X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ ?

บทความ 5 นาที
ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ ?ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ ?

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ จะเริ่มให้ลูกดื่มน้ำได้ตอนไหน ให้ลูกกินน้ำก่อนเวลามีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ ? เป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนถามกันเข้ามาอยู่บ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้ว ทารกยังไม่ต้องการน้ำเปล่า เนื่องจากในน้ำนม ก็มีปริมาณน้ำ เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้ว การให้ลูกทารกดื่มน้ำเปล่ามากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกมากกว่า เพราะน้ำจะไปทำให้ลูกอิ่ม และไม่อยากดื่มนม ทั้งนมผง และนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตในช่วงวัยทารกเป็นอย่างมาก

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่

ทารกเริ่มดื่มน้ำเปล่าได้ตอนไหน

ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่มเติมจากนมแม่ หลังจาก 6 เดือนแรกผ่านไปนั้น คุณแม่จึงสามารถให้ลูกเริ่มดื่มน้ำเปล่าที่สะอาด ในอุณหภูมิห้องได้ แต่ก็อย่าให้มากกว่า 60 – 120 มิลลิลิตรต่อวัน และไม่กระทบกับการดื่มนมของลูก เนื่องจากการดื่มนมแม่นั้นเป็นอาหารหลักสำหรับเด็กวัยทารก ไปจนถึง 12 เดือน

หลังจากนั้น เมื่อลูกอายุได้หนึ่งขวบ คุณแม่สามารถหัดให้ลูกดื่มน้ำ หรือนมจากแก้วได้ ถ้าหากลูกเริ่มทานอาหารเสริมจากนมแม่อื่น ๆ บ้างแล้ว สามารถให้ลูกจิบน้ำระหว่างมื้ออาหาร เพื่อช่วยในการขับถ่าย และลดอาการท้องผูก

ประโยชน์ของการดื่มน้ำ

เมื่อลูกเริ่มกินอาหารเสริมได้แล้ว ลูกอาจจะท้องผูกได้ การดื่มน้ำจะช่วยให้อุจจาระนุ่มลง และป้องกันปัญหาท้องผูก เมื่อลูกอายุมากกว่า 6 เดือนแล้ว น้ำปริมาณเล็กน้อยที่คุณให้ลูกดื่มระหว่างมื้อ จะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำในสภาพอากาศร้อน ๆ ได้ หากลูกมีปัญหาท้องผูก หรือขาดน้ำเนื่องจากอากาศร้อนมาก ลูกอาจต้องดื่มน้ำ 180 – 240 มิลลิลิตรต่อวัน แต่คุณควรปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะให้ลูกดื่มน้ำมากขนาดนั้น

ลูกกินนมผสมน้ำได้ไหม

น้ำเปล่า ต่างจากนมผงชง หรือนมแม่ เพราะไม่มีสมดุลที่ดีของอิเล็กโทรไลท์ เช่น โซเดียม และโพแทสเซียม หากลูกดื่มน้ำเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ร่างกายไม่สมดุล โซเดียมต่ำเกินไป นำไปสู่ภาวะสมองบวม และเกิดอาการชักได้ในบางกรณี การเติมน้ำลงไปในนมผงมากขึ้น อาจทำให้ประหยัดนมผงไปได้มาก แต่จะทำให้ทารกได้รับน้ำมากเกินไป จนเป็นอันตราย เช่นเดียวกับทารกที่เรียนว่ายน้ำ และอาจกลืนน้ำเข้าไปมาก จนเกิดภาวะโซเดียมต่ำเกินไป นำไปสู่การชัก

การให้ลูกดื่มน้ำชดเชยน้ำที่เสียไป กรณีเจ็บป่วย

ในกรณีที่ลูกอยู่ในวัยที่สามารถดื่มน้ำได้เป็นปกติแล้ว หากลูกอาเจียน หรือท้องร่วงรุนแรง เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะให้ลูกดื่มน้ำ เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายลูกเสียไป แต่การให้ลูกดื่มน้ำเปล่าในกรณีเช่นนี้ อาจทำให้ระดับโซเดียมในร่างกายลูกลดต่ำลงก็ได้ ควรให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปแทนที่จะให้ลูกดื่มน้ำเปล่า หากคุณหมอแนะว่าให้งดนมผงชงในระยะสั้น ในช่วงที่ลูกเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารนั้น ส่วนมากคุณแม่มักจะยังได้รับอนุญาตให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อได้ ซี่งต่างจากการใช้นมผง

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่

ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ หลังจาก 6 เดือนแรกผ่านไปนั้น จึงสามารถให้ลูกเริ่มดื่มน้ำเปล่าได้ แต่ก็อย่าให้มากกว่า 60 – 120 มิลลิลิตรต่อวัน

การป้องกันภาวะขาดน้ำในสภาพอากาศร้อน

ถ้าหากลูกมีอายุต่ำกว่า 6 เดือน และยังไม่สามารถดื่มน้ำได้ คุณแม่อาจจะให้ลูกดื่มนมแม่บ่อยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย และหากต้องให้นมบ่อย ๆ คุณแม่เองก็ต้องดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม ในระหว่างให้นม อาจจะใช้ผ้ารองระหว่างตัวคุณแม่กับลูก เพื่อลดการเสียดสีระหว่างผิวหนังได้ ถ้าหากผ้าอ้อมของลูกเปียกชื้นบ่อย ๆ ก็แสดงว่าลูกได้รับปริมาณน้ำอย่างเพียงพอ และไม่เสี่ยงต่อการขาดน้ำแล้ว

ความเสี่ยงอื่น ๆ เกี่ยวกับน้ำ

มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดเจ็บป่วยจากการดื่มน้ำ แต่โรคระบาดของการติดเชื้อปรสิต หรือแบคทีเรีย เช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella) ก็มาจากน้ำดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำจากบ่อ เพราะฉะนั้น การต้มน้ำก่อนที่จะให้ลูกดื่ม หรือใช้น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้ว ในการชงนม ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่มีอีกสิ่งที่ต้องระวังคือ ไนเตรทในน้ำบ่อ ซึ่งทำให้เกิดภาวะบลูเบบี้ซินโดรมในทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือนได้ อาการดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะไนไตรท์ จะจับตัวเข้ากับฮีโมโกลบินในเลือด และไปลดปริมาณฮีโมโกลบินซึ่งมีหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจน เพื่อไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของทารก หากคุณใช้น้ำจากบ่อเพื่อการบริโภค ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ดีก่อนว่า มีไนไตรท์หรือไม่ เพราะการต้ม หรือการกรองไม่อาจกำจัดไนไตรท์ในน้ำได้

แล้วลูกสามารถดื่มน้ำอื่น ๆ ได้หรือไม่

อาหาร และเครื่องดื่มที่เข้าสู่ร่างกายของลูกในวัยทารก ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น หากลูกอายุต่ำกว่า 12 เดือน พ่อแม่ไม่ควรให้ลูกดื่มเครื่องดื่มอื่น ๆ เช่น น้ำผลไม้ โซดา น้ำหวานต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยิ่งไม่ควรให้ลูกดื่มไม่ว่าจะช่วงอายุเท่าไหร่ก็ตาม

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่

โรคระบาดของการติดเชื้อปรสิต หรือแบคทีเรีย เช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella) ก็มาจากน้ำดื่มได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำจากบ่อ การต้มน้ำก่อนดื่มหรือชงนม ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้

เครื่องดื่มที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

เมื่อลูกโตขึ้นจนสามารถดื่มน้ำอื่น ๆ ได้ น้ำเปล่า และนม ก็ยังเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดสำหรับลูก

  • น้ำเปล่า

ร่างกายของเด็ก ๆ มีการสูญเสียน้ำอยู่ตลอดเวลา ผ่านทางการหายใจ เหงื่อออกทางผิวหนัง การขับถ่าย สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้ลูกดื่มน้ำสะอาด นอกจากจะช่วยเติมความชุ่มชื้น และลดภาวะขาดน้ำในร่างกายให้ลูกแล้ว ฟลูออไรด์ในน้ำสะอาด ยังสามารถช่วยปกป้องฟันให้ลูกได้อีกด้วย

  • นม

เครื่องดื่มชนิดแรกที่ลูกเริ่มดื่มก็คือ นมแม่ จากนั้นก็เร่ิมผสมกับนมผง และตามมาด้วยอาหารเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน

เมื่อลูกอายุ 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกดื่มนมวัวได้ หากไม่มีอาการแพ้ สำหรับการดื่มนมวัวนั้น ไม่ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ หรือแคลลอรี่ต่ำให้กับลูก เพราะเด็กวัยนี้ยังต้องการพลังงานอย่างมากในการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ยังสามารถให้นมแม่ได้อยู่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับลูกมากขึ้น

ควรหลีกเลี่ยงนมแพะ นมแกะ นมอัลมอนด์ นมมะพร้าว และน้ำนมถั่วเหลือง สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ส่วนน้ำนมจากธัญพืช เช่น น้ำนมข้าว น้ำนมจากข้าวโอ๊ตนั้น นับว่ามีปริมาณโปรตีน และวิตามินบี 12 ที่ไม่เพียงพอต่อเด็กวัยเจริญเติบโต ถ้าหากพ่อแม่ต้องการให้ลูกดื่มน้ำนมเหล่านี้ ก็ควรจะเพิ่มเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ โยเกิร์ต ชีส เข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จะต้องแน่ใจว่าลูกไม่มีอาการแพ้อาหารเหล่านี้ ทางที่ดีควรให้ลูกทานทีละนิด หรือปรึกษาแพทย์ว่าลูกสามารถทานอาหารชนิดนี้ได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย

เครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับเด็กอายุ 12 เดือนขึ้นไป

  • น้ำผลไม้

การให้ลูกดื่มน้ำผลไม้อาจทำให้ลูกไม่อยากดื่มนมแม่ หรือนมขวดได้ อีกทั้งน้ำตาลในน้ำผลไม้ อาจทำให้ลูกฟันผุอีกด้วย เมื่อลูกโตขึ้นมาอีกนิด น้ำผลไม้สด ไม่ใส่น้ำตาล เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมคือ 125 มิลลิลิตร ก็พอ

  • น้ำหวาน

การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวานต่าง ๆ เครื่องดื่มผสมวิตามิน เครื่องดื่มที่ให้พลังงาน ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มน้ำตาลให้กับลูก หากบริโภคมากเกินไปลูกอาจจะติดหวาน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้

  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

ชา กาแฟ โคล่า หรือเครื่องดื่มให้พลังงาน ซึ่งมีส่วนผสมของคาเฟอีนไม่เหมาะกับเด็กทั้งสิ้น ร่างกายของพวกเขายังไม่สามารถรับสารคาเฟอีนได้มาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ การดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จะรบกวนการนอนหลับของลูก อาจทำให้รู้สึกกระสับกระส่ายได้

 

ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 

มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ ?

เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด

ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!! https://bit.ly/32T4NsU

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

source : www.pregnancybirthbaby.org.au

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทุกเรื่องเกี่ยวกับการทำอาหารเสริมทารก

เดี๋ยวก็ให้ป้อนน้ำ เดี๋ยวก็ให้ป้อนกล้วย! รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี

ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ ?
แชร์ :
  • ลูกเริ่มโตแล้ว จะดื่มน้ำได้หรือยังนะ

    ลูกเริ่มโตแล้ว จะดื่มน้ำได้หรือยังนะ

  • ลูกกินน้ำได้เท่าไหร่ต่อวัน แม่สงสัยกันไหม (อายุ 6 เดือน - 4 ปี)

    ลูกกินน้ำได้เท่าไหร่ต่อวัน แม่สงสัยกันไหม (อายุ 6 เดือน - 4 ปี)

  • 10 ภาพจริงของทารกขณะยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในท้องแม่

    10 ภาพจริงของทารกขณะยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในท้องแม่

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

app info
get app banner
  • ลูกเริ่มโตแล้ว จะดื่มน้ำได้หรือยังนะ

    ลูกเริ่มโตแล้ว จะดื่มน้ำได้หรือยังนะ

  • ลูกกินน้ำได้เท่าไหร่ต่อวัน แม่สงสัยกันไหม (อายุ 6 เดือน - 4 ปี)

    ลูกกินน้ำได้เท่าไหร่ต่อวัน แม่สงสัยกันไหม (อายุ 6 เดือน - 4 ปี)

  • 10 ภาพจริงของทารกขณะยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในท้องแม่

    10 ภาพจริงของทารกขณะยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในท้องแม่

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ