X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

บทความ 5 นาที
ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

ท้องนี้แม่เสี่ยงแค่ไหน? ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ลูกในท้องจะปลอดภัยไหม สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยง แม่ท้องกลัวทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง จะต้องทำอย่างไรดี วันนี้ theAsianparent จะพาคุณแม่มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

 

ครรภ์เสี่ยง คืออะไร

ภาวะครรภ์เสี่ยง คือ การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ความเสี่ยงนี้จะส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ทารกอาจเสียชีวิตได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์ ตอนคลอด หรือหลังคลอดนั่นเองค่ะ ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ

 

ครรภ์เสี่ยง

 

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะ ครรภ์เสี่ยง

  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากแม่ท้องมีอายุน้อยกว่า 16 ปี
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากแม่ท้องมีอายุมากกว่า 40 ปี
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีหมู่เลือด Rh เป็นลบ
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีก้อนในอุ้งเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีความดันโลหิตสูง ความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นเบาหวานชนิดต้องพึ่งพาอินซูลิน แม่ท้องเป็นโรคไต แม่ท้องเป็นโรคหัวใจ
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากติดยาเสพติดหรือสุรา
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นโรคทางอายุรกรรม เช่น โลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (SLE) โรคธาลัสซีเมีย โรคลมชัก และวัณโรค
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อ HIV (โรคเอดส์) กามโรค หรือพาหะตับอักเสบบี
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์แฝด
  • ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง (ตั้งแต่ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป)

 

ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีประวัติบางอย่าง

  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยแท้งบุตรมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดลูก แล้วลูกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างคลอดและหลังคลอด
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกคลอดหลังกำหนด คลอดอายุครรภ์เกิน 42 สัปดาห์เต็มขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกโตช้าในครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกพิการทางด้านสมอง
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคย ครรภ์เป็นพิษ ในการตั้งครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยได้รับการผ่าตัดที่ตัวมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องระวัง อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ

 

ครรภ์เสี่ยง

 

การดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์

  1. แม่ตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพให้ดี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างแข็งแรง ลูกในท้องไม่ตัวเล็กเกินไป หรือใหญ่เกินพอดี
  2. รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการทานขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม มากเกินไป
  3. อย่าลืมทานกรดโฟลิก ยา หรือวิตามิน ตามที่แพทย์สั่ง
  4. งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด
  5. อย่าหักโหมออกกำลังกาย อย่าหักโหมทำงานหนัก
  6. นอนหลับอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ให้ร่างกายได้รับการพักผ่อน ไม่เครียด

 

การป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง

คุณสามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้โดย

  • กินโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และต่อเนื่องไปจนถึงช่วงตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติดและแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • แจ้งความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นก่อนตั้งครรภ์ให้แพทย์ทราบ รวมถึงประวัติทางการแพทย์ในครอบครัว ประวัติทางการแพทย์ส่วนตัวของคุณแม่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำอื่น ๆ จากแพทย์
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ายาที่กินอยู่นั้นจะปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์
  • การเลิกสูบบุหรี่
  • วางแผนการตั้งครรภ์
  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เซ็กส์ปลอดภัยช่วงตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ตอนท้องได้ไหม? อันตรายหรือไม่?

 

ครรภ์เสี่ยง

 

การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องทำอะไรบ้าง

  • พบแพทย์เป็นประจำ มาให้ตรงตามนัดเสมอ
  • ตรวจครรภ์ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ขั้นสูงและการประเมินก่อนคลอด
  • ตรวจทารกในครรภ์เพื่อหาความผิดปกติอย่างละเอียด
    • ตรวจอัลตราซาวนด์หาความพิการของทารก
    • ตรวจอัลตราซาวนด์หาความผิดปกติทางพันธุกรรม (เจาะน้ำคร่ำ, ตรวจจากเลือดสายสะดือ, หรือตรวจชิ้นเนื้อรก)
    • ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม
  • ติดตามการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
  • กินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
  • ตรวจสอบการดิ้นของลูกด้วยตัวเอง

 

อาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์

  • แพ้ท้องหนัก แพ้ท้องรุนแรง
  • ปวดศีรษะบ่อย ปวดศีรษะรุนแรง
  • มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
  • จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้องรุนแรง
  • ขนาดท้องเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอด หรือมีน้ำคร่ำออกทางช่องคลอด
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • เท้าบวมมากผิดปกติ
  • เมื่อตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนแล้วลูกยังไม่ดิ้น

 

หากแม่ท้องรู้ตัวว่าอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยง ต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หรือผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดก่อน เพื่อให้ร่างกายมีความก่อนการตั้งครรภ์ และเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลตัวเองให้ดีทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์นั้นสำคัญต่อคุณแม่และลูกในท้องอย่างมาก เพราะฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะครรภ์เสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตรวจก่อนเจอก่อน! ตรวจคัดกรอง ดาวน์ซินโดรม แม่อายุน้อยลูกก็เป็นได้

การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง เรื่องที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นเสี่ยงกันตอนท้อง!!

ที่มา : 1, 2

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์
แชร์ :
  • ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ

    ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ

  • แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง เรื่องที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นเสี่ยงกันตอนท้อง!!

    แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง เรื่องที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นเสี่ยงกันตอนท้อง!!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ

    ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ

  • แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง เรื่องที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นเสี่ยงกันตอนท้อง!!

    แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง เรื่องที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นเสี่ยงกันตอนท้อง!!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว