X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกกินนมแม่ แบบไหนที่ส่งผลต่อการให้นมของแม่

บทความ 3 นาที
ทารกกินนมแม่ แบบไหนที่ส่งผลต่อการให้นมของแม่ทารกกินนมแม่ แบบไหนที่ส่งผลต่อการให้นมของแม่

การให้นมแม่สำหรับลูกน้อยเป็นเรื่องที่คุณแม่ทุกคนล้วนต้องการเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในช่วงแรกเกิด แต่ปัญหานมแม่นั้นไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะร่างกายแม่อย่างเดียว พฤติกรรมเกี่ยวกับนิสัยการกินนมของเจ้าตัวเล็กนั้นมีผลต่อการให้นมของแม่ด้วย

ทารกกินนมแม่ แบบไหนที่ส่งผลต่อการให้นมของแม่

ทารกกินนมแม่

#ทารกที่ไม่ยอมกินนมแม่

โดยปกติแล้วเมื่ออุ้มทารกเข้าเต้า สัญชาตญาณของทารกแรกเกิดจะสามารถดูดเต้าของคุณแม่ได้ทันที การที่ลูกไม่ดูดนมแม่หรือไม่ยอมกินนมแม่อาจมีหลายสาเหตุ เช่น ลูกคันเหงือกเมื่อฟันเริ่มขึ้น หรือหายใจไม่สะดวกเนื่องจากเป็นหวัด คุณแม่มีหัวนมสั้น มีน้ำนมมากหรือน้อยเกินไป อุ้มไม่ถูกท่า มีแผลในปาก ลูกไม่สบาย เป็นต้น วิธีแก้คือ ลองเปลี่ยนท่าให้นม เขี่ยปากเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปากเข้าเต้า การให้นมถูกท่าจะช่วยให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายขึ้น ลองปรับแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุ และสร้างบรรยากาศในการนอนของลูกเพื่อง่ายต่อการกินนมได้มากขึ้น

ลูกลิ้นเป็นฝ้า 2

#ลิ้นเป็นฝ้าขาว

ฝ้าขาวที่ลิ้น หรือภายในช่องปากบริเวณเพดานปากหรือกระพุ้งแก้ม คือเชื้อราที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่แรกคลอดถึง 6 เดือนถือเป็นอาการที่ปกตินะคะ คราบสะสมที่เกิดเป็นเชื้อราขึ้นนี้อาจเกิดจากนมที่ลูกกินเข้าไป  จึงเกิดเชื้อแบคทีเรียสะสมเป็นฝ้าหนาอยู่ที่ลิ้นของเจ้าตัวเล็ก พอมีคราบขาวจากเชื้อราเยอะหรือหนามาก เด็กเล็กมักจะมีอาการงอแงไม่ยอมกินนม กินนมน้อยส่งผลให้น้ำหนักตัวลด เพราะว่าลูกเจ็บปากที่เกิดจากเชื้อราจับตัวอยู่ในปากนั่นเอง แถมเชื้อรานี้ยังแพร่ไปยังเต้านมของคุณแม่ขณะที่ลูกกินนมอีกด้วย จุดเหล่านี้อาจแตกเป็นสะเก็ดและคันซึ่งส่งผลทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บเต้านม ดังนั้นเมื่อพบว่าลูกมีฝ้าขาวในช่องปาก ควรพาเจ้าตัวน้อยไปพบแพทย์รักษาอาการเพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งแม่และลูกนะคะ

ปัญหาที่ทำให้แม่มีน้ำนมน้อยหรือให้ลูกกินนมลำบาก เกิดจากอะไรได้อีก อ่านหน้าถัดไปกันค่ะ >>

ทารกกินนมแม่

#ลูกชอบกินนมข้างเดียว

ทารกบางรายช่างเลือก ชอบกินนมข้างเดียว ดูดแต่ข้างที่ถนัด เพราะข้างที่ลูกไม่ชอบดูดนั้น อาจมีน้ำนมพุ่งแรงเกินไป เมื่อไม่ค่อยดูดน้ำนมจึงผลิตออกมามาก หรือกลายเป็นว่าเมื่อไม่ค่อยดูดน้ำนมอีกข้างจึงไม่ค่อยผลิตออกมา ทำให้มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมเลยก็ได้ วิธีแก้คือ

  • ลองให้ลูกกินนมข้างที่ไม่ชอบ ในท่าเดียวกับข้างที่ลูกชอบกิน หรือท่าลูกถนัดเต้าขวาก็ลองอุ้มเข้าเต้าซ้ายก่อน หรือให้นมลูกในท่าฟุตบอลเพื่อให้แก้มซ้ายของลูกสัมผัสเต้าเหมือนกับการดูดที่เต้าขวา ลูกอาจคิดว่านี่คือเต้าที่ชอบดูดก็เลยยอมดูด การทำเช่นนี้เพื่อกระตุ้นให้เต้านมทั้งสองข้างผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในปริมาณที่เท่ากัน และควรสลับให้ลูกได้ดูดทั้งสองข้างนะคะ
  • นมข้างที่ลูกไม่ชอบดูดอาจเป็นเพราะมีน้ำนมพุ่งแรง สามารถแก้ได้โดยการปั๊มน้ำนมออกก่อนเอาลูกเข้าเต้าเพื่อให้เหลือนมน้อยลง แล้วให้ดูดในท่านอนตะแคง เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลพุ่งขึ้น หรือคุณแม่นอนหงายแล้วลูกนอนคว่ำบนตัวแม่ กดเต้านมด้านล่างเพื่อให้หัวนมชี้ลงพื้นขณะลูกดูด น้ำนมจะได้ไม่สำลักขึ้นจมูก

#เจอลูกน้อยกัดหัวนม

เจอลูกกัดหัวนม ในขณะให้นมนี่ไม่สนุกเลยใช่ไหมค่ะ แม่บางคนทนเจ็บไม่ไหวเลิกให้นมลูกไปเลยก็มี โดยเฉพาะยิ่งในช่วงที่ลูกฟันขึ้น แม่คุณเอ้ย! แต่ความจริงแล้วลูกจะไม่กัดหัวนมในขณะดูดนมแม่นะคะ แต่คุณแม่อาจโดนลูกกัดหัวนมในตอนเริ่มให้นมกับตอนกินเสร็จต่างหาก เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องระวัง เพราะตอนที่จะถอนหัวนมออกจากปากลูก กลไกตามธรรมชาติของการขยับเหงือกและฟันทำให้โดนกัดหัวนมได้ ลองแก้ปัญหานี้ด้วยการให้ลูกอ้าปากกว้าง ๆ เพื่อที่หัวนมแม่จะได้เข้าไปลึก ๆ ในปากลูก ไม่โดนฟันและเหงือก  พยายามให้ลูกอมบริเวณลานนม ก็จะช่วยป้องกันการกัดหัวนมได้ หรือหายางกัดเพื่อลดอาการคันเหงือกในระหว่างที่ไม่ได้กินนม

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าเด็กที่เริ่มโตขึ้นจะไม่กัดหัวนมแม่ตอนกินนม ถ้าคุณแม่ฝึกให้ลูกสบตาแม่อยู่ตลอด เช่นในตอนที่คุยกับลูกหรืออ่านนิทาน วิธีนี้จะทำให้ลูกเคยชินกับการสบตาแม่และคอยจ้องแม่เวลากินนม เพื่อที่ลูกจะคอยฟังว่าแม่จะพูดอะไร หากเข้าใจกลไกตามธรรมชาติและรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เจ้าตัวเล็กมีผลต่อการกินและให้นม คุณแม่ยังคงให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ต่อไปเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกนะคะ


ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sanook.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

ทำไมให้นมแม่มันยากขนาดนี้! แม่แชร์ ปัญหาให้นมลูก ที่เจอบ่อยที่สุดพร้อมวิธีแก้

10 ประโยชน์ที่ยกให้ "นมแม่" ชนะเลิศ

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทารกกินนมแม่ แบบไหนที่ส่งผลต่อการให้นมของแม่
แชร์ :
  • เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

    เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

  • กินนมแม่ผสมน้ำ อันตรายทำลูกเสียชีวิต หยุดอ่านก่อนป้อนทารก

    กินนมแม่ผสมน้ำ อันตรายทำลูกเสียชีวิต หยุดอ่านก่อนป้อนทารก

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

    เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

  • กินนมแม่ผสมน้ำ อันตรายทำลูกเสียชีวิต หยุดอ่านก่อนป้อนทารก

    กินนมแม่ผสมน้ำ อันตรายทำลูกเสียชีวิต หยุดอ่านก่อนป้อนทารก

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ