theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

ข้อดีของการจับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย

บทความ 3 นาที
แชร์ :
•••
ข้อดีของการจับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย

คุณแม่อาจจะเกิดความสงสัยว่า ทั้งๆ ที่ American Academy of Pediatrics ได้มีคำแนะนำให้เด็กทารกนอนหงาย เนื่องจากท่านอนหงายมีโอกาสเกิดโรค SIDS ต่ำกว่าท่านอนตะแคงและท่านอนคว่ำ แล้วทำไมเรายังจะแนะนำให้จับลูกนอนคว่ำอีก มาฟังคำตอบกันค่ะ

ในเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ควรให้ลูกนอนหงายตามที่ American Academy of Pediatrics แนะนำเพื่อป้องกันโรค SIDS หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็ก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กนอนคว่ำ ดังเราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของทารกที่พ่อแม่จับให้นอนคว่ำอยู่เป็นระยะ เพราะการนอนคว่ำก็มีข้อดีหลายประการ ดังนี้

  • ปอดทำงานได้ดีกว่า เนื่องจากไม่ถูกหัวใจกดทับ เมื่อปอดขยายตัวได้ดีเวลาลูกหายใจ ก็ส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีกว่า
  • ในเด็กเล็กหูรูดรอยต่อของกระเพาะอาหารกับหลอดอาหารยังทำงานได้ไม่ดีนัก หากลูกแหวะนมในท่านอนคว่ำจะปลอดภัยกว่าท่านอนหงาย ซึ่งนมอาจย้อนเข้าหลอดลมทำให้สำลักได้
  • ป้องกันการนอนผวา หรือสะดุ้งตื่น หลับไม่สนิทในเด็กทารก เมื่อจับลูกนอนคว่ำ ลูกจะนอนหลับได้นานขึ้น
  • ป้องกันลูกหัวแบนจากการนอนหงาย การนอนคว่ำทำให้ลูกหัวทุยสวย

จากข้อดีข้างต้น ทำให้พ่อแม่จำนวนไม่น้อยเลือกที่จะให้ลูกนอนหลับในท่านอนคว่ำ โดยคิดว่า ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ก็เคยมี SIDS เกิดขึ้นมาแล้ว แม้จะเป็นการทำเพียงครั้งแรก หรือ ครั้งเดียวก็ตาม

สิ่งที่เราจะแนะนำ คือ การจับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่น

การจับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นดีอย่างไร

การจับลูกนอนคว่ำ ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกวัย 0-6 เดือนได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างทารกที่นอนหงายในระหว่างวัน กับทารกที่นอนคว่ำในระหว่างวัน โดยสถาบัน Paediatric Chartered Physiotherapists (APCP) พบว่า ทารกที่นอนคว่ำในระหว่างวันจะมีพัฒนาการที่ดีกว่า คือ สามารถพลิกตัว คลาน นั่ง ลุก ยืน และเดินได้เร็วกว่า เนื่องจาก การนอนคว่ำจะช่วยให้ทารกเรียนรู้ที่จะใช้กล้ามเนื้อคอ แขน ขา และลำตัวในการเคลื่อนไหว และสามารถควบคุมท่วงท่าต่างๆ ได้อย่างสมดุล

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจได้แนะนำถึงประโยชน์ของการจับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นไว้ดังนี้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกลูกนอนคว่ำ คือ ทารกจะฝึกยกคอขึ้นจากพื้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ถ้าลูกยกคอได้ดี จะลดความเสี่ยงในเกิด SIDS เพราะลูกจะสามารถหันคอหนีไปจากสิ่งที่ขัดขวางทางเดินหายใจ การนอนคว่ำช่วยส่งเสริมพัฒนาการ เพราะว่าถ้ากล้ามเนื้อคอแข็งแรง จะทำให้ลูกพลิกคว่ำได้เร็ว นำไปสู่การนั่งเองได้ และการคลานเป็นอันดับต่อไป

ลูกต้องการการเรียนรู้วิธีควบคุมการทรงตัวของศีรษะให้นิ่ง รวมถึงความสามารถในการหันศีรษะไปตามทิศทางที่ต้องการ เมื่อมีสิ่งเร้ามาดึงดูดความสนใจ โดยจะต้องมีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงพอที่จะประคองศีรษะให้นิ่ง ขณะที่มีการเคลื่อนที่ของศีรษะ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจับลูกนอนคว่ำหน้า

  • ตำแหน่งที่วางลูกควรเป็นพื้นราบอยู่ที่ต่ำ เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง
  • ไม่มีสิ่งของนุ่มนิ่มอยู่ใกล้ๆ ซึ่งอาจอุดทางเดินหายใจของลูกได้
  • ฝึกวันละ 2-3 ครั้งๆ ละนานประมาณ 5-10 นาที บางคนอาจเริ่มจากวันละครั้ง ถ้าลูกไม่ร้องไห้ ให้อยู่ท่านั้นไปได้นานเท่าที่ลูกยอม ซึ่งอาจเป็นเพียง 15 วินาที หรือ นาน 15 นาที ถ้าลูกร้องไห้ ให้อุ้มขึ้นได้เลย
  • ทารกบางคนร้องไห้เพราะยังไม่ชิน และยังมีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง ยกศีรษะไม่พ้น จึงหงุดหงิดที่ตัวเองทำไม่ได้ วิธีแก้ไข คือ ให้ฝึกบ่อยๆ ลูกจะทำได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มสนุกกับการอยู่ในท่านี้ได้ในที่สุด
  • อย่าจับนอนคว่ำภายใน 1 ชม.หลังกินข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกอาเจียนง่าย

วิธีฝึกลูกให้สนุกกับการนอนคว่ำ

  • จัดให้ลูกนอนคว่ำบนตัวพ่อแม่ หรือ วางนอนคว่ำพาดขวางบนตัก
  • พ่อแม่นอนคว่ำด้วย หันหน้าเข้าหาลูก เอาของเล่นสีสันสดใสหรือกรุ๊งกริ๊งมาล่อหลอก
  • พ่อแม่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าตัวลูก ส่งเสียงพูดหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกพยายามเงยหน้าขึ้นมามองพ่อแม่
  • จัดลูกนอนคว่ำอยู่หน้ากระจก เพื่อให้ลูกเห็น และเล่นกับภาพตัวเองในกระจก
  • ทันทีที่ลูกเริ่มหงุดหงิด ให้จัดเป็นท่านอนหงาย แล้วเล่นเป่าปากที่พุงของลูก 2-3 ครั้งให้ลูกอารมณ์ดี แล้วเปลี่ยนเป็นท่านอนคว่ำ เป่าที่หลังแบบเดียวกัน มักเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจที่ได้ผลสำเร็จแทบทุกครั้ง

การจับลูกนอนคว่ำดีอย่างนี้นี่เอง ถ้าเจ้าตัวน้อยตื่นมารอบหน้า เรามาฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อคอกันดีกว่าค่ะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คัมภีร์การนอนของทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน

คัมภีร์การนอนของทารกวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ข้อดีของการจับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย
แชร์ :
•••
  • 5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

    5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

  • วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

    วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

  • คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

    คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

app info
get app banner
  • 5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

    5 เคล็ดลับการฝึกลูกนอนคว่ำเพื่อพัฒนาการที่ดี

  • วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

    วิธีฝึกลูกนอนคว่ำ เสริมพัฒนาการด้วยการใช้หน้าท้อง ต้องทำแบบนี้ถึงจะถูก

  • คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

    คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป