X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

"ขวัญเอยขวัญมา" เด็กตกใจ ไม่หยุดร้อง ต้องทำ “พิธี การเรียกขวัญลูก ”

บทความ 5 นาที
"ขวัญเอยขวัญมา" เด็กตกใจ ไม่หยุดร้อง ต้องทำ “พิธี การเรียกขวัญลูก ”"ขวัญเอยขวัญมา" เด็กตกใจ ไม่หยุดร้อง ต้องทำ “พิธี การเรียกขวัญลูก ”

เวลาที่เด็กร้องไห้ไม่หยุด โบราณเขาว่าให้ทำการเรียกขวัญเด็กง่าย ๆ ด้วยการโอบกอดและตบหลังเบา ๆ พร้อมพูดว่า “ขวัญเอ๋ยขวัญมา” เป็นการเรียกขวัญให้กลับเข้ามา เพื่อเด็กจะได้หยุดร้องไห้ โดยสมัยก่อนนั้นจะจัด “พิธีเรียกขวัญ” เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวของเด็ก

พิธี การเรียกขวัญลูก

ขวัญเอยขวัญมา ถ้าลูกตกใจ ให้เรียกขวัญ ความเชื่อที่ส่งต่อกันมา แต่โบราณ ที่เชื่อว่า ถ้าเด็กร้องไห้ ตกใจ อย่างไม่มีสาเหตุ จึงมี การเรียกขวัญลูก โดยจะมีหมอทำขวัญ มาช่วยทำพิธีเรียก "ขวัญ"  ให้กลับมาสถิตอยู่กับตัว เพราะความเชื่อที่เป็นที่มาของ การเรียกขวัญลูก เกิดจากโบราณว่า ขวัญนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ประจำตัวในคนมาแต่กำเนิด ถ้าขวัญอยู่กับตัว ก็ทำให้คนนั้นอยู่เย็นเป็นสุข

การเรียกขวัญลูก

การทำขวัญ หรือ การเรียกขวัญลูก จึงเป็นพิธีที่คนไทยได้ถือปฏิบัติต่อ ๆ กันมา ซึ่งแต่ละท้องถิ่น ก็จะมีรายละเอียดของ พิธีเรียกขวัญแตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อเรียกขวัญลูก ที่เกิดอาการสะดุ้ง ตกใจ ตื่น หรือร้องไห้ กลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีสาเหตุ ให้ขวัญกลับมา อยู่กับเนื้อกับตัว เป็นการปลอบโยน ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย หายจากการตกใจกลัวและหวาดผวา

การทำขวัญอย่างเป็นพิธี จึงมีหมอทำขวัญที่มีความรู้ด้านเรียกขวัญ เป็นผู้กล่าวคำเชิญขวัญ ให้มีเนื้อความตรงกับสิ่งที่กำลังทำพิธีอยู่ เช่น เรียกขวัญเด็กทารก ก็จะกล่าวเชิญแม่ซื้อให้มารักษาตัวเด็ก ไม่ให้เจ็บไข้ โดยใช้อุปกรณ์ ในพิธีเรียกขวัญ ได้แก่ ด้ายขาว 2 เส้น ข้าวสาร พริกแห้ง 1 เม็ด เกลือ มีด

วิธีการเรียกขวัญ  เรียกขวัญ จะทำลูกน้อยที่มีอาการตกใจ กลัว ร้องไห้ หวาดผวา มานั่ง หรือนอนในลักษณะเหยียดปลายเท้าไปทางประตูบ้าน ผู้เรียกขวัญจะนำจานที่ใส่อุปกรณ์เรียกขวัญมาวนรอบตัวเด็ก พร้อมพูดเรียกขวัญ หลังจากนั้น ผู้เรียกขวัญจะเอามือลูบตามเนื้อตามตัวของเด็ก เอาด้าย มาผูกข้อมือซ้ายขวา เรียกขวัญให้กลับมา อยู่กับเนื้อกับตัว พูดอวยพรให้เด็กมีสุขภาพดี และเอาพริก เกลือ ข้าวสารในจานซัดไปทางปลายเท้า เอามีดขีดที่ประตูเป็นรูปกากบาท แล้วเอามีดปักไว้ที่ร่องกระดาน เป็นอันเสร็จพิธีเรียกขวัญ

ตัวอย่างบทเรียกขวัญลูก มีเนื้อความดังว่า “ขวัญเอย มาอยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับพ่อกับแม่ ไปจนแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทอง ถือกระบองยอดเหล็ก อยู่ให้ครกแตกรากสากแตกใบ อยู่กับแม่จนแก่จนเฒ่า อย่ากินข้าวบนหัวเรือ อย่ากินเกลือบนหัวช้าง อย่าตกแม่น้ำใหญ่กว้าง อย่าอยู่ในน้ำเป็นเพื่อนปลา อย่าอยู่ในนาเป็นเพื่อนข้าว เชิญขวัญเจ้ามาเข้าเนื้อเข้าตัว ตัวเอง”

การเรียกขวัญลูก

นอกจากนี้ ยังมีพิธีเรียกขวัญทารก ซึ่งจะทำ ตั้งแต่แรกเกิด วันแรก 3 วัน หรือ 7 วัน เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ตัวเด็ก เป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ เข้าบ้านและให้ ขวัญ ช่วยดูแล ปกปักษ์ รักษาลูกน้อย ให้อยู่เย็น เป็นสุข และปลอดภัย

โดยการตามความเชื่อโบราณ ที่ทำกันมา จะนำทารก มาอาบน้ำ ชำระร่างกาย อ่างที่เตรียมสำหรับอาบนั้น ให้ใส่เงิน ทอง แก้วแหวน ไว้ก้นอ่าง โดยถือเคล็ดว่า เมื่อเด็กเติบโตขึ้น จะได้เป็นคนมั่งมี ศรีสุข เมื่อเสร็จแล้ว จึงปูเบาะ ลงกระด้ง แล้วนำทารก มาวางลงบนเบาะ ถ้าเป็นเด็กชาย ให้มีสมุดดินสอ ใส่ไว้ในกระด้ง ถือว่าเมื่อเจริญวัยขึ้น จะได้เป็นผู้รอบรู้ วิชาการ ได้เป็นนักปราชญ์ราชครู ถ้าเป็นเด็กหญิง ต้องมีด้ายเข็มใส่ เพื่อให้เด็กนั้น มีวิชาการ ทางเย็บปัก ถักร้อย เป็นแม่เรือนที่ดีต่อไป

ความเชื่อเรื่องขวัญนี้ เป็นการทำเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะ ตามหลักจิตวิทยาแล้ว มนุษย์คงมีสัญชาตญาณแห่งความกลัว จึงอาศัยพิธีความเชื่อต่าง ๆ เป็นที่พึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้ การเรียกขวัญลูก ยังคงมีให้เห็นอยู่ หรืออย่างเวลาที่ลูกล้มเจ็บ หรือตกใจร้องไห้เสียงดัง พ่อแม่ ก็มักจะปลอบลูกด้วยคำพูดว่า “ขวัญเอ๋ยขวัญมา” จนเป็นความคุ้นชินที่ทำกันต่อ ๆ มาไปซะแล้ว

การเรียกขวัญลูก

_________________________________________________________________________________________

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.thaigoodview.com และ www.horoscope.thaiza.com

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

พิธี “ทำขวัญทารก” ต้อนรับสมาชิกใหม่ เข้าบ้าน

น่ารู้! โกนผมไฟ vs พิธีทำขวัญเดือน หลังทารกครบ 1 เดือน

เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิด ที่กินในแต่ละวัน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • "ขวัญเอยขวัญมา" เด็กตกใจ ไม่หยุดร้อง ต้องทำ “พิธี การเรียกขวัญลูก ”
แชร์ :
  • ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

    ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

  • แม่เล่า! ลูกร้องไห้ไม่หยุด ร้องโดยปราศจากสาเหตุ อย่าลืมตรวจเช็คฝ่าเท้าลูก!

    แม่เล่า! ลูกร้องไห้ไม่หยุด ร้องโดยปราศจากสาเหตุ อย่าลืมตรวจเช็คฝ่าเท้าลูก!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

    ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

  • แม่เล่า! ลูกร้องไห้ไม่หยุด ร้องโดยปราศจากสาเหตุ อย่าลืมตรวจเช็คฝ่าเท้าลูก!

    แม่เล่า! ลูกร้องไห้ไม่หยุด ร้องโดยปราศจากสาเหตุ อย่าลืมตรวจเช็คฝ่าเท้าลูก!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ