กรดไหลย้อน ศัตรูตัวร้ายของคุณแม่ตั้งครรภ์
กรดไหลย้อน ศัตรูตัวร้ายของคุณแม่ตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบภายในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้กรดจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารง่ายขึ้น เนื่องจาก
กรดไห ลย้อน
- แรงบีบของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างที่ต่อกับส่วนต้นของกระเพาะอาหารทำงานน้อยลง
- มดลูกที่มีทารกเติบโตขึ้นตามอายุครรภ์ขยายขนาดขึ้นจนกดและดันกระเพาะอาหาร
สำหรับสัญญาณเตือนภัยของโรคกรดไหลย้อนก็มีตั้งแต่อาการแสบร้อนบริเวณด้านหลังของกระดูกหน้าอก ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการอึดอัดไม่สบายบริเวณลิ้นปี่หรือลำคอ นอกจากนั้น ยังมีอาการเรอ กลืนลำบาก ร้อนในกระเพาะ รวมถึงมีน้ำปริมาณค่อนข้างมากในปาก อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังอาหารหรือในเวลากลางคืน ยิ่งถ้าอยู่ในอิริยาบทงอตัว ความรุนแรงก็จะทวีขึ้น
กรดไห ลย้อน
ภาวะกรดไหลย้อนในระยะยาวอาจเป็นเหตุให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหารเรื้อรัง เช่น Barrett’s Esophagus ซึ่งสามารถกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารในอนาคตได้ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องรู้จักป้องกันและรักษาโรคกรดไหลย้อนตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยวิธีการปฏิบัติตัวง่ายๆ ดังต่อไปนี้
กรดไหลย้อ น
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันสูงและมีน้ำมันมาก รวมไปถึงช็อกโกแลต อาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เปปเปอร์มินท์ แอลกอฮอล์ น้ำส้มหรือน้ำแอ๊ปเปิ้ล
- ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานอาหารมื้อดึกเสร็จแล้วนอนทันที
- การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาแก้โรคหอบหืดและยาที่เกี่ยวกับโรคหัวใจบางชนิด อาจทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่าย
ก รดไหลย้อน
นอกจากการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันแล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจต้องได้รับการรักษาด้วยตัวยาที่ไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างกลุ่ม Alginates โดยยากลุ่มนี้จะสกัดจากสาหร่ายธรรมชาติ และทำงานโดยสร้างชั้นเจลที่ลอยตัวอยู่บนน้ำย่อย เพื่อยับยั้งไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ที่สำคัญ ยากลุ่ม Alginates จัดเป็นยาที่ปลอดภัยและเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สุด
ที่มาของข้อมูล : manager.co.th
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.livewell.in.th/gaviscon/info/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ระวัง! แม่ท้องกินอาหารแปรรูปเยอะ เสี่ยงลูกเกิดมาเป็นออทิสติก
อาการคนท้องในแต่ละเดือน คนท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องเจอกับอะไรบ้าง
แม่ท้องอายุน้อย อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เสี่ยงภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายไหม
อายุครรภ์ นับยังไง ไตรมาสที่ 1 ถึง ไตรมาสที่ 3 สัปดาห์นี้นับเป็นไตรมาสที่เท่าไหร่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!