ตั้งครรภ์ได้ไหม ? หากเป็นโรคเบาหวาน

แน่นอนว่าคู่แต่งงานมักต้องการที่จะมีลูกน้อยไว้เชยชมและเติมเต็มความสมบูรณ์ให้ครอบครัว แต่คุณแม่เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นมาล่ะ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีลูกแล้วอย่างนี้จะมีลูกได้หรือไม่ จะเสี่ยงอันตรายหรือไม่ ติดตามอ่าน
โรคเบาหวาน

ตั้ งครรภ์ได้ไหม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์ ได้กล่าวถึงโรคเบาหวานดังนี้ เบาหวาน (Diabetes mellitus หรือเรียกย่อว่า โรคดีเอ็ม, DM) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ทั้งนี้เกิดจากการที่ในเลือดมีน้ำตาลสูงกว่าปกติโรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุและทั้งสองเพศ แต่จะพบได้สูงขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และศูนย์เบาหวานศิริราชได้แถลงว่า ขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณกว่า 3.5 ล้านคน
อาการ
สัญญาณที่บ่งบอกถึงการเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน แม้ว่าจะสามารถไม่บ่งบอกเฉพาะโรคโดยตรงแต่หากพบอาการเหล่านี้ ได้แก่ การมองเห็นไม่ชัด, ปวดศีรษะ, อ่อนเพลีย, รักษาแผลหายช้า, และคันที่ผิวหนัง, ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการดูดซึมกลูโคสในเลนส์ตาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสายตาหรือผื่นผิวหนังจำนวนมากที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากสังเกตตนเองแล้วถ้ามีอาการตามที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาคุณหมอนะคะ
ตั้งครรภ์ได้ไหม ? หากเป็นโรคเบาหวาน

ตั้งครรภ์ไ ด้ไหม
นพ.วิริยะ เล็กประเสริฐ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กล่าวว่า ในหญิงที่เป็นโรคเบาหวานและต้องการตั้งครรภ์สามารถตั้งครรภ์ได้ หากสภาวะโรคเบาหวานที่เป็นอยู่ไม่มีระดับที่รุนแรงมากนัก คือ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้เองโดยการควบคุมอาหารก็ไม่มีปัญหาใดมากนักหากตั้งครรภ์ แต่ถ้าอยู่ในระดับที่ต้องควบคุมด้วยยารับประทานนั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น เพราะจำเป็นต้องเปลี่ยนจากยารับประทานมาเป็นยาฉีดแทน สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานระดับรุนแรงถึงขนาดมีโรคหลอดเลือดแทรก เช่น จอประสาทตาเสื่อม ภาวะไตเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจก็ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์
ในช่วงตั้งครรภ์คุณหมอจะมีวิธีการดูแลคุณแม่โรคเบาหวานอย่างไร

ตั้งครรภ์ไ ด้ไหม
การดูแลคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานให้ได้ผลดีจะต้องมีทีมงานหลายฝ่ายทั้ง คุณหมอ นักโภชนาการ พยาบาล เพื่อได้ช่วยกันทำให้การควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของคุณแม่และการติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์
การควบคุมระดับน้ำตาล
คุณแม่จะได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับนํ้าตาลเป็นระยะ ๆ จะมากหรือน้อยครั้งก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็น จากค่าระดับนํ้าตาลที่ได้ ทั้งคุณหมอและนักโภชนาการจะนำมาคำนวณเพื่อจัดเตรียมอาหารให้แก่คุณแม่และจัดเตรียมขนาดยาอินซูลินเพื่อฉีดให้เหมาะสม
การติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์เป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ถ้ามีปัญหาจะได้แก้ไขและให้การดูแลที่เหมาะสมต่อไป
ผลกระทบของโรคเบาหวานต่อการตั้งครรภ์
ข้อมูลจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ให้ข้อมูลว่า คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานมาตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานจากการตั้งครรภ์หลายประการ และส่วนมากแล้วภาวะแทรกซ้อนที่มีก็มักจะรุนแรงกว่าภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานจากการตั้งครรภ์ ยิ่งคุณแม่เป็นโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์นานเท่าไร ปัญหาก็จะยิ่งมากเท่านั้น
ผลกระทบต่อคุณแม่
ส่วนผลกระทบต่อคุณแม่ คือ เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ แฝดน้ำ คุณแม่เกิดการบาดเจ็บจากการคลอด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อลูกน้อยนั้นมีมากมาย ได้แก่ ทารกแท้ง ทารกพิการ ทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดยากเพราะตัวโต ปอดไม่พัฒนา ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ทารกเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

ตั้งครร ภ์ได้ไหม
การคลอด
1. ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าควรจะให้คุณแม่คลอดเมื่อไรถึงจะดี การให้คลอดเร็วไป ปอดของลูกอาจจะยังทำงานได้ไม่ดี แต่คลอดช้าไปลูกอาจจะตายเสียก่อนก็เป็นได้ โดยทั่วไปคุณหมอมักจะแนะนำคุณแม่คลอดเมื่ออายุครรภ์ 39 สัปดาห์หรือน้อยกว่าถ้าควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของคุณแม่ได้ไม่ดีพอ
2. สำหรับวิธีการคลอด ถ้าไม่มีปัญหาอะไรคุณแม่ก็สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถ้าคุณหมอเห็นว่าลูกของคุณแม่น่าจะตัวใหญ่มาก การผ่าตัดคลอดจะปลอดภัยกว่า เพราะถ้าให้คลอดทางช่องคลอดอาจมีปัญหาคลอดติดไหล่ หรือบาดเจ็บจากการคลอดของอวัยวะอื่น
3. การผ่าตัดคลอดเองก็มีปัญหาไม่น้อยเพราะคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสที่จะมีการติดเชื้อของแผลผ่าตัดได้ค่อนข้างง่าย และถ้าลูกตัวใหญ่ มดลูกถูกยืดขยายมากก็อาจมีปัญหาตกเลือดหลังคลอดจากการที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
การดูแลหลังคลอด

ตั้งคร รภ์ได้ไหม
ภายหลังการคลอด ส่วนมากแล้วอาการของโรคเบาหวานจะดีขึ้น และสามารถที่ปรับลดขนาดของยาในการควบคุมโรคเบาหวานได้ คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานทุกคนควรจะได้รับการควบคุมระดับนํ้าตาลภายหลังคลอดให้ดี เพื่อจะได้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคในขณะที่ไม่ตั้งครรภ์เช่นเดียวกันกับขณะที่ไม่ตั้งครรภ์
คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน แต่อยากมีลูกน้อยไว้เชยชมตามที่คุณหมอได้กล่าวมาก็สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ในขั้นตอนแรกควรไปตรวจสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อเตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์ก่อนนะคะ ต้องเริ่มจากการดูแลตนเองให้แข็งแรง การควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในระดับที่คงที่ก่อน คุณก็สามารถตั้งครรภ์และมีลูกได้ค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
อ้างอิงข้อมูลจาก
วารสารวิชัยยุทธ ฉบับที่ 44
เอกสารเผยแพร่ความรู้ เป็นโรคเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์
http://women.sanook.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำไมต้องเลือกอาหารทดแทนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน