ข้อดี vs ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส

การแต่งงานและจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามประเพณีนั้น เป็นการประกาศให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่าคุณสองคนได้เป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ในสังคมปัจจุบันคู่รักหลายคนอาจมองว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นจะส่งผลถึงข้อผูกพันทางกาย และทางกฏหมายหลายอย่าง
การตัดสินใจในชีวิตคู่ร่วมกันและมีการแต่งงานขึ้นเพื่อประกาศให้ครอบครัวทั้งสองฝ่าย ญาติสนิทมิตรสหาย ได้รับรู้ ในเรื่องของการแต่งงานที่เกิดขึ้นนั้นทางกฏหมายไม่ได้บังคับเรื่องการจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดก็ได้ แล้วแต่ความพึงพอใจของคนทั้งคู่ แต่ก่อนที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะจดหรือไม่จดทะเบียนดี มาพิจารณาข้อดีและข้อเสียการจดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรสจากก่อนจรดปลายปากกากันคะ
ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส
- ภรรยาที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนในหลาย ๆ บริษัท การทำธุรกรรมต่าง ๆ จะยุ่งยากมากขึ้น
- ภรรยาต้องเปลี่ยนข้อมูลทางนิติกรรม ทั้งเปลี่ยน Passport เปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวต่างๆ
- ต้องแยกสินส่วนตัวกับสินสมรส โดยจะต้องตกลงกันเป็นสัญญาก่อนการสมรสไว้ในทะเบียนสมรส
- ดอกผลจากสินส่วนตัว ต้องกลายเป็นสินสมรส เช่น การได้รับเงินเดือนโบนัสก็ถือเป็นสินสมรสได้เหมือนกัน
- การทำนิติกรรมตาม **มาตรา 1476 **ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะทำได้
- ถ้าสามีหรือภรรยาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรสให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน
- ถ้าสามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย
ข้อดีของการจดทะเบียน
- เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฏหมาย
- คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดกเสมือนตนเป็นทายาทชั้นบุตร
- ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ จะเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต
- บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายทั้ง 2 ฝ่าย
แล้วข้อดี vs ข้อเสียจากการไม่จดทะเบียนสมรสล่ะ >>>
ข้อเสียของการไม่จดทะเบียนสมรส
- เป็นสามีภรรยากันแต่ในนาม
- ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของคู่สมรส
- ไม่มีสิทธิ์รับเงินประกัน
- บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายแต่ฝ่ายหญิงเท่านั้น เว้นแต่ฝ่ายชายจะจดทะเบียนรับรอง
- ฝ่ายหญิงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าอุปการะบุตรจากฝ่ายชาย
ข้อดีของการไม่จดทะเบียนสมรส
- ไม่มีสินสมรส เงินใครเงินมัน
หมายเหตุ ***ความหมายของมาตรา1476 สามีภริยาที่จดทะเบียนร่วมกันต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนี้
- ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า จำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ ยกเว้นการจำนำที่ทำฝ่ายเดียวได้
- ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
- ให้กู้ยืมเงิน
- ให้โดยเสน่หาเว้นแต่การให้พอสมควรแก่ฐานะ
- นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน
- ประนีประนอมยอมความ
การจัดการทรัพย์สินสมรสนอกจากที่ระบุ สามีภริยาจัดการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ที่มา : www.weddingsquare.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
12 ข้อดีของทะเบียนสมรสที่เมียถูกกฎหมายต้องรู้
ตอบทุกคำถามกับกระแสที่ทุกคนสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส