คิดว่าท้องต้องบำรุงไง สุดท้าย เอ๊าอ้วน อ้วนเกินไป ลดน้ำหนักได้ไหมระหว่างท้อง
กินเยอะแยะ แต่ไม่ลงลูก อ้วนล่ะสิทีนี้ แม่ท้องต้องทำไง
คิดว่าท้องต้องบำรุงไง สุดท้าย เอ๊าอ้วน
คิดว่าท้องต้องบำรุงไง สุดท้าย เอ๊าอ้วน อ้วนเกินไป ลดน้ำหนักได้ไหม ระหว่างท้อง ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยสำหรับคนท้องคือด้วยความห่วงกลัวล
ท้องแล้วหนักแคไหนเรียกพอดี
คุณแม่หลายคนคงทราบแล้วว่าการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็นไตรมาสคือทุกๆ 3 เดือนค่ะ และน้ำหนักควรจะเพิ่มขึ้นตามสูตร คือ 1/5/5 เช็คได้ง่ายๆคือ
- สามเดือนแรกน้ำหนักควรขึ้น 1 กิโลกรัม
- สามเดือนที่สอง 5 กิโลกรัม
- สามเดือนสุดท้ายอีก 5 กิโลกรัม
สำหรับในเดือนแรกๆ น้ำหนักตัวของคุณแม่บางคนยังไม่ขึ้นมากนัก อาจจะเกิดจากการที่แม่มัวแต่ อาเจียน แพ้ท้อง ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย น้ำหนักจึงขึ้นน้อย โดยปกติแล้วแม่ท้องมีระยะเวลาของตั้งครรภ์ทั้งหมดประมาณ 40 สัปดาห์ ดังนั้นน้ำหนักที่คาดว่าควรจะเพิ่มขึ้นจึงควรเพิ่มมาประมาณ 11-12 กิโลกรัม
ทำไมบางคนท้องใหญ่ บางคนท้องเล็ก เกี่ยวกับอ้วนไม่อ้วนมั๊ย
แม่ท้องแต่ละคนจะมีขนาดของรูปร่างและท้องต่างกันออกไปตามขนาดของร่างกายและโครงสร้างค่ะดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์การเจริญเติบโตของร่างกายและครรภ์ก็ไม่เหมือนกัน ขนาดมดลูกของแต่ละคนและระยะเวลาในการตั้งครรภ์ก็มีส่วนที่ทำให้ขนาดครรภ์ต่างกันด้วยเช่นกัน โครงสร้างของแต่ละคนก็มีผลต่อขนาดของครรภ์เช่น ผู้หญิงที่รูปร่างเล็กผอมบางแต่มีกระดูกเชิงกรานบาง อาจจะมีขนาดของท้องที่ใหญ่กว่าผู้หญิงที่รูปร่างสูง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วขนาดของครรภ์จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแม่ที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
อ้วนเกินไป ลดน้ำหนักได้ไหม ระหว่างท้อง
แม่ท้องหากคิดว่าน้ำหนักตัวมากเกินไป ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อนอะไรไหม อาจเป็นโรคเบาหวานแฝงมา หรือครรภ์ผิดปกติ คุณแม่บางคนอาจจะเป็นคนอ้วนง่าย และในช่วงตั้งครรภ์ก็เริ่มบำรุงจึงทำให้น้ำหนักเกินง่าย ถ้าเกินคงต้องปรับหรือเปลี่ยนอาหาร แต่ไม่แนะนำให้อดอาหารเป็นมื้อไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม อาหารที่เน้นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็คืออาหารประเภท เนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ที่ไม่มีรสหวานและไม่มีแคลอรีสูง
น้ำหนักตัวที่พุ่งพรวด ครรภ์แฝดน้ำ ลูกคลอดมาพิการ
สำหรับในบางรายน้ำหนักตัวขึ้นเร็วมาก หรือหากมีอาการตัวบวม ขนาดของท้องขยายผิดสังเกต และหากหลังเท้า บริเวณฝ่าเท้า หน้าแข้งบวมมาก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นน้ำที่สะสมจากภาวะแทรกซ้อนของครรภ์ที่ผิดปกติ ถ้าหากขนาดของครรภ์ใหญ่เร็วมาก อาจจะมีภาวะครรภ์แฝดน้ำที่ทำให้มีน้ำคร่ำเยอะในภาวะนี้ส่วนใหญ่เด็กจะมีความพิการ หากมีอาการดังกล่าวแม่ท้องควรรีบพบแพทย์ค่ะ
บทความเกี่ยวข้อง
ลดน้ำหนักตอนให้นม ยังไง นมแม่ไม่เสียคุณค่าและไม่หดหาย
ถ้าคนท้องอ้วน ลูกจะอ้วนตามไปด้วยไหม ตอนคลอดจะน่ากลัวขนาดไหน แล้วจะทำไงดี