X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก

บทความ 5 นาที
ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกไม่อึ วิธีแก้ทำอย่างไรถึงจะช่วยทารกถ่ายได้ มาเช็คกันดีกว่าจะช่วยทารกถ่ายได้อย่างไรให้เป็นปกติ

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ทำอย่างไรดี เด็กวัยแรกเกิดบางคนอาจจะถ่ายวันละหลาย ๆ รอบ ในขณะที่เด็กบางคนไม่ถ่ายนาน 3 - 4 วัน หรือมากกว่านั้น การขับถ่ายปกติของทารกเป็นอย่างไร ทารกไม่ถ่ายนานแค่ไหน จึงจะเรียกว่าท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรทำอย่างไร ?

 

สุขภาพ และการขับถ่ายของเด็กแรกเกิด

การดูแลสุขภาพของทารกแรกเกิด สิ่งหนึ่งที่สามารถประเมินได้ว่า สุขภาพของลูกน้อยสมบูรณ์ดี หรือมีความผิดปกติหรือไม่ นั่นก็คือ การสังเกตจากผ้าอ้อมของลูก ลูกปัสสาวะ หรืออุจจาระกี่ครั้งต่อวัน ของเสียที่ขับออกมาบนผ้าอ้อมมีสีอะไร เป็นปกติหรือไม่ ซึ่งความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมก็สามารถบ่งชี้ถึงภาวะขาดน้ำ อาการท้องผูก สีของอุจจาระก็เป็นตัวชี้วัดโรค และความผิดปกติภายในของทารกได้ด้วย

ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระของทารกแรกเกิดในสัปดาห์แรกไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับนมที่ทารกดื่มเข้าไป โดยทั่วไป เด็กทารกที่ดื่มนมแม่ จะมีการขยับตัวของลำไส้ที่มากกว่า ทำให้มีความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระที่มากกว่าเด็กทารกที่ดื่มนมผง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนจากการดื่มนมแม่ ไปเป็นนมผสม หรือนมผง ลักษณะของอุจจาระ ความถี่ในการขับถ่าย และเปลี่ยนผ้าอ้อมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

ทารก 1 เดือน

 

การขับถ่ายอุจจาระครั้งแรกของทารกแรกเกิด

การขับถ่ายครั้งแรกของทารกแรกเกิดจะมีดำ หรือเขียวเข้ม มีลักษณะเหนียวหนืดเหมือนดินน้ำมัน และไม่มีกลิ่น เกิดจากสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ อุจจาระสีดำนี้ จะถูกขับถ่ายออกมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรกของชีวิตทารก เรียกว่า ขี้เทา (Meconium) ไม่ว่าจะได้รับนมแม่หรือไม่ การขับถ่ายช่วง 1 - 3 วันแรก ก็จะเหมือนกัน โดยมีดำ หรือเขียวเข้มก่อน จากนั้นจึงค่อยขับถ่ายออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลือง หรือสีเขียวเหลือง ในช่วงประมาณวันที่ 4 หลังคลอด จากการที่ร่างกายมีการย่อยน้ำนม

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ได้กี่วัน

  • ทารกนมแม่ ปกติแล้ว ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายหลายรอบต่อวัน อาจมากกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน จนแม่เข้าใจผิดคิดว่าลูกท้องเสีย ลูกจะถ่ายบ่อยช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ทารกจะถ่ายน้อยลง บางคนไม่ถ่ายนานถึง 2 สัปดาห์ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนลักษณะอึของทารกนมแม่ จะนิ่มและมีสีเหลือง
  • ทารกนมผง ทารกที่กินนมผสม อึจะแข็งกว่า และถ่ายไม่บ่อย 3-4 วัน ถ่ายที ลักษณะอึของทารกนมผง จะออกมาเป็นลำยาว ๆ นิ่ม และมีสีเขียวเทา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกไม่ถ่าย ทำไงดี กี่วันถึงเรียกผิดปกติ 3 วัน 5 วัน หรือกี่สัปดาห์

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ลูกไม่ถ่ายแบบไหนเรียกท้องผูก

โดยปกติแล้ว เด็กทารกที่ยังกินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักจะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก แต่อาการท้องผูกอาจจะเกิดขึ้นได้ ในช่วงที่เริ่มเปลี่ยนไปทานอาหารเสริม ซึ่งอาการที่อาจจะบ่งบอกได้ว่าลูกท้องผูก นอกจากการที่ลูกไม่ถ่ายแล้ว เด็กบางคนอาจจะทำหน้าเหมือนเบ่งอุจจาระ แต่ไม่ถ่าย ทารกไม่อุจจาระ เด็กบางคนก็อาจจะร้องไห้ เหมือนเจ็บก้น และรู้สึกไม่สบายตัว อาการอื่น ๆ ที่บอกว่าทารกท้องผูก มีดังนี้

  • ลูกทำท่าเหมือนปวดท้อง ท้องอืด
  • ท้องแข็ง
  • มีเลือดออก ติดมากับก้อนอุจจาระ
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็งมีลักษณะคล้ายกระสุน
  • ปวดท้อง แต่หายปวดหลังขับถ่าย

เหล่านี้เป็นสัญญาณว่า ลูกท้องผูก ต้องรีบพาไปหาคุณหมอ เพราะนี่คือ อาการท้องผูกในเด็ก

 

ทารก 1 เดือน ท้องผูก

 

ทารกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน แก้ไขอย่างไรดี

รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า หากทารกนมแม่อึน้อยลงเพราะนมไม่พอ จะรู้ได้จากการชั่งน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเคยเพิ่มเฉลี่ย 5 วัน 150 กรัม กลับเพิ่มไม่ถึง 100 กรัม ก็แสดงว่านมแม่ไม่พอลูกจึงท้องผูก เพราะเมื่อเด็กกินน้อยลง ก็จะถ่ายน้อยลงตามไปด้วย ส่วนเด็กที่ดูดนมผง ถ้าลูกกินนมครั้งละ 100 ซีซี. วันละ 7 ครั้ง นมที่ได้ถือว่าเพียงพอ หากลูกอายุต่ำกว่า 6 เดือน อย่าเพิ่งให้ดื่มน้ำ กินผลไม้ หรือสวนทวารทารก นะคะ ลองปรึกษาคุณหมอก่อน จะได้รักษาอาการท้องผูกของลูกได้อย่างตรงจุดที่สุด

 

1. ปรับการกินของ ทารกท้องผูก ทารกไม่ถ่าย

ทารก 6 เดือนขึ้นไป พ่อแม่ควรปรับอาหารการกินเพื่อป้องกันการท้องผูก

    • เปลี่ยนการให้นม ทารกดื่มนมชง อาจจะแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเปลี่ยนยี่ห้อนม
    • เติมน้ำผลไม้ในนม น้ำผลไม้อาจช่วย บรรเทาอาการท้องผูกไให้ลูกน้อยได้ แต่เติมในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น
    • เสริมใยอาหาร ทารกเพิ่งหัดกิน ควรเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องผูก ควรลดข้าว กล้วย และแครอท ไม่ควรป้อนกล้วยกับข้าว เนื่องจากจะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เด็กย่อยยาก ควรกิน บร็อคโคลี่ ลูกพรุน ลูกแพรื ลูกพีช
    • ดื่มน้ำให้เยอะ ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ

 

2. การกระตุ้นการขับถ่ายของทารก

    • ช่วยขยับร่างกาย การเคลื่อนไหว จะช่วยเร่งการย่อยของอาหาร ส่งผลให้ขับถ่ายขงเสียได้เร็ว
    • นวดท้องเด็ก วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นลำไส้ ขับถ่ายได้ง่าย พ่อแม่นวดท้องล่างซ้าย ใต้สะดือ ประมาณ 3 นาที เด็กจะสามารถขับถ่ายได้เป็นปกติ
    • ทาว่านหางจระเข้ หากถ่ายลำบาก มีเลือดออก ควรพาไปพบแพทย์ทันที
    • ปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา หรือการรักษาอาการ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยากลีเซอรีนเหน็บก้น แต่ไม่ควรใช้เป็นประจำ เนื่องจากเด็กจะไม่ฝึกขับถ่ายเองตามปกติ และหลีกเลี่ยงการให้เด็กกินยาระบาย ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

 

ทารกท้องผูก 2

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรพบแพทย์หรือไม่?

อาการท้องผูกไม่ใช่สาเหตุเดียวที่คุณพ่อคุณแม่กังวล แม้ว่าลูกจะขับถ่าย เป็นประจำ แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตความผิดปกติสี หรือลักษณะของของเสียที่ลูกขับถ่ายออกมา ก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์เช่นกัน โดยสามารถสังเกตได้จากลักษณะเหล่านี้

  • อุจจาระมีสีแดงเข้ม หรือมีเลือดติดออกมาด้วย
  • อุจจาระมีสีดำ แม้ว่าจะผ่านช่วงขี้เทาไปแล้ว
  • อุจจาระมีสีขาว หรือสีเทา
  • ทารกที่ดื่มนมแม่ มีอุจจาระมีสีเขียวอ่อน อาจเกิดจากสารอาหารในนมแม่ หรืออาหารที่แม่บริโภคเข้าไป
  • ลูกขับถ่ายบ่อยเกินกว่าเด็กทารกทั่วไป
  • อุจจาระของลูกมีของเหลว หรือเมือกปะปนมาก ลูกอาจมีอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วง 2 - 3 เดือนแรก เนื่องจากติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ภาวะขาดน้ำ หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร เป็นต้น

 

ทารกท้องผูก 1

 

หากคุณพ่อ คุณแม่สังเกตเห็นอาการเช่นนี้ ไม่ควรแก้ปัญหา หรือรักษาด้วยตัวเอง เนื่องจากร่างกายของทารกยังบอบบางมาก อีกทั้งยังไม่สามารถรับประทานอาหารอื่น ๆ ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับคำแนะนำจึงจะเป็นการดีที่สุด

ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง

9 ของใช้เด็กแรกเกิด อะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อม

เลี้ยงลูกอ่อนเหนื่อยมาก มากกกก! ยังมีเรื่องเลอะของทารก ที่พ่อแม่มือใหม่ยังไง้ ยังไงต้องเจอ!!

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ทารกท้องผูก ทำอย่างไร ให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก
แชร์ :
  • ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

    ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

  • ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

    ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

  • ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

    ทารกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำยังไงดี

  • ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

    ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ