลายเป็นสิ่งทำร้ายสมองลูก

เมื่อมีตัวเล็ก ๆ มาอยู่ในครรภ์ ไม่ว่าว่าที่คุณแม่จะทำอะไร ย่อมส่งผลต่อลูกในครรภ์ทั้งสิ้น ทั้งภาวะทางอารมณ์ อาหารการกิน วิถีชีวิตประจำวัน หรือความเคยชินต่าง ๆ เช่น การดื่มกาแฟ การสูบบหรี่ ความเครียดจากงาน เป็นต้น บ้างก็ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูก การเจริญเติบโต สติปัญญา ยิ่งไปกว่านั้น บางพฤติกรรมมีความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสมองของลูกอีกด้วย มาดู 3 พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวังก่อนจะสายเกินไปค่ะ

พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์

พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์

1. แม่ท้องไม่ยอมกินอาหารที่จำเป็นกับสมองลูก

การขาดสารอาหารที่สำคัญต่อการพัฒนาสมองลูกในครรภ์ ส่งผลเสียอย่างยิ่งมากมายจนคุณแม่คาดไม่ถึง สารอาหารนั้นได้แก่ โปรตีน โฟเลท  และไอโอดีน

  • อันตราย เมื่อขาดโปรตีน:จะส่งผลให้สมองของทารกในครรภ์มีขนาดเล็กกว่าปกติ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ต่อไป
  • อันตราย เมื่อขาดโฟเลท: ขาดโฟเลทในระหว่างที่ตั้งครรภ์จะทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์หยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงในกระดูก ส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจาง  ปากแหว่งเพดานโหว่ และที่สำคัญ คือ  โรคหลอดประสาทพิการ
  • อันตราย เมื่อขาดไอโอดีน : ถ้าแม่ท้องเกิดขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรง จนเกิดภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน ทารกในครรภ์จะขาดฮอร์โมนตามไปด้วย
พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์

แม่ท้องขาดสารอาหาร ที่จำเป็นต้องการเจริญเติบโตของครรภ์

2. แม่ท้องสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

  • แม่ท้องสูบบุหรี่ : คนท้องที่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ จะมีผลต่อทารกในครรภ์  สารเคมีในบุหรี่จะทำลายโครโมโซมของทารก   ทำให้ทารกตายตอนคลอดได้ มีผลทำให้พัฒนาการของทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่า  มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ภายหลังคลอดทันที และมีแนวโน้มจะเป็นโรคหอบหืดเมื่อโตขึ้น  สำหรับทารกที่คลอดออกมาแล้ว และต้องอยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารก คือ  ทำให้ทารกมีระดับสติปัญญาต่ำ  เมื่อโตขึ้นจะมีบุคลิกไม่อยู่นิ่ง  เป็นเด็กสมาธิสั้นมีพัฒนาการทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเรียนรู้ไม่เหมาะสมกับวัย
  • แม่ท้องดื่มแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์ของแม่ท้องขณะตั้งครรภ์มีผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทารกทุกด้าน ทั้งต่อร่างกาย สมอง พฤติกรรม และการเรียนรู้ของทารก โดยระดับความรุนแรง และอาการแสดงมีตั้งแต่แท้งลูกจนถึงพิการแต่กาเนิด ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกที่ผิดปกติ เช่น การเรียนรู้ การจดจำ ภาษา การพูด สมาธิสั้น IQ ต่ำ
พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์

สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ทำลายสมองลูกในครรภ์

3. แม่ท้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมอันตรายได้รับสารพิษต่าง ๆ

  • สารหนู : สารหนูมักปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้ น้ำดื่ม อาหารทะเล เครื่องสำอาง ยาแผนโบราณ  และยากำจัดศัตรูพืช ทารกในครรภ์หากได้รับสารหนูปนเปื้อนในน้ำนมแม่จะทำให้มีระดับ สารหนูในเลือดสูง  เกิดภาวะโลหิตจาง  ทำให้เม็ดเลือดขาวน้อยลง และการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ระบบประสาท และสมองผิดปกติ  และยังมีผิวหนังลอกด้วย
  • สารปรอท : สารปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำ และดิน จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การเผาขยะ  ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน ปนเปื้อนในเครื่องสำอาง และอาหาร  โดยเฉพาะในอาหารทะเลจะพบมากในสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่คนท้อง ควรหลีกเลี่ยงสารปรอทด้วยการไม่เข้าใกล้สถานที่ที่มีการเผาไหม้ของขยะ หรือเชื้อเพลิงต่าง ๆ ควรเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ  แทนการใช้เครื่องสำอางที่ผลิตจากสารเคมี
  • สารตะกั่ว : มักพบในสีทาบ้าน หรืออาจปนเปื้อนมากับอาหาร อากาศ และน้ำ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม หากคุณแม่ตั้งครรภ์สูดอากาศที่มีสารพิษที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนเข้าไป จะสามารถผ่านทางรกไปสู่ลูกในท้องได้ พิษจากสารตะกั่วทำลายสมอง และระบบประสาท  ตับ  ไต  หัวใจ  ทางเดินอาหาร ส่งผลให้ทารกในครรภ์พิการทางสมอง  ตาบอด  หูหนวก หรือเสียชีวิตในครรภ์ได้ นอกจากนี้ สาระตะกั่วยังไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะบางส่วนของทารกในครรภ์อีกด้วย
พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์

แม่ท้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษ หรือไม่เหมาะสม

_________________________________________________________________________________________

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

อ้างอิง : livescience.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาหารอันตราย ห้ามกินตอนท้องแก่ ใกล้คลอดแล้วห้ามกินอะไรบ้าง

วิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร ถึงจะรู้ว่าลูกปลอดภัย ไม่เสียชีวิตในครรภ์

ท้องแข็งแบบต่างๆ แยกอย่างไร ลูกโก่งตัว แค่กินอิ่ม หรือใกล้คลอดแล้ว

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

Weerati

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 3 พฤติกรรมทำลายสมองลูกในครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวังก่อนจะสาย
แชร์ :
•••
  • ทารกในครรภ์โตช้า อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

    ทารกในครรภ์โตช้า อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

  • ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

app info
get app banner
  • ทารกในครรภ์โตช้า อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

    ทารกในครรภ์โตช้า อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

  • ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป