X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป อาจทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน

บทความ 3 นาที
จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป อาจทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวานจ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป อาจทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน

เรามักจะเห็นเด็กทารก ที่ตัวจ้ำม่ำ เป็นเด็กน่ารัก ดูท่าทางเลี้ยงง่าย กินง่าย ใช่ไหมคะ แต่เราอาจจะลืมคิดไปว่า ลูกอ้วนเกินไป หรือเปล่า น้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กทารก อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และทำให้ลูกเป็นโรคเบาหวานหรืออื่น ๆ ได้

จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป ทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน

เด็กเล็กวัย 2 ขวบ ไปจนถึงเด็กวัยเรียน ต้องระวังเรื่องน้ำหนัก หรือความอ้วน เพราะส่งผลต่อเด็กโดยตรง ในเรื่องของการทรงตัวไม่ดี เพราะน้ำหนักที่มากเกินไป และยังเสี่ยงทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน และมีระดับเอสโตรเจนสูง ยิ่งถ้าเป็นในเด็กผู้หญิงจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ เมื่อเขาโตขึ้นด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่าจะแก้ปัญหา ลูกอ้วนเกินไป ได้อย่างไรบ้าง

 

 

จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป อาจทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน

 

ไม่อยากให้ลูกอ้วนเกินไป พ่อแม่ต้องใส่ใจเรื่องเหล่านี้

1. ให้ลูกกินนมแม่

หากไม่อยากให้ลูกอ้วนเกินไป วิธีแรกเลยก็คือ ให้ลูกกินนมแม่ ผลการวิจัยระบุว่าการดื่มนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็ก นอกจากนี้ผลการศึกษาหลายชิ้นยังพบว่าเด็กที่กินนมแม่นั้น สามารถเรียนรู้การควบคุมความหิวได้ดีกว่าเด็กที่กินนมผง และมีแนวโน้มจะหยุดกินนมเมื่ออิ่มได้มากกว่านั่นเอง

2. สำรวจพฤติกรรม 

นอกจากเรื่องของการกินนมของลูกแล้ว เรื่องอื่นที่ควรใส่ใจ นั่นก็คือ คุณแม่มีพฤติกรรมเหล่านี้หรือเปล่า

  • รีบให้ลูกกินนมทันทีที่ลูกร้อง แทนที่จะให้ลูกกินนมทันที แนะนำให้ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีอื่น ที่จะทำให้ลูกหยุดร้องดูบ้าง เช่น ลูกขึ้นมาปลอบ หาของเล่นให้ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก
  • ให้ลูกนอนหลับโดยที่มีขวดนมคาอยู่ในปาก
  • ให้ลูกทานอาหารเสริมก่อนอายุ 4-6 เดือน
  • ให้ทานขนมและของทอดบ่อย ๆ (ในกรณีที่เป็นเด็กโต)

ถ้าคุณทำแบบนี้บ่อย ๆ แนะนำให้ลดลงบ้างก็จะดี เพราะเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้ อาจทำให้ลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักที่เกินไปกว่ามาตรฐานได้

จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป อาจทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน

3. อย่าให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

น้ำผลไม้ ไม่ใช่อาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กทารกเลย แนะนำว่าอย่าให้เด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือนดื่มน้ำผลไม้จะดีที่สุด (เว้นเสียแต่คุณหมอจะแนะนำว่าต้องให้ดื่มเพื่อรักษาอาการท้องผูก) แต่ในกรณีที่ลูกน้อยของคุณมีอายุเกินกว่า 6 เดือนไปแล้ว ถ้าคุณอยากให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ ก็ควรจำกัดปริมาณแต่พอดี อย่าให้ลูกดื่มน้ำผลไม้เกิน 118 มิลลิลิตร หรือ 4 ออนซ์ต่อวัน

 

4. อย่าให้ลูกอดอาหาร

คุณแม่หลายคนอาจจะคิดว่า เมื่อเห็นลูกจ้ำม่ำเกินไป หรือตัวอ้วนเกินไป ก็แค่ไม่ให้นมลูก หรือให้ลูกกินนมน้อย ๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก

ถ้าลูกน้อยอ้วนเกินไป แนะนำว่าพยายามอย่าควบคุม หรือจำกัดอาหารลูก บ่อยครั้งของพ่อแม่ที่มีลูกอ้วน มักพยายามจำกัดการกินของลูก หรือพ่อแม่หลายคนที่ลูกไม่ได้อ้วนมากอะไร แค่จ้ำม่ำตามวัย กลับมีความกังวลมากจนเกินไป และมักจะคอยจำกัดการกินของลูก เพราะกลัวลูกอ้วนในอนาคต แต่จริง ๆ แล้ว คุณควรปล่อยให้ลูกทาน หรือดื่มนมจนกว่าจะอิ่มไปเองมากกว่า

บางครั้งการที่คุณแม่ไปขัดขวางการกินของลูก ก็อาจทำให้เขาไม่พอใจ และหงุดหงิดได้ ถ้าเด็กไม่อิ่มก็จะยิ่งหงุดหงิด แล้วอาจอยากกินอะไรมากขึ้นกว่าปกติอีก เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งกังวลเรื่องความอ้วนจนเกินไป เน้นไปที่การให้ลูกทานจนอิ่มก่อนดีกว่า

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็กกันหน่อย ลูกควรสูงแค่ไหน หนักเท่าไหร่ในแต่ละเดือน

 

นอกจากนี้แล้ว การที่คุณแม่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ หรืออ้วนเกินไปตั้งแต่ตอนท้อง ก็อาจส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีน้ำหนักเกินได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่เองก็ต้องพยายามควบคุมน้ำหนักตัวเองตั้งแต่ตอนท้องด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีข้อสงสัย หรือสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีน้ำหนักมากเกินไปจนผิดสังเกต แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

ทำความเข้าใจเรื่อง “น้ำหนักส่วนสูงเด็ก” ก่อนลูกเข้าเรียนอนุบาล

อาหารลดความอ้วน อาหารลดน้ำหนัก มีอะไรบ้าง คนอยากหุ่นดีต้องอ่าน

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป อาจทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน
แชร์ :
  • ภาวะสมองกระเทือนของลูกน้อยอันตรายกว่าที่คิด

    ภาวะสมองกระเทือนของลูกน้อยอันตรายกว่าที่คิด

  • ลูกหวงของ หวงของเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรดี ?

    ลูกหวงของ หวงของเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรดี ?

  • 7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

    7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

  • 7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

    7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

app info
get app banner
  • ภาวะสมองกระเทือนของลูกน้อยอันตรายกว่าที่คิด

    ภาวะสมองกระเทือนของลูกน้อยอันตรายกว่าที่คิด

  • ลูกหวงของ หวงของเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรดี ?

    ลูกหวงของ หวงของเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรดี ?

  • 7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

    7 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

  • 7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

    7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ