X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อีสุกอีใสคืออะไร เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี?

บทความ 5 นาที
อีสุกอีใสคืออะไร เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี?

โรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร อาการโรคอีสุกอีใส เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม โรคสุกใสหรืออีสุกอีใส กี่วันหาย พ่อแม่ต้องรู้ ! เพราะตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 มีรายงานผู้ป่วยแล้ว 3,858 ราย ใครที่กำลังสงสัยว่าลูกเป็นอีสุกอีใส จะรับมืออย่างไรดี ตามไปดูกันเลยค่ะ

 

เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม

กรมควบคุมโรค ขอแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดเรียน หยุดงาน พักผ่อนที่บ้าน ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฆ่าเชื้อฟอกผิวหนังให้สะอาด ตัดเล็บให้สั้น หลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาตุ่ม ถ้ามีไข้สูงให้กิน กรณีเด็กมีไข้สูงไม่ควรให้เด็กอาบน้ำ แต่ใช้การเช็ดตัวแทน และเช็ดบ่อย ๆ หากเกิดอาการปาก และลิ้นเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือบ้วนปาก กรณีที่ไข้ไม่สูงสามารถอาบน้ำได้ แต่ต้องใช้สารอาบน้ำตามที่กล่าวไปข้างต้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ หรือผลข้างเคียงที่อาจตามมาภายหลัง เช่น ตุ่มหรือหนอง เป็นต้น

 

โรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร

อีสุกอีใสเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคงูสวัด เวลาเป็นอีสุกอีใสจะมีตุ่มขึ้นทั่วไปตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและลำคอ ในระยะแรกจะขึ้นเป็นผื่นคัน ตุ่มมีสีแดง ต่อมาตุ่มสีแดงจะกลายเป็นตุ่มใส ๆ แล้วเปลี่ยนไปเป็นตุ่มหนอง จากนั้นจึงตกสะเก็ดและค่อย ๆ หลุดไปเหลือเป็นจุดด่างดำและรอยแผลเป็นทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยตัวเลขผู้ป่วยอีสุกอีใส จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคสุกใสในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1-29 ม.ค. 2561 ว่า มีรายงานผู้ป่วยแล้ว 3,858 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต

  • กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 10-14 ปี
  • รองลงมา 7-9 ปี
  • และ 15-24 ปี

ส่วนใหญ่พบในเด็กนักเรียนมากที่สุดในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ

  1. ภูเก็ต
  2. นราธิวาส
  3. แม่ฮ่องสอน
  4. ยโสธร
  5. ลำพูน

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานพบผู้ป่วยนักเรียนเป็นกลุ่มก้อน 4 เหตุการณ์ คือ จังหวัดมุกดาหาร 2 เหตุการณ์ มี 51 ราย จังหวัดปราจีนบุรีพบ 50 ราย และปทุมธานี พบ 66 ราย และจากการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าจะพบผู้ป่วยโรคสุกใสเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงนี้ยังมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคนี้มักพบในกลุ่มเด็กนักเรียน อาจพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในสถานที่ที่อยู่ร่วมกัน เช่น โรงเรียน โรงงาน ศูนย์เด็กเล็ก เรือนจำ เป็นต้น สำหรับโรคสุกใส หรืออีสุกอีใส มีจำนวนผู้ป่วยมากในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เมื่อลูกเป็นโรคอีสุกอีใส ทำไงดี? ต้องรักษาอย่างไร? วิธีไหนถูกต้อง

 

เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม

 

อาการของโรคอีสุกอีใส

อีสุกอีใสกี่วันหาย ? โดยปกติแล้วโรคอีสุกอีใสจะแสดงอาการ 14-16 วันหลังได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร และมีตุ่มขึ้น ตุ่มจะขึ้นที่หนังศีรษะก่อนแล้วกระจายไปบริเวณหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง จากนั้นจะขึ้นบริเวณแขนและขา

  • ในเด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ รู้สึกอ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
  • ในผู้ใหญ่มักจะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีผื่นขึ้น พร้อมกับวันที่มีไข้ ต่อมาผื่นกระจายไปทั่วตัว บางรายอาจมีตุ่มในปาก ทำให้ปากลิ้นเปื่อย

 

โรคอีสุกอีใสติดต่อได้อย่างไร

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายผ่านการไอ จาม หายใจรดกัน หรือการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง โดยเฉพาะบริเวณตุ่มใส ๆ การใช้ของร่วมกัน เพราะโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อโรคอยู่ในน้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย จึงต้องระมัดระวังเด็กที่เรียนในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กเป็นพิเศษ

นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคอีสุกอีใสก็มีโอกาสติดต่อไปยังเด็กที่เกิดมาได้เช่นกัน โดยระยะที่ติดต่อได้ง่ายมักเป็นช่วงเวลา 2 วันก่อนมีตุ่มขึ้นไปจนถึงหลังมีตุ่มขึ้นแล้ว 4-5 วัน

 

ความเสี่ยงในระหว่างเป็นโรคอีสุกอีใส

อาการของโรคอีสุกอีใสโดยทั่วไปไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ แต่อาการแทรกซ้อนที่พบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น

  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังจนกลายเป็นหนองและมีแผลเป็นตามมา โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า
  • ปอดบวม สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ถ้าเป็นรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 90 แม่ท้องเป็นอีสุกอีใสอันตรายหรือไม่

 

เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม

 

หากลูกเป็นอีสุกอีใสจะสามารถไปโรงเรียนได้เมื่อไร อีสุกอีใส กี่วันหาย ?

โดยทั่วไประยะ ที่สามารถติดต่อได้ของสุกใส คือตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนจะ มีผื่นขึ้น (ซึ่งทำให้เด็ก ๆ อาจไปสัมผัสใกล้ชิดกับเพื่อนที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสก่อนจะมีอาการ โดยไม่รู้ตัวได้) จนถึง ระยะที่ผื่นแห้ง เป็นสะเก็ดหมด ทุกตุ่มทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่จะใช้ เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากเริ่มมีอาการป่วย ถ้าไม่มี ภาวะแทรกซ้อน นะคะ

 

วิธีรักษาโรคอีสุกอีใส อีสุกอีใส กี่วันหาย

การดูแลรักษาโดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการไข้และอาการทางผิวหนัง เพราะไม่มียารักษาโดยเฉพาะ คุณหมอจะสั่งยาลดไข้อย่างพาราเซตามอล (ห้ามใช้แอสไพรินโดยเด็ดขาด) ทำความสะอาดผิวหนังและให้ยาแก้คัน นอกจากนี้อาจมีการให้ยาเพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัสร่วมด้วย ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อย ๆ หายเองใน 1-3 สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็น ดังนั้น ตั้งแต่เริ่มมีอาการจนหาย มักจะกินเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ (เมื่อสังเกตว่าลูกมีอาการ ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที)

 

ไม่อยากให้ลูกมีแผลเป็น ทำไงดี

แผลเป็นจากอีสุกอีใส สามารถป้องกันได้โดย ไม่ไปแกะเกาตุ่มสุกใส ถ้าลูกมีอาการคัน ก็ควรทานยาแก้คัน นอกจากนี้ควรตัดเล็บ ให้สั้นเพราะเชื้อแบคทีเรียจากมือ และ เล็บ สามารถเข้าสู่กระแสเลือด ได้จากการแกะเกาตุ่ม จนเกิดการติดเชื้อ แทรกซ้อนอย่างรุนแรง ที่อวัยวะภายในต่าง ๆ ตามมาได้

 

ให้ลูกกินยาเขียวได้หรือไม่

ยาเขียว เป็นยาตำรับไทย ที่ใช้มานานในเด็ก ที่เป็นไข้ออกผื่น มีส่วนผสมทำจากใบไม้สีเขียว และ สมุนไพรต่าง ๆ มีความเชื่อว่า ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น โดยยังไม่มี งานวิจัย ที่สนับสนุนว่า ยาเขียว มีฤทธิ์ต้านไวรัสโรคอีสุกอีใส ดังนั้น การทานยาเขียว อาจไม่ได้มีประโยชน์ อย่างชัดเจนในการรักษา โรคอีสุกอีใส แต่ก็ไม่ได้มีอันตราย ต่อร่างกาย อย่างชัดเจนเช่นกัน มีข้อควรระวังคือ ยาเขียวบางตำรับ มีส่วนผสมของดอกไม้ จึงควรหลีกเลี่ยงหาก ลูกแพ้เกสรดอกไม้นะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฉีดวัคซีนเด็ก ต้องฉีดอะไรบ้างที่สำคัญต่อทารกแรกเกิด เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด

 

เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม

 

วิธีป้องกันอีสุกอีใส

เราสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการเป็นโรคอีสุกอีใสได้โดย

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
  • แยกเด็กที่ป่วยไว้ต่างหาก
  • ไม่ใช้ข้าวของปนกัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน

 

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมีประโยชน์อย่างไร

นอกจากวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสจะสามารถป้องกันโรคนี้ได้แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็นจากโรคอีสุกอีใส ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสแนะนำให้ฉีดในเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งสถิติในประเทศญี่ปุ่นพบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสเพียง 1 เข็ม ให้ภูมิคุ้มกันนานถึง 20 ปี นอกจากนี้พบว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสสามารถลดการเกิดและความรุนแรงของโรคงูสวัดเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรครูมาตอยด์ ไขข้ออักเสบ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

โรคผิวหนังอักเสบ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคดาวน์ซินโดรม โรคทางพันธุกรรมที่มักพบได้ในเด็ก ป้องกันและรักษาอย่างไร

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • อีสุกอีใสคืออะไร เป็นอีสุกอีใสอาบน้ำได้ไหม คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี?
แชร์ :
  • แม่แชร์ การฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใส สำคัญกว่าที่คิด

    แม่แชร์ การฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใส สำคัญกว่าที่คิด

  • คนท้อง-เด็กเล็ก เป็นสุกใส ระวังโรคแทรกซ้อน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต!

    คนท้อง-เด็กเล็ก เป็นสุกใส ระวังโรคแทรกซ้อน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • แม่แชร์ การฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใส สำคัญกว่าที่คิด

    แม่แชร์ การฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใส สำคัญกว่าที่คิด

  • คนท้อง-เด็กเล็ก เป็นสุกใส ระวังโรคแทรกซ้อน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต!

    คนท้อง-เด็กเล็ก เป็นสุกใส ระวังโรคแทรกซ้อน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว