กลไกการดูดนมของลูก ที่จะทำให้คุณเข้าใจ ว่าทำไมลูกต้องดูดถึงลานนม

มาทำความเข้าใจเรื่อง กลไกการดูดนมของลูกน้อย ไปพร้อมๆกันครับ
เชื่อหรือไม่ ลูกน้อยมีส่วนช่วยให้ดูดนมได้ดียิ่งขึ้น
อย่างที่ทราบกันครับว่านมแม่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมากมาย ไม่ว่าจะมีสารอาหารที่เหมาะสม ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการติดเชื้อ และยังช่วยบำรุงสมอง แต่เชื่อหรือไม่ว่าอวัยวะของลูกน้อยก็มีส่วนกระตุ้นน้ำนมแม่ได้เช่นกัน
กลไกการดูดนมของลูก
กลไกของการดูดนมของลูก นั้นต้องอาศัยการทำงานของลิ้นและขากรรไกรของลูกน้อย รวมถึงเต้านมคุณแม่ นอกจากนี้ยังมีไขมันที่แก้มของลูกน้อยที่ยังจะช่วยให้ลิ้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการดูดนมและยังช่วยให้แก้มของลูกน้อยคงตัวขณะที่ดูดนม และไขมันนี้เองที่ช่วยลดแรงกดดันขณะที่ลูกน้อยดูดนมจากเต้าคุณแม่อีกด้วยครับ
ภายในหลอดลมของลูกน้อยที่ทำหน้าที่ส่งอากาศไปยังปอด ก็มีส่วนช่วยในการดูดนม นอกจากนั้น ยังมีอีกอวัยวะหนึ่งที่ช่วยในการดูดนม คือกล้องเสียงที่กั้นระหว่างหลอดลม ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันอาหารและน้ำนมไหลเข้าสู่หลอดลมได้ครับ
อวัยวะทั้งหมดประสานงานกันอย่างลงตัวเพื่อช่วยให้นมผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะ และยังช่วยให้ขนาดของคอลูกน้อยขยายขึ้น ช่วยให้ขากรรไกรล่างขยายตัวขณะที่ดูดนมจากเต้าคุณแม่ ดังนั้น ลูกจึงต้องดูดถึงลานนม เพื่อให้ลูกดูดนมได้ดียิ่งขึ้น
เพื่อที่จะทำให้คุณแม่เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรามาชมวีดีโอนี้ไปพร้อมๆกันครับ
ได้เห็นอย่างนี้คุณแม่คงหายเหนื่อยไปเยอะ พร้อมมีกำลังใจในการให้นมลูกน้อยไปอีกนานๆ เลยใช่ไหมครับ
กระตุ้นนมแม่ให้มาเร็วด้วยหลัก 3 ดูด
การให้ลูกได้ดูดนมอุ่นๆ จากอก ถือเป็นความสุขและความภาคภูมิใจของแม่ทุกคน แต่แม่มือใหม่จำนวนไม่น้อยมักมีความกังวลว่าจะมีน้ำนมไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงลูก ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น หากแม่ใช้เทคนิคการกระตุ้นน้ำนมให้มาเร็วด้วยหลัก 3 ดูด แล้วจะรู้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวค่ะ
ที่มา pregnancyvideo
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
กระตุ้นนมแม่ให้มาเร็วด้วยหลัก 3 ดูด
รู้หรือไม่ว่า…ทำไมนมแม่จึงดีต่อสุขภาพลำไส้ของลูก